ประชานิยม (อังกฤษ: populism) นิยามว่าเป็นอุดมการณ์[1][2][3][4] หรือที่พบได้น้อยกว่าว่าเป็น ปรัชญาการเมือง[5][6][7] หรือเป็นวาทกรรมประเภทหนึ่ง[3][6] นั่นคือ แนวคิดทางสังคมการเมืองซึ่งเปรียบ "ประชาชน" กับ "อภิชน" และกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงระบบสังคมและการเมือง นอกจากนี้ ประชานิยมยังสามารถนิยามได้ว่าเป็นรูปแบบวาทศิลป์ซึ่งสมาชิกความเคลื่อนไหวภาคการเมืองหรือสังคมหลายคนใช้ พจนานุกรมเคมบริดจ์นิยามว่าเป็น "แนวคิดและกิจกรรมทางการเมืองอันมีเจตนาเพื่อเป็นตัวแทนของความต้องการและความปรารถนาทั่วไปของประชาชน"[8] ประชานิยมสามารถเข้าใจได้ว่าเป็นวาทกรรมการเมืองซึ่งดึงดูดใจประชากรส่วนใหญ่ โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างของชนชั้นและการถือพวกทางการเมือง ประชานิยมนั้นตรงกันข้ามกับรัฐนิยม ซึ่งถือว่านักการเมืองอาชีพเพียงจำนวนหนึ่งมีความรู้ดีกว่าประชาชนและการตัดสินใจของรัฐในนามของพวกนั้น อย่างไรก็ตาม มีการอธิบายว่าผู้นิยมประชานิยมนั้นค้ำจุนรัฐบาลอำนาจนิยม อันเกิดจากกระบวนการปลุกระดมทางการเมืองซึ่งผู้นำจะปราศรัยแก่มวลชนโดยปราศจากการประนีประนอมของพรรคหรือสถาบันใด ๆ[9]

ด้วยวาทศิลป์ของ "พวก 99%" (ประชาชน) ที่ต่อต้าน "พวก 1%" (ชนชั้นสูง) การเคลื่อนไหวยึดครองระหว่างประเทศจึงเป็นตัวอย่างของการเคลื่อนไหวทางสังคมแบบประชานิยม
ตามที่กำหนดโดย Nolan Chart ประชานิยม (และเผด็จการ) จะอยู่ที่ด้านล่างซ้าย
การ์ตูนจากปีพ. ศ. 2439 ซึ่งวิลเลียมเจนนิงส์ไบรอันผู้สนับสนุนลัทธิประชานิยมอย่างแข็งขันได้กลืนสัญลักษณ์ของพรรคประชาธิปไตยแห่งอเมริกา

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Religious Rhetoric in American Populism: Civil Religion as Movement Ideology, Rhys H. Williams and Susan M. Alexander,1994, Society for the Scientific Study of Religion
  2. Anthropology and development: understanding contemporary social change, Jean-Pierre Olivier de Sardan
  3. 3.0 3.1 CONTEMPORARY POLITICAL IDEOLOGIES, Andras Bozoki, Terms: Winter and Spring 1995, Department of Political Science, Budapest, CENTRAL EUROPEAN UNIVERSITY
  4. The Reinvention of Populism: Islamist Responses to Capitalist Development in the Contemporary Maghreb, Alejandro Colás, 2001
  5. Merriam-Webster's collegiate encyclopedia, Merriam-Webster, Inc
  6. 6.0 6.1 Reasons for popularity of populist parties – Comparison of Poland and Estonia, Monika Kaliciak เก็บถาวร 2020-04-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, p. 3
  7. American Heritage Dictionary, entry "Populism"
  8. "populism – Cambridge Dictionary Oline: Free English Dictionary". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-18. สืบค้นเมื่อ 2011-06-06.
  9. Karen Kampwirth, ed., Gender and Populism in Latin America. Pennsylvania State University Press, 2010, page 2.