อินทิรา คานธี
อินทิรา ปริยทรรศินี คานธี (ฮินดี: इन्दिरा प्रियदर्शिनी गान्धी, Indira Priyadarsini Gandhi, 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 - 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527) เป็นอดีตประธานมนตรีอินเดียที่ดำรงตำแหน่งถึง 3 วาระติดต่อกัน และเป็นประธานมนตรีหญิงคนแรกในประเทศอินเดีย
อินทิรา คานธี | |
---|---|
ประธานมนตรีอินเดีย คนที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 19 มกราคม พ.ศ. 2509 – 24 มีนาคม พ.ศ. 2520 | |
ก่อนหน้า | กุลซาริลาล นันทา |
ถัดไป | โมราร์จิ เดซาย |
ดำรงตำแหน่ง 15 มกราคม พ.ศ. 2523 – 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 | |
ก่อนหน้า | เชาดารี จรัน ซิงห์ |
ถัดไป | ราชีพ คานธี |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2460 อัลลอฮาบาด บริติชอินเดีย |
เสียชีวิต | 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 (66 ปี) นิวเดลี ประเทศอินเดีย |
ศาสนา | ฮินดู |
พรรคการเมือง | Indian National Congress |
คู่สมรส | ผิโรช คานธี |
ลายมือชื่อ | |
อินทิรา คานธี มีชื่อเดิมว่า อินทิรา ปรียทรศินี เนห์รู เป็นบุตรสาวของชวาหระลาล เนห์รู ประธานมนตรีคนแรกของอินเดีย กับกมลา เนห์รู นางอินทิราสมรสกับผิโรช คานธี ซึ่งมีนามสกุลเดียวกับมหาตมา คานธี แต่ไม่ได้มีความสัมพันธ์เป็นเครือญาติกัน
อินทิรามีบุตรชายสองคน คือ ราชีพ คานธีและสัญชัย คานธี โดยบุตรทั้งสองต่างดำเนินกิจกรรมทางการเมืองสืบต่อจากมารดา
อินทิรา คานธีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2527 หลังจากถูกองครักษ์สองคนใช้อาวุธปืนกระหน่ำยิงกว่า 30 นัด ที่บริเวณสวนในทำเนียบประธานมนตรี [1] และถึงแก่อสัญกรรมระหว่างถูกนำตัวส่งโรงพยาบาล สาเหตุเนื่องจากเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างชาวฮินดูกับชาวซิกข์หลังปฏิบัติการดาวน้ำเงิน
แหล่งค้นคว้าเพิ่มเติม
แก้- สาวิตรี เจริญพงศ์. “อินทิรา คานธี: สตรีในวงล้อการเมืองของอินเดีย.” ใน สุวดี เจริญพงศ์ และปิยนาถ บุนนาค (บก.), สตรีแถวหน้าในประวัติศาสตร์เอเชีย. หน้า 179-218. กรุงเทพฯ: บ้านพิทักษ์อักษร, 2550.
อ้างอิง
แก้- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-04. สืบค้นเมื่อ 2009-09-06.