นาริตะเอ็กซเพรส

นาริตะเอ็กซเพรส (ญี่ปุ่น: 成田エクスプレスโรมาจิNarita Ekusupuresu; อังกฤษ: Narita Express) หรือที่เรียกโดยย่อว่า NEX เป็นขบวนรถไฟด่วนพิเศษ ที่ให้บริการมาตั้งแต่ พ.ศ. 2534 โดย บริษัทรถไฟญี่ปุ่นตะวันออก (JR ตะวันออก) เชื่อมต่อระหว่างจุดหมายภายในเขตเมืองโตเกียว ไปยังท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ มีคู่แข่งสำคัญคือขบวนสกายไลเนอร์ของรถไฟฟ้าเคเซ

นาริตะเอ็กซเพรส
นาริตะเอ็กซเพรส รุ่น อี 259 เมื่อพฤษภาคม 2021
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทรถไฟเชื่อมท่าอากาศยาน (ด่วนพิเศษ)
ที่ตั้งคันโต ประเทศญี่ปุ่น
ให้บริการครั้งแรก19 มีนาคม 1991
ผู้ให้บริการJR ตะวันออก
เว็บไซต์www.jreast.co.jp/e/nex/
เส้นทาง
ปลายทางท่าอากาศยานนาริตะ อาคารผู้โดยสาร 1
ชินจูกุ, โอฟูนะ, ฮาจิโอจิ
ในเส้นทางสายโยโกซูกะ, สายหลักชูโอ, สายโซบุ, สายนาริตะ
บริการบนขบวน
ชั้นธรรมดา + สีเขียว
ที่นั่งหันหน้า 2+2
บริการอาหารบริการรถเข็น
บริการสัมภาระพื้นที่เก็บสัมภาระแบบล็อกได้
ข้อมูลทางเทคนิค
ขบวนรถรถจักรไฟฟ้ารุ่น อี 259
รางกว้าง1,067 mm (3 ft 6 in)
ระบบจ่ายไฟ1,500 V DC เหนือหัว
ความเร็ว130 km/h (81 mph)[1]

รถไฟและจุดหมายปลายทาง แก้

รถไฟนาริตะเอ็กซเพรส ให้บริการจากหลายสถานีในโตเกียวและปริมณฑล ตัวรถไฟเป็นรถไฟฟ้าขบวน 6 ตู้รุ่น อี 259[2] ทุกขบวนจะวิ่งผ่านสถานีโตเกียว ซึ่งเป็นสถานีที่ขบวนรถจะเชื่อมต่อกันหรือแยกจากกัน ปกติแล้วขบวนที่มาจากโอฟูนะหรือโยโกฮามะจะเชื่อมต่อกับขบวนที่มาจากชินจูกุ อิเกบูกูโระ หรือโอมิยะ กลายเป็นขบวนเดียวกันวิ่งต่อไปจนถึงท่าอากาศยานนาริตะ (ผ่านทางสายหลักโซบุและสายนาริตะ) ปกติแล้ว นาริตะเอ็กซเพรสจะไม่จอดระหว่างสถานีโตเกียวจนถึงสถานีรถไฟท่าอากาศยานนาริตะ อาคารผู้โดยสาร 2·3 แต่ในชั่วโมงเร่งด่วนตอนเช้าและตอนค่ำ นาริตะเอ็กซเพรส จะให้บริการเป็นขบวนรถด่วนชานเมืองโดยจอดที่ ชิบะ ยตสึไกโด และนาริตะ เวลาที่ใช้เดินทางระหว่างโตเกียวถึงท่าอากาศยานนาริตะเฉลี่ยแล้วอยู่ที่ 55 นาทีถึงหนึ่งชั่วโมง

ประวัติ แก้

ก่อน พ.ศ. 2534 รถไฟที่วิ่งสู่ท่าอากาศยานนาริตะมีเพียงรถไฟ สกายไลเนอร์ ของบริษัทเคเซเท่านั้น ซึ่งในขณะนั้นใช้สถานีที่แยกออกจากส่วนอาคารท่าอากาศยาน แรกเริ่มนั้น JR ได้วางแผนให้บริการรถไฟความเร็วสูงนาริตะชิงกันเซ็ง วิ่งไปยังสถานีใต้อาคารหลักของท่าอากาศยาน แต่แผนนี้ถูกล้มเลิกไปในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1980 และพื้นที่ที่วางแผนว่าจะใช้เป็นสถานีใต้ดินและรางรถไฟชิงกันเซ็งก็ได้ใช้เป็นจุดเชื่อมต่อของ เจอาร์สายนาริตะ และ สายหลักเคเซ เข้าสู่อาคาร จนกระทั่งวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2534 นาริตะเอ็กซเพรส ได้เริ่มเปิดให้บริการวิ่งสู่สถานีใหม่ และ สกายไลเนอร์ ก็ได้เปลี่ยนไปจอดที่สถานีใหม่นี้ในเวลาเดียวกัน

ค่าโดยสารไปยังสถานีหลัก แก้

 
นาริตะเอ็กซเพรส รุ่น 253 ซึ่งใช้งานจนถึงมิถุนายน 2553
 
รถไฟรุ่น อี 259 สองขบวนกำลังจะแยกจากกันที่ สถานีรถไฟโตเกียว

ชั้นปกติ แก้

จาก ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ / ท่าอากาศยานนานาชาตินาริตะ อาคาร 2 ถึง/จาก:

จุดหมาย ค่าโดยสาร ส่วนที่จ่ายเพิ่ม
ชิบะ 650 เยน 1,240 เยน
โตเกียว 1,280 เยน 1,660 เยน
ชินจูกุ / อิเกบูกูโระ / ชิบูยะ 1,450 เยน
โอมิยะ 1,450 เยน 2,290 เยน
โยโกฮามะ 1,890 เยน
โอฟูนะ / ทตสึกะ / ฮาจิโอจิ / ทากาโอะ 2,210 เยน

ค่าโดยสารที่ต้องจ่ายในชั้นปกติ ประกอบด้วยค่าโดยสาร บวกด้วยส่วนที่จ่ายเพิ่ม โดยที่ค่าโดยสารคืออัตราค่าโดยสารไปยังจุดหมายปลายทางหากเดินทางโดยรถไฟธรรมดา ในขณะที่ส่วนที่จ่ายเพิ่มเป็นค่าโดยสารเพิ่มเติมเพื่อได้สิทธิ์โดยสารบนรถไฟนาริตะเอ็กซเพรส

กรีนคาร์ สำหรับชั้นหนึ่ง แก้

  • ที่นั่งชั้นหนึ่ง สามารถจองได้ในราคา 1,490 เยน เพิ่มเติมจากค่าโดยสารชั้นปกติโดยไม่จำกัดระยะทาง
  • ก่อนมิถุนายน 2553 ซึ่งใช้ขบวนรถจักรรุ่น 253 มีห้องผู้โดยสารจุ 4 คน สามารถจองได้ในราคา 6,000 เยน เพิ่มจากค่าโดยสารปกติโดยไม่ขึ้นกับจุดหมายปลายทาง ในขบวนรถจักรรุ่นใหม่ อี 259 ไม่มีห้องโดยสารพิเศษนี้

ส่วนลดค่าโดยสารสำหรับชาวต่างชาติ แก้

ผู้โดยสารที่ถือหนังสือเดินทางที่ไม่ใช่ประเทศญี่ปุ่นสามารถซื้อชุดตั๋วรวม นาริตะเอ็กซเพรสและบัตร ซูอิกะ ในราคา 3,500 เยน สำหรับชั้นปกติ หรือ 5,000 เยน สำหรับชั้นหนึ่ง โดยในชุดมี 1,500 เยน เป็นค่าโดยสารสำหรับนาริตะเอ็กซเพรส ไปยังโตเกียวและปริมณฑลโดยหักส่วนลดเป็นจำนวนเงิน 3,000 เยน สำหรับชั้นหนึ่งแล้ว อีก 1,500 เยน จะอยู่ในบัตร ซูอิกะ และอีก 500 เยน เป็นค่ามัดจำบัตรที่สามารถรับคืนได้เมื่อคืนบัตร ซูอิกะ สำหรับบัตร ซูอิกะ เป็นบัตรเติมเงินใช้เป็นค่าโดยสารรถไฟและรถประจำทางทุกสายในโตเกียว รวมทั้งใช้ชำระค่าใช้จ่ายในสถานประกอบการที่รับบัตรนี้[3]

ส่วนลดจะใช้ได้เฉพาะการเดินทางออกจากท่าอากาศยานนาริตะเท่านั้น ในการเดินทางเข้าท่าอากาศยานด้วยนาริตะเอ็กซเพรส จะต้องเสียค่าโดยสารในอัตราปกติ

อ้างอิง แก้

  1. JR新幹線&特急列車ファイル [JR Shinkansen & Limited Express Train File]. Japan: Kōtsū Shimbun. 2008. p. 64. ISBN 978-4-330-00608-6.
  2. JR Timetable, October 2009
  3. "JR-EAST: Suica & N'EX". East Japan Railway Company. 2009. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-18. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม 2552. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help); ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |month= ถูกละเว้น (help)

แหล่งข้อมูลอื่น แก้