พระยาอภัยภูเบศร (เชด)

พระยาอภัยภูเบศร (เชด) เป็นผู้ว่าราชการเมืองพระตะบอง คนที่ 4 ระหว่าง พ.ศ. 2370–2377

พระยาอภัยภูเบศร (เชด)
ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง
ดำรงตำแหน่ง
พ.ศ. 2370–2377
กษัตริย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ก่อนหน้าพระยาอภัยภูเบศร (รศ)
ถัดไปนักองค์อิ่ม
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด
เชด
เสียชีวิตพ.ศ. 2377
บุตร4

เดิมดำรงตำแหน่ง พระอุดมภักดี (เชด)[1] จนในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดแต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2370 ในสงครามระหว่างไทยและญวนครั้งที่ 1 พ.ศ. 2376–2377 เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ยกทัพเข้าโจมตีเขมรผ่านทางเมืองพระตะบอง ซึ่งเป็นที่ประชุมพลใหญ่ เพราะไทยมีไพร่พลถึง 40,000 นาย จะยกตีเขมรและญวน[2]

พระยาอภัยภูเบศร (เชด) เจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 4 รับภาระหน้าที่เกณฑ์ไพร่พล เสบียง อาหาร ไปเลี้ยงกองทัพ ยังรับคำสั่งจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ให้บัญชาการกองทัพนำกำลังไพร่พลเมืองพระตะบองทำการรบยึดพนมเปญ แล้วคุมกำลังอยู่รักษาเมืองพนมเปญกับนักองค์อิ่มและนักองค์ด้วง ขณะที่เจ้าพระยาบดินทรเดชาคุมกองทัพไปรบกับญวนที่ไซ่ง่อน เมื่อไทยพ่ายแพ้ญวนแล้วถูกเขมรตีซ้ำ พระยาอภัยภูเบศร (เชด) ได้รับคำรับสั่งจากเจ้าพระยาบดินทรเดชา ให้ทำการรื้อกำแพงพนมเปญเสีย เพื่อให้พนมเปญทรุดโทรมและอ่อนแอลง พระยาอภัยภูเบศร (เชด) ตรากตรำในสงครามครั้งนี้มาก จึงล้มป่วย ถึงอสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2377[3]

บุตรธิดา แก้

  • พระภักดีบริรักษ์
  • พระพิทักษ์บดินทร์ (โสม)
  • อำแดงแก้ว ภรรยาพระยาพิทักษ์บดินทร
  • อำแดงกอง ภรรยาพระเสนาธิบดีเมืองพระตะบอง

อ้างอิง แก้

  1. ไกรฤกษ์ นานา. "สยามรัฐท่ามกลางจักวรรดินิยม". p. 62.
  2. ระยับศรี กาญจนะวงศ์. "บทบาทของเจ้าเมืองพระตะบองในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์พ.ศ. 2337-2449" (PDF). มหาวิทยาลัยศิลปากร. p. 114–115.
  3. "ประชุมพงศาวดาร, เล่มที่ 12". p. 143.