พระยาอภัยภูเบศร (รศ)
พระยาอภัยภูเบศร (รศ) นามเดิมว่ารศ เป็นบุตรชายคนโตของเจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) บิดาได้ส่งตัวเข้ามาเป็นมหาดเล็กในกรุงเทพฯ ต่อมาเมื่อพระยาวิบูลราช (แบน) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาอภัยภูเบศร (แบน) เป็นเจ้าเมืองพระตะบองคนที่ 2 หลังจากที่เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (แบน) ถึงแก่กรรม มหาดเล็กรศได้เป็นผู้ช่วยราชการในพระตะบอง จนได้เป็นเจ้าเมืองพระตะบองเมื่อ พ.ศ. 2357
พระยาอภัยภูเบศร (รศ) | |
---|---|
ผู้สำเร็จราชการเมืองพระตะบอง | |
ดำรงตำแหน่ง พ.ศ. 2357–2370 | |
กษัตริย์ | พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว |
ก่อนหน้า | พระยาอภัยภูเบศร (แบน) |
ถัดไป | พระยาอภัยภูเบศร (เชด) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | รศ |
เสียชีวิต | พ.ศ. 2370 |
บุตร | 10 คน |
เมื่อพระยาอภัยภูเบศร (รศ) ขึ้นเป็นเจ้าเมือง เวียดนามพยายามเข้ามายึดครองพระตะบองไปเป็นของกัมพูชา แต่ได้ขอกำลังทหารจากนครราชสีมามาขับไล่ทหารเวียดนามออกไปได้ ต่อมา ใน พ.ศ. 2370 พระยาอุดมภักดี (เชด) และกรมการเมืองกล่าวโทษพระยาอภัยภูเบศร (รศ) มายังกรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงให้พระยาอภัยภูเบศร (รศ) เข้ามารับราชการในกรุงเทพฯ ตั้งให้เป็นพระยาพิพิธภักดี (รศ) และให้พระยาอุดมภักดี (เชด) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน
ต่อมา พระยาพิพิธภักดี (รศ) ได้เลื่อนขึ้นเป็นพระยาวิเศษสุนทร และได้มาเป็นปลัดเมืองเมื่อนักองค์อิ่มได้เป็นเจ้าเมืองพระตะบอง ต่อมาเมื่อนักองค์อิ่มหลงเชื่อเวียดนามว่าจะตั้งให้ครองราชสมบัติในเวียดนามและเสด็จไปกรุงเว้ ได้บังคับปลัดรศไปเวียดนามด้วยกันด้วย และถูกกักขังในกรุงเว้พร้อมนักองค์อิ่ม จนนักองค์อิ่มสิ้นพระชนม์ที่เว้ ส่วนปลัดรศได้กลับมาพระตะบองหลังจากสงครามสิ้นสุด และได้สร้างวัดไว้แห่งหนึ่งเรียกว่าวัดปลัด
บุตรธิดา
แก้มีบุตรธิดา 10 คน[1] คือ
- พระพิทักษ์สรไกร เมืองนครราชสีมา
- นายแก้ว
- นายเมียก
- นายฉิม
- นายเพ็ชร
- เอม ภรรยาพระยานุภาพไตรภพ เมืองนครเสียมราฐ
- กอง ภรรยาเจ้าเมืองนครราชสีมา
- แป้น ภรรยาพระยาราชสุภาวดี
- ทับ ภรรยาพระยายมราช เมืองอุดงมีไชย
- อำแดงแย้ม
อ้างอิง
แก้- วีระศักดิ์ จันทร์ส่งแสง. เจ้าพระยาอภัยภูเบศร (ชุ่ม) เจ้าเมืองพระตะบองคนสุดท้ายใต้ปกครองสยาม. กรุงเทพฯ: ยิปซี กรุ๊ป. 2557 หน้า 44 - 49
- ↑ "ประชุมพงศาวดาร, เล่มที่ 12". p. 146–147.