ปรากฏการณ์ที่เกิดในตา

ปรากฏการณ์ที่เกิดในตา (อังกฤษ: entoptic phenomena จาก กรีกโบราณ: ἐντός แปลว่า "ภายใน" และ ὀπτικός แปลว่า "เกี่ยวกับการเห็น") หมายถึงปรากฏการณ์ทางการเห็นที่มีกำเนิดภายในตาเอง ตาม ศ. นพ. แฮร์มันน์ ฟอน เฮล์มโฮลทซ์ "ภายใต้ภาวะที่เหมาะสม แสงที่ตกลงที่ตาอาจทำให้เห็นวัตถุบางอย่างภายในตาเอง การรับรู้เช่นนี้เรียกว่า entoptical (เกิดในตา)"

วัตถุลอย (Floater) เมื่อมองที่ท้องฟ้า
การจำลองปรากฏการณ์ลานสีน้ำเงินที่เกิดในตา ให้สังเกตขนาดของจุดขาว ๆ เทียบกับมือ
การจำลองปรากฏการณ์ลานสีน้ำเงินที่เกิดในตา ให้สังเกตขนาดของจุดขาว ๆ เทียบกับมือ
การจำลองรูปแปรงของไฮดิงเกอร์สำหรับแสงโพลาไรซ์ในแนวตั้ง ขนาดและความเข้มเน้นเกินให้เห็นชัด ทิศทางการหมุนที่ปรากฏจะต่าง ๆ กันขึ้นอยู่กับแแหล่งแสงโพลาไรซ์
ภาพต้นไม้ของเซลล์เพอร์คินจีที่เห็นเมื่อแพทย์ส่องตาดูด้วยกล้อง slit lamp

มุมมองกว้าง ๆ แก้

ภาพที่เกิดในตามีมูลฐานทางกายภาพจากรูปซึ่งตกลงที่จอตา ดังนั้น จึงเป็นคนละเรื่องจากภาพลวงตา ซึ่งเป็นปรากฏการณ์รับรู้ที่เกิดจากการตีความภาพของสมอง แต่เพราะภาพที่เกิดในตามาจากปรากฏการณ์ในตาเอง จึงมีลักษณะอย่างหนึ่งเหมือนกับภาพลวงตาและประสาทหลอน คือ ผู้ที่เห็นไม่สามารถแชร์สิ่งที่เห็นโดยเฉพาะและโดยตรงกับผู้อื่น

หมอเฮล์มโฮลทซ์[1] ได้กล่าวถึงปรากฏการณ์ที่เห็นได้ง่าย ๆ โดยบางคน แต่ไม่เห็นเลยโดยคนอื่น ๆ ความหลายหลากเช่นนี้ไม่น่าแปลกใจเพราะตาของแต่ละคนมีลักษณะโดยเฉพาะ ๆ ดังนั้น ภาพเช่นนี้ที่แต่ละคนเห็นจึงไม่เหมือนกับของคนอื่น ๆ เพราะความต่างกันของตาแต่ละคนและความไม่สามารถแชร์สิ่งเร้าที่เหมือนกัน ปรากฏการณ์นี้จึงไม่เหมือนกับการเห็นอย่างอื่น ๆ และก็ไม่เหมือนภาพลวงตาประเภทที่ทำให้เกิดโดยให้ดูสิ่งเร้าเหมือน ๆ กันด้วย

ตัวอย่างของปรากฏการณ์ที่เกิดในตารวมทั้ง

  • วัตถุลอย (Floater/muscae volitantes) เป็นวัตถุที่ค่อย ๆ ลอยไปโดยมีขนาด รูปร่าง และความโปร่งใสที่ต่าง ๆ แต่จะมองเห็นได้ง่ายเป็นพิเศษเมื่อมองที่พื้นสว่างและไม่มีอะไร ๆ (เช่นท้องฟ้า) หรือมองแหล่งไฟที่ส่องแบบกระจายและอยู่ใกล้ ๆ ตา เป็นภาพเงา ๆ ของสิ่งที่ลอยอยู่ข้างหน้าจอตา บางอันอาจจะเป็นเซลล์เม็ดเลือดแดงเดี่ยว ๆ ที่บวมเนื่องจากความดันออสโมซิส หรือเซลล์ที่ติดกันเป็นลูกโซ่ แล้วสามารถเห็นรูปแบบการเลี้ยวเบนของแสงผ่านวัตถุเช่นนี้[2] แต่ก็อาจเป็นโปรตีนวุ้นตาที่เกาะกันเป็นก้อน หรือเป็นส่วนเหลือของพัฒนาการช่วงตัวอ่อน หรือเป็นการรวมตัวกันรอบ ๆ ผนังของ Hyaloid canal[3] ซึ่งเป็นช่องใสที่วิ่งจากประสาทตาผ่านวุ้นตาไปยังแก้วตา วัตถุลอยอาจจะรวมตัวกันอยู่เหนือรอยบุ๋มจอตา (ซึ่งอยู่กลางลานสายตา) และดังนั้นจะมองเห็นได้ง่ายกว่าเมื่อนอนหงายแล้วมองขึ้น
  • ปรากฏการณ์ลานสีน้ำเงินที่เกิดในตา (blue field entoptic phenomenon) ปรากฏเป็นจุดเล็ก ๆ และสว่างที่เคลื่อนที่ไปอย่างรวดเร็วตามเส้นขยุกขยิกในลานสายตา ซึ่งมองเห็นได้ชัดกว่าเมื่อมองที่ลานสีน้ำเงินล้วน โดยมีเหตุจากเซลล์เม็ดเลือดขาวที่เคลื่อนไปตามหลอดเลือดฝอยหน้าจอตา เพราะเม็ดเลือดขาวใหญ่กว่าเม็ดเลือดแดง จึงต้องบิดรูปร่างเพื่อให้พอดีกับหลอดเลือด เมื่อมันกำลังผ่านหลอดเลือดฝอยเส้นหนึ่ง ก็จะมีช่องเปิดขึ้นข้างหน้าและเซลล์เม็ดเลือดแดงก็จะกองรวมกันข้างหล้ง ทำให้จุดแสงสว่างที่ว่านี้ ปรากฏออกยาว ๆ โดยมีหางดำ ๆ[4][5]
  • แปรงของไฮดิงเกอร์ (Haidinger's brush) เป็นรูปผ้าผูกคอหูกระต่ายหรือนาฬิกาทราย ซึ่งเห็นเมื่อมองพื้นที่มีองค์ประกอบเป็นแสงสีน้ำเงินซึ่งเปลี่ยนเป็นแสงโพลาไรซ์ตามแนวระนาบ หรือตามแนววงกลมแล้วหมุนรอบ ๆ ตาของผู้ดู ถ้าแสงเป็นสีน้ำเงิน รูปจะปรากฏแบบเป็นเงาสีเข้ม ๆ ถ้าแสงมีสเปกตรัมทั้งหมด รูปจะปรากฏเป็นสีเหลือง ซึ่งมีเหตุมาจากลักษณะการดูดซึมแสงโพลาไรซ์สีน้ำเงินของโมเลกุลสารสีในรอยบุ๋มจอตา[6][7]
  • ภาพเพอร์คินจี (Purkinje images) เป็นรูปสะท้อนจากผิวกระจกตาทางด้านหน้ากับด้านหลัง และผิวแก้วตาด้านหน้ากับด้านหลัง แม้ภาพสะท้อนสี่อย่างนี้จะไม่จัดว่าเกิดในตา แต่ในปี ค.ศ. 1860 นักวิชาการชาวเยอรมันได้กล่าวถึงแสงที่สามารถสะท้อนจากผิวด้านหลังของแก้วตา แล้วสะท้อนจากผิวด้านหน้าของกระจกตา เพื่อโฟกัสรูปที่สองลงที่จอตา ซึ่งจะจางกว่าและกลับตีลังกา[8] และในปี 1920 จักษุแพทย์ชาวเดนมาร์กได้เรียกว่า ภาพที่หก (โดยภาพที่ห้าเกิดจากแสงสะท้อนจากผิวด้านหน้าของแก้วตาและกระจกตา ซึ่งสร้างภาพไปทางด้านหน้าของจอตามากเกินไปที่จะมองเห็น) แล้วให้ข้อสังเกตว่า นี่จางกว่ามากและเห็นได้ดีที่สุดเมื่อปล่อยตาสบาย ๆ (ซึ่งจะทำให้เห็นวัตถุไกล ๆ ได้ชัดที่สุด)[9] ในห้องที่มืด ให้ปิดตาข้างหนึ่งแล้วมองไปข้างหน้าด้วยตาอีกข้างหนึ่ง ขยับแสงไฟไปทางหน้าหลังกลับไปกลับมาใต้ที่มอง นี่จะทำให้เห็นรูปจาง ๆ ที่เคลื่อนไปในทิศทางตรงกันข้าม
  • ต้นไม้เพอร์คินจี (Purkinje tree) เป็นภาพของเส้นเลือดในจอตาของตนเอง ซึ่ง ศ. ยัน เอวังเกลิสตา ปูร์กิเญเป็นผู้กล่าวถึงเป็นครั้งแรกในปี 1823[10] ซึ่งเห็นได้เมื่อส่องแสงไฟฉายสว่างแบบปากกาผ่านรูม่านตาจากส่วนรอบ ๆ สายตาของผู้เห็น แล้วมีผลโฟกัสภาพของแสงให้ตกลงที่ส่วนรอบ ๆ จอตา ซึ่งแสงก็จะทำให้เกิดเงาของเส้นเลือด (ซึ่งอยู่ที่ผิวของจอตา) ลงบนส่วนจอตาที่ยังไม่ได้ปรับตัวให้เข้ากับแสงสว่าง ปกติแล้ว ภาพของเส้นเลือดที่จอตาจะมองไม่เห็นเพราะการปรับตัวของตา คือถ้าแสงไม่เลื่อนที่ ภาพก็จะหายไปภายในหนึ่งวินาทีหรือประมาณนั้น แต่ถ้าแสงเคลื่อนไปที่ราว ๆ 1 เฮิรตซ์ กระบวนการปรับตัวก็จะไม่มีผล และก็จะสามารถเห็นภาพได้อย่างคงยืน ภาพเส้นลือดเช่นนี้บ่อยครั้งคนไข้จะเห็นเมื่อจักษุแพทย์ตรวจตาโดยใช้กล้องส่องตรวจในตา (ophthalmoscope) อีกวิธีหนึ่งที่เงาของเส้นเลือดอาจเห็นก็คือถือไฟสว่างชิดกับเปลือกตาที่มุม แสงก็จะส่องเข้าไปในตาแล้วสร้างเงาของเส้นเลือดเหมือนดังที่กล่าวแล้ว แต่ต้องขยับแสงไปมาเพื่อเอาชนะการปรับตัว ในกรณีทั้งสอง จะมีโอกาสเห็นดีขึ้นในห้องมืดเมื่อมองพื้นเรียบ ๆ นพ. เฮล์มโฮลทซ์ได้กล่าวถึงเรื่องนี้อย่างพิสดารไว้
  • เส้นโค้งเพอร์คินจีสีน้ำเงิน (Purkinje's blue arc) สัมพันธ์กับการทำงานของประสาทที่กำลังส่งสัญญาณ จากจุดที่แสงโฟกัสลงที่จอตาระหว่างรอยบุ๋มจอตากับจานประสาทตา (optic disc) ให้ดูที่ขอบด้านขวาของแสงสีแดงจุดเล็ก ๆ ในห้องมืดด้วยตาข้างขวาโดยปิดตาด้านซ้าย หลังจากที่ปรับตาให้เข้ากับความมืดเป็นเวลา 30 วินาที แล้วก็จะเห็นเส้นโค้งสีน้ำเงินจาง ๆ โดยเริ่มขึ้นที่ไฟและวิ่งเข้าไปทางจุดบอด เมื่อมองที่ขอบซ้ายก็จะเห็นเส้นสีน้ำเงินจางเส้นหนึ่งจากไฟไปทางขวา[11]
  • ฟอสฟีน (phosphene) ก็คือการเห็นแสงโดยไม่มีแสงจริง ๆ เข้ามาในตา เช่น ที่เกิดจากกดลูกตาที่ปิดอยู่

ปรากฏการณ์หนึ่งที่อาจจัดว่าเกิดในตาถ้าขนตาจัดเป็นส่วนของตาก็คือ การเห็นแสงเลี้ยวเบนผ่านขนตา ซึ่งจะปรากฏเป็นจานแสงที่มีเส้นพร่ามัวหลายเส้น (คือเงาของขนตา) วิ่งข้าม แต่ละเส้นจะมีสีต่าง ๆ โดยรูปจานจะมาจากรูม่านตา

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. von Helmholtz, H (1925). Helmholtz's Treatise on Physiological Optics, Translated from the Third German Edition. The Optical Society of America. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. White, Harvey E; Levatin, Paul (1962). "Floaters' in the eye". Scientific American. 206 (6): 199.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. volume 7: Foundations of Ophthalmology: heredity pathology diagnosis and therapeutics. System of Ophthalmology. St. Louis: The C.V. Mosby Company. 1962. p. 450. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  4. Snodderly, DM; Weinhaus, RS; Choi, JC (1992). "Neural-vascular relationships in central retina of Macaque monkeys (Macaca fascicularis)" (PDF). Journal of Neuroscience. 12 (4): 1169–1193.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  5. Sinclair, SH; Azar-Cavanagh, M; Soper, KA; Tuma, RF; Mayrovitz, HN (1989). "Investigation of the source of the blue field entoptic phenomenon". Investigative Ophthalmology & Visual Science. 30 (4): 668–673.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  6. Physiology of the Retina and Visual Pathway (2nd ed.). London: Edward Arnold Ltd. 1970. pp. 140–141. {{cite book}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |editors= ถูกละเว้น แนะนำ (|editor=) (help)
  7. Reid, Bill (December 1990). "Haidinger's brush". Physics Teacher. 28: 598.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  8. Becker, O (1860). "Über Wahrnehmung eines Reflexbildes im eigenen Auge" [About perception of a reflected image in your own eye]. Wiener Medizinische Wochenschrift: 670–672, 684–688. {{cite journal}}: Cite journal ต้องการ |journal= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  9. Tscherning, M (1920). Physiologic Optics (3rd ed.). Philadelphia: Keystone Publishing Co. pp. 55–56.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  10. Jan E. Purkyně, 1823: Beiträge zur Kenntniss des Sehens in subjectiver Hinsicht in Beobachtungen und Versuche zur Physiologie der Sinne, In Commission der J.G. Calve'schen Buchhandlung, Prag.
  11. Walker, J (February 1984). "How to stop a spinning object by humming and perceive curious blue arcs around the light". Scientific American. 250 (2): 136–138, 140, 141, 143, 144, 148.{{cite journal}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้