โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด (อังกฤษ: Toyota Motor Thailand Co., Ltd.; TMT) เป็นบริษัทในเครือของโตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน ในประเทศไทยซึ่งก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2505 ณ อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ ในปี พ.ศ. 2522 โตโยต้าเริ่มผลิตชิ้นส่วนตัวถังในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2532 บริษัทเริ่มต้นการผลิตเครื่องยนต์และควบคุมการผลิตรถยนต์โตโยต้าในประเทศไทย และจัดหารถยนต์ให้กับตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการทั่วประเทศไทย ตลาดส่งออกหลักของบริษัทคือภูมิภาคอาเซียนและโอเชียเนีย แต่โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ยังส่งออกรถยนต์ไปยังส่วนต่าง ๆ ของโลกด้วย โดยเฉพาะโตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้ ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2559 มีตัวแทนจำหน่ายโตโยต้าอย่างเป็นทางการ 150 แห่ง โดยมีโชว์รูม 450 แห่งที่ได้รับการรับรองจากโตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย
ประเภท | บริษัทในเครือ |
---|---|
อุตสาหกรรม | ยานยนต์ |
รูปแบบ | รถยนต์ |
ก่อตั้ง | 5 ตุลาคม พ.ศ. 2505 |
สำนักงานใหญ่ | , ไทย |
บุคลากรหลัก |
|
ผลิตภัณฑ์ |
|
ผลผลิต | 760,000 คัน (สูงสุด) |
เจ้าของ | โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชัน (86.4%) |
เว็บไซต์ | www |
การดำเนินงาน
แก้ณ เดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2016 บริษัทมีพนักงาน 16,477 คนในโรงงานในไทย บริษัทมีโรงงาน 3 แห่ง ใน 2 จังหวัด โรงงานในพื้นที่สำโรง จังหวัดสมุทรปราการ ผลิตรถกระบะและรถเพื่อการพาณิชย์ และโรงงานสองแห่งในจังหวัดฉะเชิงเทรา ผลิตรถยนต์นั่งส่วนบุคคล โรงงานทั้งสามแห่งมีกำลังการผลิตรวมกันสูงสุด 760,000 คันต่อปี[1]
ในปี ค.ศ. 1988 บริษัทได้จัดตั้งบริษัทร่วมทุนกับโตโยต้า ออโต้ บอดี้[2] เรียกว่า โตโยต้า ออโต้ เวิร์ค (ชื่อเดิม: ไทย ออโต้ เวิร์ค)[3] กิจการมุ่งเน้นไปที่การผลิตรถตู้ไฮเอซ โตโยต้า ออโต้ บอดี้ ถือหุ้น 63%[2] บริษัทมีโรงงานอีกแห่งในจังหวัดสมุทรปราการ คือ โรงงานเทพารักษ์[4]
รุ่นรถ
แก้ผลิตในประเทศ
แก้โรงงานฉะเชิงเทรา (Gateway)
แก้- โตโยต้า ยาริส เอทีฟ (พ.ศ. 2560–ปัจจุบัน, รุ่นตลาดส่งออกในชื่อ โตโยต้า วีออส)
- โตโยต้า ยาริส (พ.ศ. 2549–ปัจจุบัน)
- โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส (พ.ศ. 2544–ปัจจุบัน)
- โตโยต้า โคโรลล่า อัลติส ครอส (พ.ศ. 2563–ปัจจุบัน)
- โตโยต้า คัมรี่ (พ.ศ. 2542–ปัจจุบัน)
โรงงานในพื้นที่สำโรง
แก้- โตโยต้า ไฮลักซ์ (พ.ศ. 2518–ปัจจุบัน)
- โตโยต้า ไฮลักซ์ แชมป์ (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน)
- โตโยต้า ฟอร์จูนเนอร์ (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน)
โรงงานเทพารักษ์ (Toyota Auto Works venture)
แก้- โตโยต้า คอมมิวเตอร์ (พ.ศ. 2543–ปัจจุบัน)
- โตโยต้า ไฮเอซ (พ.ศ. 2535–ปัจจุบัน)
โรงงานบ้านโพธิ์
แก้- โตโยต้า ไฮลักซ์ วีโก้/วีโก้แชมป์/รีโว่ (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน)[5]
นำเข้า
แก้- Toyota Innova (พ.ศ. 2548–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน PT Toyota-Astra Motor (TMMIN) ประเทศ อินโดนีเซีย)
- Toyota Alphard (พ.ศ. 2550–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน Toyota Auto Body, มิเอะ ประเทศ ญี่ปุ่น)
- Toyota Coaster (พ.ศ. 2554–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน Toyota Auto Body ประเทศ ญี่ปุ่น)
- Toyota GR Supra (พ.ศ. 2562–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน มักนาสไตร์ ประเทศ ออสเตรีย)
- Toyota Veloz (พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน PT Toyota-Astra Motor (TMMIN) ประเทศ อินโดนีเซีย)
- Toyota GR 86 (พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน Subaru Corp. Gunma Plant ประเทศ ญี่ปุ่น / ผลิตพร้อมกับ Subaru BRZ)
- Toyota bZ4X (พ.ศ. 2565–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน Motomachi plant ประเทศ ญี่ปุ่น)
- Toyota Vellfire (พ.ศ. 2566–ปัจจุบัน; ผลิตจากโรงงาน Toyota Auto Body, มิเอะ ประเทศ ญี่ปุ่น)
รถรุ่นในอดีต
แก้ผลิตในประเทศ
แก้- โตโยต้า โคโรลล่า (พ.ศ. 2515–2544)
- Toyopet Tiara/โตโยต้า โคโรน่า (พ.ศ. 2507–2542)
- โตโยต้า คราวน์ (พ.ศ. 2513–2538)
- โตโยต้า ไฮลักซ์ สปอร์ต ไรเดอร์ (พ.ศ. 2541–2547)
- โตโยต้า พริอุส (พ.ศ. 2553–2558)
- โตโยต้า โซลูน่า (พ.ศ. 2539–2546)[6]
- โตโยต้า สเตาท์ (พ.ศ. 2507–2518)
- โตโยต้า วิช (พ.ศ. 2546–2552)
- โตโยต้า เวนทูรี่ (พ.ศ. 2548–2562)
- ไดฮัตสุ ชาเรด (พ.ศ. 2554–2556, เฉพาะส่งออก)[7]
- โตโยต้า วีออส (ตลาดในประเทศ, พ.ศ. 2545–2565)
- โตโยต้า ซี-เอชอาร์ (พ.ศ. 2561–2566)
นำเข้า
แก้- ผลิตจากโรงงาน PT Toyota-Astra Motor (TMMIN) ประเทศ อินโดนีเซีย
- ผลิตจากโรงงานในประเทศ ญี่ปุ่น
- โตโยต้า คราวน์
- โตโยต้า แลนด์ ครุยเซอร์
- โตโยต้า พริอุส
- โตโยต้า พริเวีย
- โตโยต้า ราฟโฟร์
- โตโยต้า มาเจสตี้ (พ.ศ. 2562–2564)
- Toyota GR Corolla (จำกัดการนำเข้าจำนวน 9 คัน)
- Toyota GR Yaris (จำกัดการนำเข้าจำนวน 70 คัน)
ยอดขาย
แก้โตโยต้าประกาศยอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในไทยในปี 2012 ที่ 516,086 คัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 78 จากปี 2011 ยอดขายลดลงร้อยละ 13.7 เป็น 445,464 คันในปี 2013 และลดลงร้อยละ 26.6 เป็น 327,027 คันในปี 2014 ในปี 2015 บริษัทมียอดขายจำนวน 266,005 คัน ลดลง 18.7 % ยอดขายในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2559 มีทั้งหมด 87,115 คัน ลดลง 13.4 % จากช่วงเดียวกันของปี 2558 บริษัทคาดการณ์ว่ายอดขายทั้งปี 2016 จะลดลง 9.8 % จากปี 2558 เป็น 240,000 คัน ซึ่งเป็นปีที่สี่ติดต่อกันที่ยอดขายลดลง[1]
ประเทศไทยมีรถยนต์จดทะเบียนใหม่ 1,007,552 คันในปี 2019 ลดลงร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบปีต่อปี โตโยต้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดในไทยในปี 2019 เป็น 33 เปอร์เซ็นต์ เพิ่มขึ้น 2.8%[8]
รางวัล
แก้ปี | รางวัล | สาขา | ผล |
---|---|---|---|
2566 | Thailand Zocial Awards 2023[9] | Best Brand Performance on Social Media กลุ่มธุรกิจยานยนต์ | ชนะ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Maikaew, Piyachart (6 July 2016). "Toyota Thailand to cut 800 workers". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 6 July 2016.
- ↑ 2.0 2.1 "About us". Toyota Auto Works. สืบค้นเมื่อ 17 May 2020.
- ↑ Maikaew, Piyachart (22 January 2013). "New Toyota plant to open this year". Bangkok Post. สืบค้นเมื่อ 24 May 2020.
- ↑ Kukuchi, Akifumi; Gokan, Toshitaka (2011). "On the sequence of steps in clustering policy for creating spatial advantages". ใน Kukuchi, Akifumi; Tsuji, Masatsugu (บ.ก.). Industrial Clusters, Upgrading and Innovation in East Asia. Edward Elgar Publishing. ISBN 978-0-857-93513-7.
- ↑ "Toyota holds opening ceremony for 3rd Thai plant" (Press release). Toyota. 13 March 2007. สืบค้นเมื่อ 6 April 2021.
- ↑ "TOYOTA MOTOR CORPORATION GLOBAL WEBSITE | 75 Years of TOYOTA | Activities by Region | Asia". www.toyota-global.com. สืบค้นเมื่อ 2020-11-28.
- ↑ Ruiz, Teresa. "New Daihatsu Charade the end-version to disappear from Europe" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2022-02-11.
- ↑ Ellison, Edd (6 February 2020). "Toyota Thailand Foresees 'Challenging Year'". Wards Auto. สืบค้นเมื่อ 7 February 2020.
- ↑ "ประกาศผล Thailand Social Awards ครั้งที่ 11 แบรนด์และผู้ทรงอิทธิพลบนโลกโซเชียลยกทัพร่วมงานคับคั่ง". ไทยรัฐ. 2023-02-24. สืบค้นเมื่อ 2023-02-25.