บลูเทรน (อังกฤษ: Blue Train) (ญี่ปุ่น: ブルートレイン) เป็นชื่อเล่นของตู้รถนั่งและตู้รถนอนของญี่ปุ่น รถไฟบลูเทรนประกอบด้วยห้องนอน โดยห้องนอนหนึ่งห้องมี 4 เตียง(คลาสบี) และห้องนอนหนึ่งห้องมี 1 เตียง (คลาสเอ) ไม่สามารถปรับเป็นรถนั่งได้ โดยปกติในประเทศญี่ปุ่นจะใช้รถบลูเทรนพ่วงเป็นขบวนรถทางไกล โดยใช้หัวรถจักรไฟฟ้าตระกูล EF ตระกูล ED และ หัวรถจักรดีเซลตระกูล DD ทำขบวน โดยให้บริการโดย JR East (ญี่ปุ่น: JR東日本) JR West (ญี่ปุ่น: JR西日本) และ JR Hokkaido (ญี่ปุ่น: JR北海道) รถบลูเทรนมีทั้งหมด 5 รุ่น คือ รุ่น 20(20系) รุ่น 14(14系) รุ่น 15(15系) รุ่น 24(24系) รุ่น 25(25系) ส่วนรถโดยสารรุ่น 12 ไม่นับว่าเป็นบลูเทรน

รถไฟประเภทบลูเทรน
รถนอนบลูเทรนรุ่น 24/25 ทำขบวนรถด่วนพิเศษ"อาเกโบโนะ"
ข้อมูลทั่วไป
ปลายทางพ.ศ. 2499
การดำเนินงาน
รูปแบบรถนอนและนั่ง
ผู้ดำเนินงานการรถไฟแห่งประเทศญี่ปุ่น (อดีต), บริษัท JR ต่าง ๆ
ขบวนรถรถนอนบลูเทรนรุ่น 20, 14/15 และ 24/25
ข้อมูลทางเทคนิค
ความเร็ว110 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (68 ไมล์ต่อชั่วโมง)
รถบลูเทรนฟูจิ"Fuji"
รถบลูเทรนฟูจิ+ฮายาบูสะ ในวันที่ถูกยกเลิก 13 มีนาคม 2552

ประวัติ แก้

รถบลูเทรนนั้นถือกำเนิดครั้งแรกในปี 2499 โดยบลูเทรนที่ออกวิ่งให้บริการครั้งแรกของประเทศญี่ปุ่นจะเป็นรุ่น 20 (20系) เนื่องจากสีที่พ่นลงที่ตัวตู้รถขณะนั้นใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก คาดด้วยแถบสีขาวนวลสองเส้นขนาดไปกับตัวรถ จากจุดกำเนิดของบลูเทรนรุ่น 20 นี้เอง จึงทำให้รถโดยสารประเภทเดียวกันที่ถูกสร้างขึ้นมาภายหลัง และออกวิ่งให้บริการประชาชนที่ประเทศญี่ปุ่น ไม่ว่าจะเป็นรุ่น 14(14系), 15(15系), 24(24系), 25(25系) ก็ถูกเรียกว่าบลูเทรนเช่นเดียวกันกับรุ่นที่ผ่านมา ต่อมาในปี 2514 บลูเทรนรุ่นใหม่จึงได้ถือกำเนิดขึ้น โดยรุ่นใหม่นี้มีความแตกต่างจากรุ่น 20 ตรงที่ว่า ไม่ต้องมีรถไฟฟ้ากำลัง (พาวเวอร์ เจเนเรเตอร์ คาร์ - Power Generator Car) เฉพาะก็สามารถวิ่งทำขบวนได้ โดยตู้รถรุ่นใหม่ที่ว่านี้ได้รับการออกแบบมาให้ติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใต้ท้องตู้รถโดยสาร อีกทั้งยังสามารถที่จะจ่ายกระแสไฟฟ้าไปเลี้ยงตู้รถที่อยู่ข้างเคียงที่ไม่มีเครื่องกำเนิดกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย ซึ่งบลูเทรนรุ่นใหม่ที่ว่านี้มีชื่อเรียกว่า บลูเทรนรุ่น 14​ (14系) นั้นเอง

บลูเทรนรุ่น 14(14系) ที่ผลิตออกมานั้นมีทั้งตู้รถรถนั่งและตู้รถรถนอน โดยแยกชุดกันทำขบวน แต่ในระยะหลังก็ได้นำมาพ่วงทำขบวนร่วมกันก็มีบ้าง เช่นปัจจุบันรถ ฮามานาซุ(Hamanasu)(ญี่ปุ่น: はまなす) วิ่งสายเหนือเชื่อมระหว่างจังหวัดอะโอโมริกับจังหวัดซัปโปโร ทำขบวนโดยรถรุ่น 14 นั่งและนอน ในส่วนตู้รถรถนั่งในประเทศไทยมีให้บริการอยู่ในสายใต้ กรุงเทพ – ตรัง รุ่นนี้เป็นรุ่นที่ผลิตออกมาเพื่อใช้พ่วงเข้ากับรถบลูเทรนอิซึโมะ(Izumo)(ญี่ปุ่น: 出雲) ขบวนที่ 3 (ไป) และ 4 (กลับ) เป็นครั้งแรก โดยมีรถนอนชั้น 1 และชั้น 2 พิเศษทำขบวน ต่อมาเมื่อบริษัทเจอาร์ยกเลิกการให้บริการของบลูเทรนอิซึโมะ(Izumo) ขบวนที่ 3 และ 4 ตู้รถนอนชั้น 1 และชั้น 2 พิเศษนี้ได้ถูกนำไปใช้พ่วงทำขบวนกับรถบลูเทรนอากาซึกิ(Akatsuki)(ญี่ปุ่น: あかつき) แทน โดยในครั้งนี้ได้ทำการปรับปรุงรถบลูเทรนนั่งธรรมดารุ่น 14 ซีรีส์ 0 ให้กลายเป็นรุ่น 14 ซีรีส์ 300 ให้ชื่อว่า Segato ซึ่งเป็นรถนั่งชั้น 2 พิเศษ 3 แถว มีห้องล็อบบี้อยู่ปลายสุดตู้รถให้บริการอยู่เพียงไม่กี่ปีและท้ายสุดในปี 2551 บริษัทเจอาร์ได้ทำการยกเลิกบลูเทรนขบวนอะกาซึกิ(Akatsuki)(ญี่ปุ่น: あかつき) ลง และตู้รถโดยสารทั้งหมดนี้ปัจจุบันได้ถูกแยกสิ้นส่วนทำลายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เหลือไว้เพียงแต่รูปภาพและโมเดลให้ดูต่างหน้าเท่านั้น

บลูเทรนขบวนแรกที่ให้บริการในญี่ปุ่นคือบลูเทรนอะซากาเซะ(Asakaze)(ญี่ปุ่น: あさかぜ) วิ่งระหว่างโตเกียว-ฮากาตะในปี 2499 โดยใช้รถปรับอากาศบลูเทรนรุ่น20 ทำขบวน และมีผู้นิยมใช้เป็นจำนวนมากจึงทำให้เกิดบลูเทรนมากถึง 26 สาย

ต่อมาในปี 2507 ญี่ปุนได้เปิดบริการชินกันเซ็นขึ้น ความจำเป็นของรถบลูเทรนจึงค่อยๆลดลงและถูกยกเลิกไปทีละขบวน

ขบวนอะซากาเซะ(Asakaze) (ญี่ปุ่น: あさかぜ) ถูกยกเลิกการวิ่งไปในวันที่ 13 มีนาคม 2548

 
ตราสัญลักษณ์ของรถนอนบลูเทรน

ขบวนรถบลูเทรนที่เคยให้บริการในญี่ปุ่น แก้

  • โฮะกุโตะเซ (Hokutosei) (ญี่ปุ่น: 北斗星) วิ่งระหว่างโตเกียว(สถานีอุเอโนะ)-ซัปโปโร (ยกเลิกปี 2015)
  • ทไวไลต์เอ็กซ์เพรซ (Twilight Express) (ญี่ปุ่น: トワイライトエクスプレス) วิ่งระหว่างโอซากะ -ซัปโปโร (ยกเลิกปี 2015)
  • แคสซิโอเปีย (Cassiopeia) (ญี่ปุ่น:カシオペア)วิ่งระหว่างโตเกียว(สถานีอุเอโนะ)-ซัปโปโร(ยกเลิกปี 2016)
  • อาเกโบโนะ (Akebono) (ญี่ปุ่น:あけぼの)วิ่งระหว่างโตเกียว (สถานีอุเอโนะ)-อาโออิโมริ โดยวิ่งไปทางสายหลักอุเอะซึ (ยกเลิกปี 2014)
  • โฮกุริกุ (Hokuriku) (ญี่ปุ่น:北陸) วิ่งจากโตเกียว(สถานีอุเอะโนะ)-คานาซาวะ (ยกเลิกปี 2010)
  • นิฮงไก (Nihonkai) (ญี่ปุ่น:日本海)วิ่งจากโอซากะ-อาโออิโมริ(ยกเลิกปี 2013)
  • ฟูจิ (Fuji) (富士) วิ่งจากโตเกียว ไป โออิตะ (ยกเลิกปี 2009)
  • ฮายาบูซะ (Hayabusa) (はやぶさ) วิ่งจากโตเกียว ไป คุมาโมโตะ (ยกเลิก2009)
  • อาซากาเซะ (Asakaze) (あさかぜ) วิ่งจากโตเกียว ไป ชิโมโนเซกิ(ยกเลิกปี2005)
  • ซากุระ (Sakura) (さくら) วิ่งจากโตเกียว ไป นางะซากิ (ยกเลิกปี 2005)
  • อากัตสึกิ (Akatsuki) (あかつき) วิ่งจาก เกียวโต ไป นางะซากิ (ยกเลิกปี 2008)
  • นาฮะ (Naha) (なは) วิ่งจาก เกียวโต ไป คุมาโมโตะ (ยกเลิกปี 2008)
  • ซูอิเซ (Suisei) (彗星) วิ่งจาก เกียวโต ไป มินามิ มิยาซากิ (ยกเลิกปี 2005)

ขบวนรถด่วนบลูเทรนที่เคยให้บริการ แก้

  • ฮามานาสึ (Hamanasu) (はまなす) วิ่งจากอาโอโมริ ไปยังเมือง ซัปโปโร (ยกเลิกปี2559) รถไฟบางส่วนได้นำมาไทยเพื่อดัดแปลงเป็นรถท่องเที่ยว
  • กิงงะ (Ginga) (銀河) วิ่งจากโตเกียวไปยังโอซากะ (ยกเลิกปี 2008)
 
ขบวนรถด่วนฮามานะสึที่สถานีอาโอโมริ

ชนิดตู้รถโดยสารของบลูเทรน แก้

หน้าตาของตู้รถไฟภายนอก แก้

รถบลูเทรนที่วิ่งทำขบวนนั้นสามารถแบบชนิดตู้รถได้ดังต่อไปนี้

  1. บลูเทรนคาดแถบเงิน 2 เส้นประตูบานพับ
  2. บลูเทรนคาดแถบขาว 2 เส้นประตูบานพับ
  3. บลูเทรนคาดแถบขาว 2 เส้นประตูบานพับ
  4. บลูเทรนคาดแถบทอง 3 เส้นประตูบานพับ
  5. บลูเทรนคาดแถบทอง 3 เส้นประตูบานเลื่อน

บลูเทรนรุ่นคาดแถบขาวหรือเงินนี้เป็นบลูเทรนยุคแรกของรุ่น มีความเก่าแก่ที่สุดในบรรดาบลูเทรนรุ่น 24 และ 25 โดยในยุคแรกเตียงที่ติดตั้งอยู่ในห้องโดยสารนั้นจะเป็นแบบ 3 ชั้น ต่อมาได้มีการปรับให้เหลือเพียงแค่ 2 ชั้นเหมือนที่เห็นในปัจจุบัน บลูเทรนคาดแถบขาวนี้ต่อมาบางส่วนได้ถูกนำมาดัดแปลงเป็นบลูเทรนคาดทองประตูบานเลือนและนำไปพ่วงทำขบวนกับขบวนรถ ฮกกุโตเซ อะเกโบโน่ นิฮงไก ฮามานะสึ

สัญลักษณ์ตู้นอนชั้นB แก้

สัญลักษณ์ของตู้นอนชั้นB
สัญลักษณ์ ลักษณะที่นอน รถไฟที่สามารถพบได้
ที่นอน 3ชั้น รถนอนรุ่น20
รถนอนรุ่น14และ24รุ่นเดิม
★★ ที่นอน 3ชั้น รถไฟรุ่น583
★★★ ที่นอน 2ชั้น รถนอนรุ่น 14,15และ24,25
หลังการปรับปรุงแล้ว
★★★★ ห้อง 4คนแบบส่วนตัว Ohane14 700 และOhane24 700

การอ่านทะเบียนรถ แก้

ตัวอักษรตัวแรก แก้

  • オ = O มีน้ำหนักประมาณ 32.5 – 37.5 ตัน
  • ス = SU มีน้ำหนักประมาณ 37.5 – 42.5 ตัน
  • マ = MA มีน้ำหนักประมาณ 42.5 – 47.5 ตัน
  • カ = KA มีน้ำหนักมากกว่า 47.5 ตัน

ตัวอักษรตัวที่สอง แก้

  • ロ = RO ตู้นอนชั้น A
  • ハ = HA ตู้นอนชั้น B หรือ ตู้ลอบบี้
  • シ = SHI ตู้หน่ายอาหาร
  • 二 = NI รถมีห้องสัมภาระและตู้ปั่นไฟ
  • フ = FU รถที่มีห้องสำหรับเจ้าหน้าที่ไว้ควบคุมระบบการทำงานของตัวรถ
  • ロネ = RONE ตู้นอนชั้น A
  • ハネ = HANE รถนอนชั้น B

ในประเทศไทย แก้

 
รถปรับอากาศนั่งและนอนชั้นที่ 2 (บนท.ป.JR) ที่ได้รับการปรับปรุงภายนอกเป็นสีม่วง

การรถไฟแห่งประเทศไทยได้รับมอบรถบลูเทรนที่ใช้แล้วจากประเทศญี่ปุ่นโดยไม่คิดค่าตอบแทนจำนวนทั้งสิ้น 62 คัน แบ่งเป็น 3 ชุด ได้แก่ ชุดที่ 1 ปี พ.ศ. 2547 จำนวน 20 คัน จากบริษัท JR-West ชุดที่ 2 ปี พ.ศ. 2551 จำนวน 32 คัน จากบริษัท JR-West และชุดที่ 3 ปี พ.ศ. 2559 จำนวน 10 คัน จากบริษัท JR-Hokkaido โดยนำมาทำการปรับความกว้างล้อ (Regauge) จาก 1067 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานทางรถไฟญี่ปุ่น เป็น 1000 มิลลิเมตร ตามมาตรฐานทางรถไฟในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน และปรับปรุงเล็กน้อย

รถบลูเทรนที่ได้รับมอบจากบริษัท JR-West เคยใช้เป็นรถไฟด่วนพิเศษ ไปมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เรียกว่า ขบวนรถด่วนพิเศษราชพฤกษ์ หรือขบวนพิเศษโดยสารที่ 963/964 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 - 31 มกราคม 2550 ในปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยยุติการให้บริการรถบลูเทรนแล้ว เนื่องจากตัวรถที่เริ่มชำรุดและเก่า ประกอบกับค่าบำรุงรักษาใช้จ่ายมาก จึงได้ทำการยกเลิกไปเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2559 โดยให้โดยสารครั้งสุดท้ายในขบวน 13/14 กรุงเทพ-เชียงใหม่-กรุงเทพ หลังจากยกเลิกรถบลูเทรนแล้ว ขบวน13/14 ใช้ตู้โดยสารรุ่น ฮุนได(บนอ.ป),โตกิว(บนท.ป),แดวูรุ่นเก่า(บนท.ป) แทนบลูเทรน ปัจจุบันการรถไฟฯได้นำรถบลูเทรนบางส่วนไปใช้งานเป็นรถเสริมในบางขบวน รวมถึงนำไปดัดแปลงเป็นรถจัดเฉพาะปรับอากาศ(บจพ.ป.)จำนวน 3 คัน และล่าสุดได้นำรถบลูเทรนจำนวน 16 คันมาปรับปรุงใหม่ในสีเทาแดง และดัดแปลงระบบเพื่อใช้งานร่วมกับรถไฟฟ้ากำลังปรับอากาศ (บฟก.ป.) เพื่อลดมลพิษในการนำขบวนรถขึ้นสถานีกลางบางซื่อต่อไป

รถบลูเทรนที่ได้รับมอบจากบริษัท JR-Hokkaido ในปี พ.ศ. 2559 เป็นรถนั่งปรับอากาศทั้ง 10 คัน แบ่งเป็นรุ่น Oha 14 จำนวน 5 คัน และรุ่น Suhafu 14 จำนวน 5 คัน ปัจจุบันอยู่ในโครงการดัดแปลงเป็นรถไฟท่องเที่ยวชุดแรกของ รฟท.ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งจะนำมาใช้ในเส้นทาง กรุงเทพ-น้ำตก และ เชียงใหม่-ลำปาง

หมายเลขและรุ่นรถที่ได้รับมอบมา แก้

จากบริษัท JR-West ปี พ.ศ. 2547 จำนวน 20 คัน

  • Oha 14 หมายเลข 74-76,78-81
  • Ohafu 15 หมายเลข 21
  • Ohane 14 หมายเลข 33
  • Ohane 15 หมายเลข 10,11,25
  • Suhanefu 14 หมายเลข 25,50
  • Suhanefu 15 หมายเลข 5,6,9,10,11,13

จากบริษัท JR-West ปี พ.ศ. 2551 จำนวน 32 คัน

  • Ohane 25 หมายเลข 76,162,163,165,168,170,171,174,186,187,188,192,193,194,195,197,199,200,205
  • Ohanefu 15 หมายเลข 8,15,17,18,137,139,148,301,302,302
  • Orone 25 หมายเลข 302,304
  • Suha 25 หมายเลข 301

จากบริษัท JR-Hokkaido ปี พ.ศ. 2559 จำนวน 10 คัน

  • Oha 14 หมายเลข 503,507,508,510,531
  • Suhafu 14 หมายเลข 506,509,551,555,556

อ้างอิง แก้