ปรัชญาธรรมชาติ
ปรัชญาธรรมชาติ (อังกฤษ: Natural philosophy หรือ philosophy of nature; ละติน: philosophia naturalis) เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปรัชญาของฟิสิกส์ ซึ่งก็คือธรรมชาติและจักรวาลทางกายภาพ ปรัชญาธรรมชาติเคยเป็นศาสตร์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในอดีต ก่อนที่ถูกแทนที่ด้วยสาขาวิชาที่ทันสมัยกว่าอย่างวิทยาศาสตร์สมัยใหม่
ในโลกยุคโบราณ (อย่างน้อยก็ตั้งแต่สมัยของอาริสโตเติล) จนถึงศตวรรษที่ 19 ปรัชญาธรรมชาติ เป็นคำศัพท์ทั่วไปที่หมายถึงการศึกษาธรรมชาติแบบกว้าง ๆ ในที่นี้รวมถึงสาขาวิชาแขนงต่าง ๆ อย่าง พฤกษศาสตร์ สัตววิทยา มานุษยวิทยา เคมี และ ฟิสิกส์ จนกระทั่งราวคริสตศตวรรษที่ 19 แนวคิดเรื่องวิทยาศาสตร์ก็ได้รับการปรับปรุงรูปแบบการศึกษาให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น ก่อให้เกิดเป็นสาขาวิชาแขนงต่าง ๆ ได้แก่ ดาราศาสตร์ ชีววิทยา และ ฟิสิกส์ สถาบันวิจัยหลายแห่งได้รับการก่อตั้งขึ้นเพื่อทำการศึกษาหรือวิจัยเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ[1] คำว่า ปรัชญาธรรมชาติ ที่ปรากฎอยู่ใน หลักคณิตศาสตร์ของปรัชญาธรรมชาติ (Philosophiæ Naturalis Principia Mathematica) ของ ไอแซก นิวตัน เป็นตัวอย่างที่แสดงให้เห็นว่ายังมีการใช้คำนี้อยู่จนถึงคริสตศตวรรษที่ 17 แม้แต่ผลงานหลาย ๆ ชิ้นที่ช่วยขยายขอบเขตการศึกษาฟิสิกส์สมัยใหม่ในคริสตศตวรรษที่ 19 ก็ยังมีชื่อเรียกว่า ความเรียงว่าด้วยปรัชญาธรรมชาติ (Treatise on Natural Philosophy)
ปรัชญาว่าด้วยธรรมชาติ (Naturphilosophie) เป็นหนึ่งในสาขาวิชาของปรัชญาเยอรมันในคริสตศตวรรษที่ 18 และ 19 มีความพยายามที่จะปฏิรูปขอบเขตการศึกษา แทนที่หลักอภิปรัชญาของอริสโตเติลด้วยระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์ เพื่อสร้างความเป็นมาตรฐานให้กับหลักการทดลองของธรรมชาติและจิตวิญญาณ ประกอบกับสนับสนุนแนวคิดเหตุผลนิยมแบบคานต์ นักปรัชญาชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงอยู่ในขบวนการนี้ ได้แก่ เกอเทอ เฮเกิล และ เช็ลลิง แนวคิดแบบ Naturphilosophie มีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อศิลปะจินตนิยม ซึ่งมีมุมมองต่อกลไกทางธรรมชาติของโลกว่าเปรียบเสมือนสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ ตรงข้ามกับแนวทางเชิงปรัชญาของ จอห์น ล็อก และนักคิดคนอื่น ๆ ที่ยึดถือในหลักปรัชญาเครื่องกล ซึ่งมีมุมมองว่าโลกเปรียบเสมือนเป็นเครื่องจักรขนาดใหญ่เครื่องหนึ่ง
ที่มาและพัฒนาการของคำนี้
แก้คำว่า ปรัชญาธรรมชาติ เป็นคำที่เกิดขึ้นมาก่อนคำว่า วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (หรือที่เรียกว่า วิทยาศาสตร์เชิงประจักษ์) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่พัฒนามาจากปรัชญา หรือเช่นนั้นก็ถูกจัดให้เป็นการศึกษาทางเลือกของปรัชญาธรรมชาติ ปรัชญาธรรมชาติในอดีตมีความหมายที่แตกต่างไปจากวิทยาศาสตร์สมัยใหม่หรือประวัติศาสตร์ธรรมชาติอย่างชัดเจน โดยที่ "ปรัชญาธรรมชาติ" เป็นการศึกษาโดยใช้ตรรกะเพื่ออธิบายเกี่ยวกับปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ (รวมถึงการวิจัยเชิงปริมาณในสมัยหลังจากกาลิเลโอ) ขณะที่ "ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ" เป็นการศึกษาที่มีพื้นฐานมาจากคุณสมบัติเชิงคุณภาพและเชิงพรรณา
ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ปรัชญาธรรมชาติถือว่าเป็นสาขาหนึ่งของวิชาปรัชญา แต่ก็มิได้เป็นสาขาที่โดดเด่นมากนัก บุคลากรท่านแรกที่ได้รับการยกย่องให้เป็นผู้เชี่ยวชาญในสาขาวิชาปรัชญาธรรมชาติคือ ยาโกโป ซาบาแรลลา แห่งมหาวิทยาลัยปาโดวา เมื่อ ค.ศ. 1577
คำว่า science และ scientists ตามนิยามความหมายแบบสมัยใหม่ พึ่งได้รับการบัญญัติขึ้นในคริสต์ศตวรรษที่ 19 โดยที่ความหมายดั้งเดิมของคำว่า science หมายถึง ความรู้ หรือ การศึกษา เพื่อให้สอดคล้องกับรากศัพท์ในภาษาละติน จนกระทั่งความหมายของคำ ๆ นี้ได้รับการบัญญัติขึ้นใหม่ เมื่อการทดลองทางวิทยาศาสตร์และระเบียบวิธีแบบวิทยาศาสตร์กลายเป็นสาขาวิชาที่สามารถแตกแขนงออกจากปรัชญาธรรมชาติได้อย่างชัดเจน[2] โดยมีนักปรัชญาธรรมชาตินามว่า วิลเลียม ฮิวเวล จากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ได้เสนอคำว่า "scientist" ไว้ในปี ค.ศ. 1834 เพื่อแทนคำว่า "cultivators of science" และ "natural philosopher" ที่เคยใช้ก่อนหน้านี้[3]
สาขาวิชา
แก้สาขาวิชาปรัชญาธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ดาราศาสตร์ และ จักรวาลวิทยา การศึกษาธรรมชาติในวงกว้าง สาเหตุ การศึกษาสาเหตุ (ทั้งภายในและภายนอกในบางกรณี) การศึกษาเหตุภาพ ความน่าจะเป็น และ ความเป็นสุ่ม การศึกษาองค์ประกอบของธาตุ ความเป็นอนันต์และความไม่จำกัด (ทั้งเสมือนหรือจริง) การศึกษาสสาร กลศาสตร์ การเคลื่อนที่และการเปลี่ยนแปลง การศึกษาธรรมชาติหรือแหล่งการกระทำต่าง ๆ การศึกษาคุณสมบัติทางธรรมชาติ ปริมาณทางกายภาพ ความสัมพันธ์ระหว่างกายภาพ และ ปรัชญาของอวกาศและเวลา
ดูเพิ่ม
แก้อ้างอิง
แก้- ↑ Cahan, David, บ.ก. (2003). From Natural Philosophy to the Sciences: Writing the History of Nineteenth-Century Science. Chicago: University of Chicago Press. ISBN 0226089282.
- ↑ The naturalist-theologian William Whewell coined the word "scientist"; his earliest written use identified by the Oxford English Dictionary was in 1834.
- ↑ Ross, Sydney (1962-06-01). "Scientist: The story of a word". Annals of Science (ภาษาอังกฤษ). 18 (2): 65–85. doi:10.1080/00033796200202722. ISSN 0003-3790.
อ่านเพิ่ม
แก้- Adler, Mortimer J. (1993). The Four Dimensions of Philosophy: Metaphysical, Moral, Objective, Categorical. Macmillan. ISBN 0-02-500574-X.
- E.A. Burtt, Metaphysical Foundations of Modern Science (Garden City, NY: Doubleday and Company, 1954).
- Philip Kitcher, Science, Truth, and Democracy. Oxford Studies in Philosophy of Science. Oxford; New York: Oxford University Press, 2001. LCCN:2001036144 ISBN 0-19-514583-6
- Bertrand Russell, A History of Western Philosophy and Its Connection with Political and Social Circumstances from the Earliest Times to the Present Day (1945) Simon & Schuster, 1972.
- Santayana, George (1923). Scepticism and Animal Faith. Dover Publications. pp. 27–41. ISBN 0-486-20236-4.
- David Snoke, Natural Philosophy: A Survey of Physics and Western Thought. Access Research Network, 2003. ISBN 1-931796-25-4.Natural Philosophy: A Survey of Physics and Western Thought Welcome to The Old Schoolhouse® Magazine
- Nancy R. Pearcey and Charles B. Thaxton, The Soul of Science: Christian Faith and Natural Philosophy (Crossway Books, 1994, ISBN 0891077669).
- Alfred N. Whitehead, Process and Reality, The Macmillan Company, 1929.
- René Thom, Modèles mathématiques de la morphogenèse, Christian Bourgois, 1980.
- Claude Paul Bruter, Topologie et perception, Maloine, 3 vols. 1974/1976/1986.
- Jean Largeault, Principes classiques d'interprétation de la nature, Vrin, 1988.
- Moritz Schlick, Philosophy of Nature, Philosophical Library, New York, 1949.
- Andrew G. Van Melsen, The Philosophy of Nature, Duquesne University, Pittsburgh 1954.
- Miguel Espinoza, A Theory of Intelligibility. A Contribution to the Revival of the Philosophy of Nature, Thombooks Press, Toronto, ON, 2020.
- Miguel Espinoza, La matière éternelle et ses harmonies éphémères, L'Harmattan, Paris, 2017.
- Thagard, Paul (2019). Natural Philosophy: From Social Brains to Knowledge, Reality, Morality, and Beauty. New York: Oxford University Press. ISBN 9780190686444.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- "Aristotle's Natural Philosophy", Stanford Encyclopedia of Philosophy
- Institute for the Study of Nature
- "A Bigger Physics," a talk at MIT by Michael Augros
- Other articles
แม่แบบ:ยุคเรืองปัญญา แม่แบบ:หัวข้อปรัชญา แม่แบบ:มนุษยศาสตร์สิ่งแวดล้อม