นิลส์โซเนีย (ตะพาบ)
นิลส์โซเนีย หรือ ตะพาบนกยูง (อังกฤษ: Nilssonia) เป็นสกุลหนึ่งของตะพาบ (วงศ์ Trionychidae) ที่พบได้ในแม่น้ำ ลำธาร สระน้ำ และทะเลสาบในเอเชียใต้ และพม่า ซึ่งเป็นโมโนไทปิก (Monotypic taxon) โดยมีสปีชีส์เดียวคือ ตะพาบนกยูงพม่า (N. formosa) อย่างไรก็ตามสกุลของ Aspideretes ที่มีความใกล้ชิดกับ N. formosa มากกว่าที่เชื่อกัน โดยแตกต่างกันเพียงที่แผ่นประสาทคู่แรกระหว่างคู่กระดองหลังและโพรงเยื่อหุ้มปอด ซึ่งเชื่อมติดกันเป็นอันเดียวใน N. formosa และไม่เชื่อมติดกันในอีกชนิดหนึ่ง[5]
นิลส์โซเนีย | |
---|---|
ภาพของตะพาบลีธ | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
ชั้น: | สัตว์เลื้อยคลาน Reptilia |
อันดับ: | เต่า Testudines |
อันดับย่อย: | อันดับย่อยเต่า Cryptodira |
วงศ์: | วงศ์ตะพาบ Trionychidae |
วงศ์ย่อย: | วงศ์ย่อยตะพาบ Trionychinae |
สกุล: | สกุลตะพาบนกยูง Nilssonia Gray, 1872[1] |
Species | |
| |
ชื่อพ้อง[4] | |
จึงได้มีการเสนอให้รวมสองสกุลนี้ไว้ภายใต้ชื่อเดิมว่า Nilssonia ซึ่งเหมือนว่าญาติที่ใกล้ชิดที่สุดของตะพาบนกยูงพม่า คือ ตะพาบคงคา (A./N. gangeticus) และตะพาบลีธ (A./N. leithii) ทำให้การรวมสกุลนี้เข้าด้วยกันนั้นที่ได้ถูกรับรอง[5][4]
ศัพทมูลวิทยา
แก้ชื่อสกุล Nilssonia ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่นักสัตววิทยาชาวสวีเดนชื่อ สเวน นิลส์สัน (Sven Nilsson)[6]
สายพันธุ์
แก้ในสกุลนี้มี 5 สปีชีส์ด้วยกัน ได้แก่
- Nilssonia formosa (Gray, 1869) – ตะพาบนกยูงพม่า, ตะพาบพม่าลายตา หรือ ตะพาบพม่า
- Nilssonia gangetica (Cuvier, 1825) – ตะพาบคงคา หรือ ตะพาบอินเดีย
- Nilssonia hurum (Gray, 1831) – ตะพาบนกยูงอินเดีย, ตะพาบมยุรา หรือ ตะพาบน้ำลายนกยูง
- Nilssonia leithii (Gray, 1872) – ตะพาบลีธ, ตะพาบไลธ์ หรือ ตะพาบนาคปุระ
- Nilssonia nigricans (Anderson, 1875) – ตะพาบดำ หรือ ตะพาบบิซฏามี
เชิงอรรถและรายการอ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Gray, John Edward (1872). "Notes on the mud-tortoises of India (Trionyx, Geoffroy)". Annals and Magazine of Natural History, Fourth Series 10: 326–340.
- ↑ Gray, John Edward (1873). "Notes on mud-tortoises (Trionyx, Geoffroy), and on the skulls of the different kinds". Proceedings of the Zoological Society of London 1873: 38–72.
- ↑ Hay, Oliver P. (1904). "On the existing genera of the Trionychidae". Proceedings of the American Philosophical Society 42: 268–274.
- ↑ 4.0 4.1 Turtle Taxonomy Working Group [van Dijk PP, Iverson JB, Rhodin AGJ, Shaffer HB, Bour R] (2014). "Turtles of the world, 7th edition: annotated checklist of taxonomy, synonymy, distribution with maps, and conservation status". In: Rhodin AGJ, Pritchard PCH, van Dijk PP, Saumure RA, Buhlmann KA, Iverson JB, Mittermeier RA (editors) (2014). "Conservation Biology of Freshwater Turtles and Tortoises: A Compilation Project of the IUCN/SSC Tortoise and Freshwater Turtle Specialist Group". Chelonian Research Monographs 5 (7): 000.329–479, doi:10.3854/ crm.5.000.checklist.v7.2014.
- ↑ 5.0 5.1 Praschag P, Hundsdörfer AK, Reza AHMA, Fritz U (2007). "Genetic evidence for wild-living Aspideretes nigricans and a molecular phylogeny of South Asian softshell turtles (Reptilia: Trionychidae: Aspideretes, Nilssonia)". Zool. Scripta 36 (4): 301–310. doi:10.1111/j.1463-6409.2007.00282.x (HTML abstract) อ้างอิงผิดพลาด: ป้ายระบุ
<ref>
ไม่สมเหตุสมผล มีนิยามชื่อ "praschagetal2007" หลายครั้งด้วยเนื้อหาต่างกัน - ↑ Beolens, Bo; Watkins, Michael; Grayson, Michael (2011). The Eponym Dictionary of Reptiles. xiii + 296 pp. ISBN 978-1-4214-0135-5. ("Nilsson", p. 191).