นีกอลา กรูแอฟสกี

นีกอลา กรูแอฟสกี (มาซิโดเนีย: Никола Груевски - Грујо ; เกิด 31 สิงหาคม ค.ศ. 1970) เป็นนักการเมืองชาวมาซิโดเนีย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาซิโดเนียตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2549 จนถึงวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2559 และอยู่ในพรรคการเมือง VMRO-DPMNE (ВМРО–ДПМНЕ) ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 เคยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังซึ่งนำโดยนายกรัฐมนตรีลืบโค โจกีเอฟสกี จนถึงเดือนกันยายนปี พ.ศ. 2545[1]

นีกอลา กรูแอฟสกี
Никола Груевски
ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร
เริ่มดำรงตำแหน่ง
31 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
ประธานาธิบดียอร์ช อิวานอฟ
ก่อนหน้าโซราน เซฟ
นายกรัฐมนตรีคนที่ 6 แห่งประเทศมาซิโดเนีย
ดำรงตำแหน่ง
27 สิงหาคม พ.ศ. 2549 – 18 มกราคม พ.ศ. 2559
ประธานาธิบดีบรังกอ เซอร์แวงกอฟสกี
ยอร์แก อีวานอฟ
ก่อนหน้าวลาดอ บุชกอฟสกี
ถัดไปแอมิล ดีมีตรีแอฟ
รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศมาซิโดเนีย
ดำรงตำแหน่ง
27 ธันวาคม พ.ศ. 2542 – 11 มกราคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรีLjubčo Georgievski
ก่อนหน้าBoris Stojmenov
ถัดไปPetar Gosev
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด (1970-08-31) 31 สิงหาคม ค.ศ. 1970 (53 ปี)
สกอเปีย, สหพันธ์สาธารณรัฐสังคมนิยมยูโกสลาเวีย
พรรคการเมืองVMRO-DPMNE
คู่สมรสซูซานนา อาบีทิน่า (สมรส 2001–2005)
โบกิกา กรูฟสกา (สมรส 2007)
บุตร2 คน
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเห่งบิโตลา
มหาวิทยาลัยแห่งสกอเปีย

อาชีพทางการเมือง

แก้

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

แก้

รัฐบาลภายใต้การนำของลืบโค โจกีเอฟสกี ได้ขายบริษัทมาเกดอนสกี เทเลกอม ให้กับบริษัท Matáv ของฮังการี และขายโรงกลั่นน้ำมัน OKTA ให้กับบริษัทเอลีนิกา เปเตรไลอาของกรีซ นีกอลา กรูแอฟสกียังดำเนินการปฏิรูปทางการเงิน รวมถึงการปฏิรูประบบการชำระเงินและภาษีมูลค่าเพิ่ม 18% โดยกำหนดให้ต้องมีใบเสร็จรับเงินสำหรับหน่วยธุรกิจของมาซิโดเนียทั้งหมด ซึ่งเป็นโครงการที่ออกแบบมาเพื่อต่อสู้กับการหลีกเลี่ยงภาษี

ผู้นำพรรค

แก้
 
นีกอลา กรูแอฟสกี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฮิลลารี คลินตัน ที่วอชิงตัน ดี.ซี.

นีกอลา กรูแอฟสกี เป็นผู้นำของพรรคชาตินิยม VMRO- DPMNE หลังจากที่ VMRO-DPMNE พ่ายแพ้ในการเลือกตั้งรัฐสภา พ.ศ. 2545 ก็เกิดความขัดแย้งภายในพรรคช่วงหนึ่ง กรูแอฟสกีเป็นผู้นำที่สนับสนุนสหภาพยุโรป และเขาได้รับเลือกให้เป็นผู้นำพรรคหลังจากที่ลืบโค โจกีเอฟสกีลาออกจากตำแหน่ง หลังจากที่ลืบโค โจกีเอฟสกี ออกจาก VMRO-DPMNE เขาก็ตั้งพรรคของตัวเอง (ВMPO–Народна Партија) แต่ VMRO-DPMNE ยังสามารถรักษาผู้สนับสนุนพรรคส่วนใหญ่เอาไว้

นายกรัฐมนตรี

แก้

พรรค VMRO-DPMNE ชนะการเลือกตั้งรัฐสภาเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2549 และเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2549 กรูแอฟสกีได้จัดตั้งรัฐบาลใหม่ขึ้น รัฐบาลของเขามีบุคคลใหม่ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในวัย 30 ปีเศษ มาแทนที่คนรุ่นเก่าในกระทรวงสำคัญและตำแหน่งอื่น ๆ ผลจากการเลือกตั้งกรูแอฟสกีมีความโดดเด่นจากการเป็นหัวหน้ารัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งในยุโรปคนแรกที่เกิดในคริสต์ทศวรรษ 1970[2]

รางวัลและการยอมรับ

แก้

การยอมรับ

แก้

รางวัล

แก้
  • รางวัล เวียนนา อิโคโนมิก ฟอรัม – สำหรับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจระดับชาติและระดับภูมิภาค (2011)[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Konstantin Testorides (15 มกราคม 2016). "Macedonia premier to step down under Western-brokered deal". Associated Press.
  2. "Who's your daddy? - The youngest political leaders around the world". The Economist. 3 มิถุนายน 2009. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2010.
  3. "Gruevski receives highest award of Shtip, "St. Nicholas"". Meta.mk. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017.
  4. Осветени конаците Горни и Источен Палат. Бигорски манастир (ภาษามาซิโดเนีย). 26 เมษายน 2015. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 เมษายน 2015.
  5. "PM Gruevski recipient of Vienna Economic Forum award". Влада на Република Македонија. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2017.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้


ก่อนหน้า นีกอลา กรูแอฟสกี ถัดไป
Vlado Bučkovski   นายกรัฐมนตรีมาซิโดเนีย
(ค.ศ. 2006 – 2016)
  Emil Dimitriev
Boris Stojmenov   รัฐมนตรีกระทรวงการคลังประเทศมาซิโดเนีย
(ค.ศ. 1999–2002)
  Petar Gosev