ปริยังกา คานธี วาทรา (เกิด 12 มกราคม พ.ศ. 2515) เป็นนักการเมืองหญิงชาวอินเดีย เป็นเลขาธิการคณะกรรมการรัฐสภาอินเดียในอุตตรประเทศตะวันออก เป็นนักการเมืองที่มีชื่อเสียงจากการเป็นสมาชิกในตระกูลเนห์รู–คานธี ด้วยเป็นธิดาของราชีพ คานธี กับโสนิยา คานธี เป็นน้องสาวของราหุล คานธี และเป็นหลานสาวของผิโรช คานธี และอินทิรา คานธี ปัจจุบันเธอเป็นทรัสตีของมูลนิธิราชีพ คานธี

ปริยังกา คานธี วาทรา
เลขาธิการคณะกรรมการรัฐสภาอินเดีย
อุตตรประเทศตะวันออก
เริ่มดำรงตำแหน่ง
4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562
ประธานาธิบดีโสนิยา คานธี (ชั่วคราว)
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด12 มกราคม พ.ศ. 2515 (52 ปี)
นิวเดลี ประเทศอินเดีย
ศาสนาพุทธ
พรรคการเมืองคองเกรสแห่งชาติอินเดีย
คู่สมรสโรเบิร์ต วาทรา (สมรส 2538)
บุตรไรหาน วาทรา
มิรายา วาทรา
บุพการีราชีพ คานธี
โสนิยา คานธี
ความสัมพันธ์ตระกูลเนห์รู–คานธี
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเดลี (ศศ.บ., ศศ.ม.)
ลายมือชื่อ

ชีวิตตอนต้น

แก้

ปริยังกาสำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนโมเดิร์นและคอนแวนต์เยซู-มารีย์ สำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรบัณฑิตสาขาจิตวิทยา จากวิทยาลัยเยซู-มารีย์ มหาวิทยาลัยเดลี[1] และสำเร็จการศึกษาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตสาขาพุทธศาสนศึกษา มหาวิทยาลัยเดลี เมื่อ พ.ศ. 2553[2]

การทำงาน

แก้

ปริยังกาปรากฏตัวพร้อมกับแม่และพี่ชาย ในการพบปะกับประชาชนโดยตรงที่รายพเรลี (Rae Bareilly) และอเมฐี (Amethi) อยู่เป็นประจำ[3] เธอเป็นที่ชื่นชอบ เมื่อใดที่มีการเลือกตั้ง ปริยังกาจะเป็นผู้ดึงดูดฝูงชนได้ตลอด โดยเฉพาะเมืองอเมฐี[4]

เมื่อคราวเลือกตั้งทั่วไปของอินเดียเมื่อ พ.ศ. 2547 เธอเป็นผู้จัดการการหาเสียงให้แม่ และช่วยดูแลการหาเสียงของพี่ชาย[5] ส่วนการเลือกตั้งสมัชชารัฐอุตตรประเทศ ราหุลพี่ชายทำการหาเสียงทั่วรัฐ แต่เธอมุ่งไปยังฐานเสียงที่อเมฐีและรายพเรลีที่มีอยู่ 10 ที่นั่ง เธอใช้เวลาถึงสองสัปดาห์ในการระงับข้อพิพาทของคนในพรรค เนื่องจากปัญหาการจัดสรรที่นั่ง[6]

ปริยังกาเข้าเป็นนักการเมืองอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2562 หลังได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเลขาธิการของรัฐสภาอินเดีย พื้นที่รับผิดชอบอุตตรประเทศตะวันออก[7]

ชีวิตส่วนตัว

แก้

ปริยังกาสมรสกับโรเบิร์ต วาทรา นักธุรกิจลูกครึ่งอินเดีย-สกอตจากเดลี เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538 ณ บ้านเลขที่ 10 ถนนชนปัถ โดยเป็นพิธีการตามธรรมเนียมฮินดู[8][9] ทั้งสองมีบุตรสองคน คนโตเป็นชายชื่อไรหาน และเป็นหญิงชื่อมิรายา

เธอเป็นชาวพุทธปรัชญา และเข้าวิปัสสนาตามแนวทางของเอส. เอ็น. โคยันกา[10][11]

ดูเพิ่ม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Facts about Gandhi". Zee Media. Zee News. Zee Media Corporation Company. 12 January 2016. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  2. February 11, Bhavna Vij-Aurora New Delhi; February 20, 2012 ISSUE DATE; February 20, 2012UPDATED; Ist, 2012 13:02. "UP polls 2012: Robert Vadra bids for a place in Gandhi family power structure". India Today (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-02-01.{{cite web}}: CS1 maint: numeric names: authors list (ลิงก์)
  3. "Priyanka Vadra returns to campaign in Amethi". India Today. January 16, 2012.
  4. "Ground report: Amethi, Rae Bareli seeing a new Priyanka". Firstpost. Network 18. 27 April 2014. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  5. "Priyanka may be assigned 100 constituencies". Rediff.com. สืบค้นเมื่อ 1 May 2017.
  6. Rana, Uday (4 July 2016). "Priyanka Gandhi - The Economic Times". The Economic Times. สืบค้นเมื่อ 2019-11-07.
  7. Team, BS Web (23 January 2019). "Priyanka Gandhi appointed Congress party general secretary for UP-east". Business Standard. สืบค้นเมื่อ 23 January 2019.
  8. "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 13 กันยายน 2013. สืบค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2013.{{cite web}}: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์)
  9. "Who is Robert Vadra?", India Today, 10 October 2011; retrieved 15 February 2013.
  10. "Priyanka Gandhi Vadra". The Outlook. สืบค้นเมื่อ 18 October 2012.
  11. "10 facts to know about Priyanka Gandhi" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2014-08-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 November 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-11-14.