โตโยต้า เทอร์เซล
โตโยต้า เทอร์เซล เป็นรถรุ่นหนึ่งของโตโยต้า เป็นรถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก ถูกออกแบบมาจากการผสมผสานสไตล์แบบของรถรุ่น โตโยต้า โคโรลล่า กับรถรุ่น โตโยต้า สตาร์เลต ซึ่งรถรุ่นนี้แบ่งออกเป็น 5 โฉม ตามช่วงระยะเวลา ซึ่งในโฉมที่ 1-4 ไม่เป็นที่รู้จักของคนไทย แต่เมื่อถึงโฉมที่ 5 คนไทยรู้จักรถรุ่นนี้มากขึ้น เพราะโตโยต้า นำรถรุ่นนี้มาดัดแปลงลักษณะรถเล็กน้อย และขายในชื่อ โตโยต้า โซลูน่า
โตโยต้า เทอร์เซล | |
---|---|
ภาพรวม | |
บริษัทผู้ผลิต | โตโยต้า |
เรียกอีกชื่อ |
|
เริ่มผลิตเมื่อ | พ.ศ. 2521 – 2543 |
ตัวถังและช่วงล่าง | |
ประเภท | รถยนต์นั่งขนาดเล็กมาก (Subcompact Car) |
รูปแบบตัวถัง | คูเป้ 2 ประตู แฮทช์แบ็ค 3/5 ประตู ซีดาน 4 ประตู |
โครงสร้าง |
|
รุ่นที่คล้ายกัน | ฮอนด้า ซิตี้ เชฟโรเลต อาวิโอ |
ระยะเหตุการณ์ | |
รุ่นก่อนหน้า | ไม่มี |
รุ่นต่อไป | โตโยต้า วีออส (เอเชีย; สำหรับ โซลูน่า) โตโยต้า ยาริส (แฮทช์แบ็ค) |
โฉมแรกนี้ เริ่มผลิตครั้งแรกใน พ.ศ. 2521 ในญี่ปุ่น
ในช่วงแรกๆ โฉมนี้ มีตัวถัง 2 แบบ คือ coupe 2 ประตู และ hatchback 3 ประตู เครื่องยนต์ SOHC 1.5 ลิตร 60 แรงม้า วางเครื่องหน้าตามยาว (Longitudinal)
จนถึงรุ่นปี พ.ศ. 2523 ได้มีการผลิตตัวถัง sedan 4 ประตู ทำให้เทอร์เซลขณะนี้ มีตัวถัง 3 แบบ และเปลี่ยนเครื่องยนต์ เป็นเครื่องชนิด 62 แรงม้า
รถรุ่นนี้ขับเคลื่อนล้อหน้าตั้งแต่โฉมแรก มีระบบเกียร์ขาย 3 ระบบ คือ เกียร์อัตโนมัติ 3 สปีด , เกียร์ธรรมดา 4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 5 สปีด
โฉมที่ 2 นี้ มีเครื่องยนต์อยู่ด้านหน้าเหมือนเดิม แต่ได้เพิ่มการผลิตระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ ควบคู่กับการผลิตระบบขับเคลื่อนล้อหน้า
โฉมนี้ มีตัวถัง 4 แบบ คือ hatchback 3 ประตู , sedan 4 ประตู , hatchback 5 ประตู และ station wagon 5 ประตู
โฉมนี้ มีระบบเกียร์ 4 แบบ คือ อัตโนมัติ 3 สปีด , ธรรมดา 4 สปีด , ธรรมดา 5 สปีด , ธรรมดา 6 สปีด แล้วแต่รุ่นของรถจะเข้าได้กับระบบเกียร์แบบใด
แกลอรี่
แก้-
1985–1986 Tercel 5-door (North America)
-
1983–1984 Tercel 3-door (US)
-
3-door Tercel 1.3 L (Europe)
-
Toyota Sprinter Carib (Japan)
-
1986 Tercel wagon (US; rear)
-
Dash and interior of 1983 Tercel
โฉมที่ 3 นี้ ถูกออกแบบให้รถมีขนาดใหญ่ขึ้น และความหรูหรามากขึ้น แต่ใช้งานได้ง่ายและประหยัด มีเครื่องยนต์ 1.5 ลิตร 12 วาล์ว 78 แรงม้า วางเครื่องหน้าตามขวาง (Transverse) ขับเคลื่อนล้อหน้า หรือระบบขับเคลื่อนสี่ล้อ แต่ขับเคลื่อนสี่ล้อในโฉมนี้นั้นหายาก เนื่องจากมีผู้ซื้อใช้ไม่มากนัก
มีตัวถัง 4 แบบ คือ sedan 2 ประตู , hatchback 3 ประตู , hatchback 5 ประตู และ station wagon 5 ประตู
โฉมนี้ มีรถรุ่นหนึ่งซึ่งหายากมาก แม้แต่บางประเทศที่มีรถเทอร์เซลมากยังหาได้ยาก คือรุ่น Tercel Deluxe เป็นรถ liftback 4 ประตู ผลิตระหว่างรุ่นปี 2530-2532
รถรุ่นนี้มี 3 ระบบเกียร์ คือ อัตโนมัติ 3 สปีด , ธรรมดา 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด แล้วแต่รุ่นรถ
แกลอรี่
แก้
|
โฉมนี้ ถูกออกแบบมาโดยผสมผสานเทคโนโลยีรถสปอร์ตเข้าไป และใช้รูปทรงรถแบบแอโรไดนามิค มีเครื่องยนต์ 3E-E 1.5 ลิตร 82 แรงม้า ขับเคลื่อนล้อหน้า (ขับเคลื่อนสี่ล้อก็ยังมี แต่หายาก มีเฉพาะในบางประเทศ)
มีตัวถัง 3 แบบ คือ sedan 2 ประตู , hatchback 3 ประตู และ sedan 4 ประตู มี 3 ระบบเกียร์คือ อัตโนมัติ 3 สปีด , ธรรมดา 4 สปีด และธรรมดา 5 สปีด แล้วแต่รุ่นรถ
ถึงรุ่นปี 2536 ได้มีการปรับปรุงครั้งใหญ่ โดยใส่ถุงลมนิรภัยลงในที่นั่งคนขับ และใส่ระบบเบรก anti-lock และปรับเปลี่ยนระบบปรับอากาศในรถเป็นระบบแบบไร้สาร CFC ทำให้รถเทอร์เซลรุ่นปี 2536 เป็นต้นไป มีความปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
แกลอรี่
แก้
|
โฉมนี้ เป็นโฉมแรก และโฉมเดียวของเทอร์เซล ที่โด่งดังในประเทศไทย โดยโฉมนี้ โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย ได้ดัดแปลงรายละเอียดปลีกย่อยทางด้านหน้าและท้ายรถ แล้วนำมาขายในไทยในชื่อว่า โตโยต้า โซลูน่า (Toyota Soluna) ชื่อ Soluna เป็นคำผสมในภาษาสเปน Sol แปลว่าพระอาทิตย์ และคำว่า Luna ที่แปลว่าพระจันทร์ เป็นคู่แข่งกับ ฮอนด้า ซิตี้ ในสมัยนั้น
โฉมนี้ ได้ใส่ถุงลมนิรภัยในที่นั่งคนขับและผู้โดยสาร(โฉมก่อนมีถุงลมเฉพาะด้านคนขับ) ขับเคลื่อนล้อหน้า มีตัวถัง 3 แบบ คือ coupe 2 ประตู , hatchback 3 ประตู และ sedan 4 ประตู ระบบเกียร์อัตโนมัติ 3-4 สปีด และเกียร์ธรรมดา 4-5 สปีด
โฉมนี้ ขับเคลื่อนล้อหน้า ใช้เครื่องยนต์ DOHC 1.5 ลิตร 93 แรงม้า รุ่นแรกๆ กับรุ่นท้ายๆ จะมีรายละเอียดปลีกย่อยในด้านหน้าและท้ายรถที่ต่างกัน ซึ่งโซลูน่าในไทยก็เช่นกัน เปิดตัวเมื่อปี พ.ศ. 2540 และได้สร้างกระแสจนโด่งดัง ด้วยการทุบสถิติยอดจองในวันเปิดตัว 3 วัน 10,000 คัน แซงหน้ายอดจองของ Honda Civic 3 ประตู ในปี พ.ศ. 2536 ที่ 3 วันทำได้ 9,000 คัน และมี มรกต โกมลบุตร เป็นพรีเซ็นเตอร์ในช่วงแรก โฉมในไทยนี้มีตัวถังเพียงแบบเดียวคือ sedan 4 ประตู มีทั้งระบบเกียร์อัตโนมัติ 3 สปีดและเกียร์ธรรมดา 5 สปีด จะมีความแตกต่างในด้านรายละเอียดปลีกย่อยบ้างในระหว่างรุ่นแรกๆ กับรุ่นท้ายๆ โดยโซลูน่ารุ่นแรกของโฉม ตลาดรถไทยเรียกว่า "โฉมแก้มส้ม" เนื่องจากไฟเลี้ยวที่อยู่ติดกับไฟหน้าเป็นสีส้ม ส่วนรุ่นท้ายๆ ของโฉม โซลูน่าในไทยมักถูกเรียกว่า "โฉมหยดน้ำ" เนื่องจากไฟถอยหลังทั้ง 2 ดวงแยกออกจากส่วนที่เป็นไฟท้ายมาอยู่ที่ฝากระโปรงหลัง และมีรูปร่างคล้ายกับหยดน้ำ โดยไมเนอร์เชนจ์ในปี พ.ศ. 2542 และเลิกจำหน่ายในช่วงปลายปี พ.ศ. 2545 หลังจากไมเนอร์เชนจ์แล้วไม่สามารถทำยอดขายชนะ Honda City Type Z ที่ออกมาในช่วงเวลาเดียวกันได้ ก่อนจะมีการผลิต โตโยต้า วีออส ออกมาขายแทนที่ในปี พ.ศ. 2546 โดยที่โฉมแรกของวีออสยังคงมีชื่อนำหน้าว่าโซลูน่าเช่นเดิม
แกลอรี่
แก้
|
ปัจจุบัน
แก้หลังจากเทอร์เซลโฉมที่ 5 (โซลูน่า) โด่งดังได้ไม่กี่ปี โตโยต้าก็เลิกผลิตรถรุ่นเทอร์เซล โดยจะใช้การผลิตรถรุ่น โตโยต้า วีออส เข้ามาแทนที่รถรุ่นเทอร์เซล ซึ่งจนถึงปัจจุบัน รถวีออส ก็ก้าวมาเป็นอันดับต้นๆ ของรถยนต์ที่โด่งดังของโตโยต้า