สมเด็จพระศรีไชยเชฐ (นักองค์อิ่ม)

(เปลี่ยนทางจาก นักองค์อิ่ม)

องค์อิ่ม (เขมร: អង្គឥម; ค.ศ. 1794 - 1843) เป็นเจ้าชายกัมพูชา พระองค์เป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 4 ของสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ หรือ องค์เอง ซึ่งเป็นกษัตริย์องค์ที่ 106 ของกัมพูชา[n 1] และเป็นเจ้าเมืองพระตะบอง ลำดับที่ 5

สมเด็จพระศรีไชยเชฐ (นักองค์อิ่ม)
พระมหาอุปราชแห่งกัมพูชา
ดำรงพระยศ1810-1839
รัชสมัยสมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี
พระมหาอุปโยราชนักองค์สงวน
เจ้าเมือง พระตะบอง
ดำรงตำแหน่ง1835-1839
ก่อนหน้าพระยาอภัยภูเบศร (เชด)
ประสูติค.ศ. 1794
กรุงเทพ สยาม
สิ้นพระชนม์ค.ศ. 1843
เจิวด๊ก โคชินไชนา
พระบิดาสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ

เมื่อ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จสวรรคตในปี ค.ศ. 1809 สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี หรือ องค์จันทร์ ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์โตของสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณและเป็นกษัตริย์องค์ที่ 107 ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพรัชกาลที่ 1 แต่สมเด็จพระอุไทยราชาส่งพระอนุชา 3 องค์คือ นักองค์สงวน องค์อิ่ม และ องค์ด้วง มาร่วมงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงแทน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงแต่งตั้งองค์อิ่มเป็นพระมหาอุปราชแห่งกัมพูชา[3] องค์สงวน ซึ่งเป็นพระมหาอุปโยราชแห่งกัมพูชาถูกปลดจากตำแหน่งโดยสมเด็จพระอุไทยราชาในปี ค.ศ. 1811 หลังจาก เวียดนามเข้ามาแทรกแซง องค์สงวน องค์อิ่ม และองค์ด้วงจึงหนีเข้ามาที่กรุงเทพ[4]

หลังจากการกบฏของ เล วัน โคย เกิดขึ้นใน โคชินไชนา เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ได้รุกรานกัมพูชาโดยมีเป้าหมายที่จะตั้งองค์อิ่มขึ้นครองบัลลังก์เป็นกษัตริย์แห่งกัมพูชา อย่างไรก็ตาม พวกเขาไม่ได้รับการสนับสนุนจากกัมพูชา กองทัพสยามจึงต้องถอนกำลังออกจากกัมพูชาในปี ค.ศ. 1834[5]

องค์อิ่มได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองพระตะบองในปี ค.ศ. 1834 โดยกองทัพสยามยึดครองจังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือของกัมพูชา (พระตะบอง เสียมราฐ โพธิสัตว์ และกำปงสวาย)[6] จังหวัดทางตะวันตกเฉียงเหนือปกครองโดยเจ้าชาย 2 องค์คือ องค์อิ่ม และ องค์ด้วง[7] โดยสยามหวังให้เจ้าชายทั้ง 2 ดึงความจงรักภักดีและการสนับสนุนจากขุนนางเขมร[8]เจ้าชายทั้ง 2 ถูกมองว่าเป็นบุคคลที่อันตรายที่สุดโดยราชสำนักเวียดนาม เจือง มิญ ซาง หรือ องเตียงกุน ผู้สำเร็จราชการเจิ๊นเต็ย (กัมพูชา) ของเวียดนาม พยายามเกลี้ยกล่อมองค์อิ่มและองค์ด้วงให้แปรพักตร์และยอมจำนนต่อเวียดนาม ในปี ค.ศ. 1837 องค์ด้วงถูกสงสัยว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเวียดนามจึงถูกส่งตัวไปยังกรุงเทพ[9] 2 ปีต่อมา องค์อิ่มและผู้ติดตามหลังจากเดินทางไปเวียดนามก็แอบหนีกลับไปกัมพูชา[8] เนื่องจากองค์อิ่มหลงเชื่อคำพูดของเวียดนามว่าพระองค์จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกษัตริย์กัมพูชาองค์ใหม่ อย่างไรก็ตาม องค์อิ่มและผู้ติดตามถูกเวียดนามจับกุม[10] องเตียงกุน แนะนำ จักรพรรดิมิญ หมั่ง ว่า องค์อิ่ม และผู้ติดตามควรถูกประหารชีวิต แต่จักรพรรดิมิญ หมั่ง ปฏิเสธ[1] องค์อิ่มจึงถูกนำตัวจาก ไซ่ง่อน ไปยังเมือง เว้[10]

กัมพูชาถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามในปี ค.ศ. 1840 โดยพระองค์เม็ญ ซึ่งเป็นพระราชธิดาองค์ที่ 2 ของ สมเด็จพระอุไทยราชาธิราชรามาธิบดี ถูกปลดออกจากราชบัลลังก์ ทำให้ข้าราชสำนักและผู้ติดตามหลายคนไม่พอใจจึงก่อกบฏต่อการปกครองของเวียดนาม กองทัพสยามเข้าสู่กัมพูชาเพื่อแต่งตั้งองค์ด้วงขึ้นสืบราชบัลลังก์ในฐานะกษัตริย์กัมพูชาพระองค์ที่ 108 มีพระนามว่า สมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดี องค์อิ่มได้รับการปล่อยตัวพร้อมกับพระองค์เม็ญ ในปีถัดมา องเตียงกุน พยายามแต่งตั้งองค์อิ่มขึ้นสืบราชบัลลังก์ในฐานะกษัตริย์หุ่นเชิดของเวียดนาม[11] องค์อิ่มและพระองค์เม็ญกลับมาที่กัมพูชามีพระบัญชาให้กบฏเขมรยอมจำนน แต่ไม่มีใครเชื่อฟัง[1] [11] องค์อิ่มสิ้นพระชนม์ในเจิวด๊กหรือโชฎก ในปี ค.ศ. 1843 รวมพระชนมายุ 49 พรรษา

เชิงอรรถ แก้

หมายเหตุ แก้

  1. ในบันทึกของเวียดนาม, พระองค์ถูกเรียกว่า Nặc Yêm (匿俺);[1] บันทึกไทยเรียกพระองค์ว่า นักองค์อิ่ม.[2]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 Đại Nam chính biên liệt truyện sơ tập, vol. 31
  2. เจ้าพระยาทิพากรวงศมหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค). "23. เกิดเหตุเรื่องเมืองเขมรตอน ๒". พระราชพงษาวดาร กรุงรัตนโกสินทร รัชกาลที่ ๒.
  3. Rungswasdisab 1995, pp. 69.
  4. Rungswasdisab 1995, pp. 70.
  5. Chandler 2008, pp. 148–149.
  6. Rungswasdisab 1995, pp. 178.
  7. Chandler 2008, pp. 155.
  8. 8.0 8.1 Rungswasdisab 1995, pp. 71.
  9. Chandler 2008, pp. 154.
  10. 10.0 10.1 Chandler 2008, pp. 155–156.
  11. 11.0 11.1 Chandler 2008, pp. 162.

บรรณานุกรม แก้

  • Phoeun Mak. « L'introduction de la Chronique royale du Cambodge du lettré Nong ». Dans : Bulletin de l'École française d'Extrême-Orient. Tome 67, 1980. p. 135-145.
  • Achille Dauphin-Meunier, Histoire du Cambodge, Que sais-je ? N° 916, P.U.F 1968.
  • Anthony Stokvis, Manuel d'histoire, de généalogie et de chronologie de tous les États du globe, depuis les temps les plus reculés jusqu'à nos jours, préf. H. F. Wijnman, éditions Brill, Leyde 1888, réédition 1966, Tome 1 part1: Asie, chapitre XIV §.9 « Kambodge » Listes et tableau généalogique n°34 p. 337-338.
  • Peter Truhart, Regents of Nations, K.G Saur Münich, 1984-1988 ISBN 359810491X, Art. « Kampuchea », p. 1732.