นุศรา ต้อมคำ
นุศรา ต้อมคำ (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2528) ชื่อเล่น นุช หรือ ซาร่า เป็นอดีตนักกีฬาวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตำแหน่งตัวเซต และเป็นหนึ่งในนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยที่ได้เล่นวอลเลย์บอลหญิงอาชีพในต่างประเทศ โดยได้ไปแข่งขันในระดับโลกหลายรายการ ได้แก่ เวิลด์กรังด์ปรีซ์ เวิลด์แชมเปี้ยนชิพ เวิลด์คัพ
นุศรา ต้อมคำ | |||
---|---|---|---|
ข้อมูลส่วนบุคคล | |||
ชื่อเต็ม | นุศรา ต้อมคำ | ||
ชื่อเล่น | นุช, ซาร่า | ||
เกิด | 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2528 จังหวัดราชบุรี ประเทศไทย | ||
ส่วนสูง | 1.69 เมตร (5 ฟุต 7 นิ้ว) | ||
น้ำหนัก | 55 กก. | ||
กระโดดตบ | 290 ซม. | ||
บล็อก | 278 ซม. | ||
ข้อมูล | |||
ตำแหน่ง | ตัวเซต | ||
สโมสรปัจจุบัน | แซนดีเอโกโมโจ | ||
หมายเลข | 13 | ||
ทีมชาติ | |||
|
ประวัติ
แก้นุศราเกิดที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรสาวคนที่ 2 ของนายฉลวย และนางประนอม ต้อมคำ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี จากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต เริ่มเล่นวอลเลย์บอลตั้งแต่อายุ 10 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาที่จังหวัดราชบุรี ตาม นิตยา ต้อมคำ ซึ่งเป็นพี่สาวที่เล่นวอลเลย์บอลอยู่แล้ว โดยเมื่อเลิกเรียนจะรอพี่สาวเล่นวอลเลย์บอลเสร็จ จึงจะกลับบ้านพร้อมกัน โค้ชคนแรกจึงหัดให้เริ่มต้นวอลเลย์บอลนับแต่นั้น[1]
นุศราเป็นตัวเซตที่สร้างประวัติศาสตร์ให้แก่ทีมชาติไทยอีกคนหนึ่งนอกเหนือจากปริม อินทวงษ์ ซึ่งเป็นตัวเซตที่สร้างประวัติศาสตร์คนแรกของประเทศ[ต้องการอ้างอิง] นอกจากนี้ นุศรายังเป็นบุคคลต้นแบบของฮารูกะ มิยาชิตะ ซึ่งเป็นนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่น[2]
ปัจจุบันนุศราทำงานเป็นพนักงานรัฐวิสาหกิจ ตำแหน่งนักบริหารงานทั่วไป กองประมวลผลงานและกิจการสัมพันธ์ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ทีมชาติ
แก้ชุดใหญ่
แก้- 2001 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับ 3
- 2003 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2005 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2007 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับ 3
- 2007 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2008 เอวีซีคัพ – อันดับ 3
- 2009 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2009 ชิงแชมป์เอเชีย – แชมป์
- 2010 เอวีซีคัพ – รองแชมป์
- 2011 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2012 เอวีซีคัพ – แชมป์
- 2013 ชิงแชมป์เอเชีย – แชมป์
- 2013 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2014 เอเชียนเกมส์ – เหรียญทองแดง
- 2015 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับ 3
- 2015 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2016 มงเทรอมาสเตอร์ – รองแชมป์
- 2016 เอวีซีคัพ – อันดับ 3
- 2017 ชิงแชมป์เอเชีย – รองแชมป์
- 2017 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
- 2018 เอเชียนเกมส์ – เหรียญเงิน
- 2019 ชิงแชมป์เอเชีย – อันดับ 2
- 2019 ซีเกมส์ – เหรียญทอง
สโมสร
แก้- กำแพงเพชร (2006)
- IBSA Club Voleibol (2007–2008)
- Kanti Schaffhausen (2008–2010)
- เฟดเดอร์บรอย (2009-2010)
- กระทู้ ภูเก็ต (2010-2011)
- อาเซอร์เรล บากู (2010-2012)
- อิกติซาดชิ บากู (2012-2013)
- ไอเดีย-ขอนแก่น (2013)
- ราบิตา บากู (2013-2015)
- อาเซอร์เรล บากู (2015-2016)
- เฟแนร์บาห์แช (2016-2018)
- นครราชสีมา เดอะมอลล์ วีซี (2018–2020)
- ไดมอนด์ฟู้ด (2020–2023)
- แอทลีตส์อันลิมิตเต็ดวอลเลย์บอล (2021–ปัจจุบัน)
- แซนดีเอโกโมโจ (2023–ปัจจุบัน)
เกียรติประวัติ
แก้รางวัลส่วนบุคคล
แก้- 2007 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2007 ชิงแชมป์เอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2008 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2009 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
- 2009 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2010 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2010 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2010-11 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2011 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
- 2012 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
- 2012 เวิลด์กรังด์ปรีซ์ - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2012 เอวีซี คัพ - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2013 ชิงแชมป์เอเชีย- "เซตยอดเยี่ยม"[3]
- 2014 ซีอีวี แชมเปียนส์ ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2013-14 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "ผู้เล่นทรงคุณค่า"
- 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เสิร์ฟยอดเยี่ยม"
- 2015-16 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2016 มงเทรอวอลลีย์แมสเตอส์ - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2016 เวิลด์กรังด์ปรีซ์ - "เซตยอดเยี่ยม"
- 2017 ชิงแชมป์เอเชีย- "เซตยอดเยี่ยม"
- 2019 ชิงแชมป์เอเชีย- "เซตยอดเยี่ยม"
ทีมสโมสร
แก้- 2007 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – รองแชมป์, กับ แสงโสม
- 2008 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – รองแชมป์, กับ แสงโสม
- 2009 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – แชมป์, กับ เฟเดอร์บรอย
- 2010 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – แชมป์, กับ เฟเดอร์บรอย
- 2010-11 ไทยแลนด์ลีก – แชมป์, กับ กะทู้ ภูเก็ต
- 2010-11 ชาเลนจ์คัพ – แชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
- 2010-11 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก – รองแชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
- 2011 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – แชมป์, กับ ช้าง
- 2011-12 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก – รองแชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
- 2012 ชิงแชมป์สโมสรเอเชีย – อันดับ 3, กับ ช้าง
- 2012-13 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก – รองแชมป์, กับ อิกติซาดชิ บากู
- 2013 ไทยเดนมาร์คซูเปอร์ลีก – แชมป์, กับ ไอเดียขอนแก่น
- 2013-14 ซีอีวี แชมเปียนส์ ลีก – อันดับ 3, กับ ราบิตา บากู
- 2013-14 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก – แชมป์, กับ ราบิตา บากู
- 2014-15 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก – แชมป์, กับ ราบิตา บากู
- 2015-16 อาเซอร์ไบจานซูเปอร์ลีก - แชมป์, กับ อาเซอร์เรล บากู
- 2016-17 เตอร์กิช คัพ - แชมป์, กับ เฟแนร์บาห์แช
- 2016-17 เตอร์กิช ลีก - แชมป์, กับ เฟแนร์บาห์แช
- 2017-18 เตอร์กิช ลีก - อันดับ 3, กับ เฟแนร์บาห์แช
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
แก้- พ.ศ. 2556 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 3 ตริตาภรณ์ช้างเผือก (ต.ช.)
- พ.ศ. 2555 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 3 ตติยดิเรกคุณาภรณ์ (ต.ภ.)[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ สู้สุดใจ ไทยแลนด์, สารคดีทางไทยพีบีเอส: พฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2556
- ↑ "ฮารุกะ มิยาชิตะ"เซตเตอร์สาวดาวรุ่งญี่ปุ่น เผยยึด"นุศรา ต้อมคำ"เป็นไอดอล
- ↑ "วิลาวัณย์"คว้าเอ็มวีพี"นุศรา"ซิวเซตเตอร์ยอดเยี่ยม วอลเลย์บอลหญิงเอเชีย"17 เก็บถาวร 2016-03-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สืบข้นข้อมูลเมื่อ 22 กันยายน พ.ศ. 2556
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ประจำปี ๒๕๕๕ เก็บถาวร 2022-05-28 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๓๐ ตอนที่ ๔ ข หน้า ๓๖, ๒๘ มกราคม ๒๕๕๕
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์หลักของนุศรา ต้อมคำ
- นุศรา ต้อมคำ ที่เฟซบุ๊ก
- เว็บบอร์ดส่วนตัว เก็บถาวร 2009-01-21 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน