นครกาซา

นครของรัฐปาเลสไตน์

กาซา (/ˈɡɑːzə/;[4] อาหรับ: غَزَّة Ġazzah, สัทอักษรสากล: [ɣaz.zah]) หรือที่เรียกกันว่า นครกาซา (อังกฤษ: Gaza City) เป็นนครของรัฐปาเลสไตน์ที่ตั้งอยู่ในฉนวนกาซา มีประชากร 590,481 คน (ใน ค.ศ. 2017) ทำให้เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐปาเลสไตน์ กาซามีผู้คนอาศัยอยู่มาตั้งแต่อย่างน้อยศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช[5] และถูกยึดครองโดยชนชาติและจักรวรรดิต่าง ๆ มากมายตลอดช่วงเวลาในประวัติศาสตร์

กาซา
การถอดเสียงภาษาอาหรับ
 • อาหรับغَزَّة
 • ละตินGhazzah (ทางการ)
Gaza City (ไม่เป็นทางการ)
ทิวทัศน์นครกาซา ธันวาคม ค.ศ. 2007
ทิวทัศน์นครกาซา ธันวาคม ค.ศ. 2007
กาซาตั้งอยู่ในดินแดนปาเลสไตน์
กาซา
กาซา
ที่ตั้งของกาซาภายในรัฐปาเลสไตน์
พิกัด: 31°31′N 34°27′E / 31.517°N 34.450°E / 31.517; 34.450
รัฐ ปาเลสไตน์
เขตผู้ว่าการกาซา
ก่อตั้งศตวรรษที่ 15 ก่อนคริสต์ศักราช
การปกครอง
 • ประเภทนคร (ตั้งแต่ ค.ศ. 1994[1])
 • นายกเทศมนตรีNizar Hijazi
พื้นที่[2]
 • ทั้งหมด45,000 ดูนัม (45 ตร.กม. หรือ 17 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (สำมะโน ค.ศ. 2017)[3]
 • ทั้งหมด590,481 คน
 • ความหนาแน่น13,000 คน/ตร.กม. (34,000 คน/ตร.ไมล์)
เว็บไซต์Gaza-City.org

กาซาตกเป็นของกองทัพอังกฤษในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ทำให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของปาเลสไตน์ในอาณัติ ด้วยผลจากสงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948 ทำให้มีการกำหนดเขตแดนที่เรียกว่าฉนวนกาซาขึ้น โดยมีอียิปต์เป็นผู้ปกครอง จนกระทั่งถูกอิสราเอลยึดครองในสงครามหกวันใน ค.ศ. 1967 แต่ใน ค.ศ. 1993 ก็ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้การปกครองขององค์การบริหารแห่งชาติปาเลสไตน์ ในช่วงหลายเดือนหลังการเลือกตั้งเมื่อ ค.ศ. 2006 ได้เกิดความขัดแย้งที่มีการใช้อาวุธขึ้นระหว่างสองกลุ่มการเมืองของปาเลสไตน์ ได้แก่ ฟะตะห์ กับฮะมาส ผลก็คือกลุ่มฮะมาสสามารถเข้ายึดอำนาจในฉนวนกาซา ส่งผลให้อียิปต์และอิสราเอลทำการปิดล้อมฉนวนกาซา[6] อิสราเอลได้ผ่อนคลายการปิดล้อมโดยการอนุญาตให้มีการขนส่งสินค้าอุปโภคบริโภคในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2010 และอียิปต์ได้เปิดจุดผ่านแดนระฟะห์อีกครั้งใน ค.ศ. 2011 สำหรับคนเดินเท้า[6][7]

กิจกรรมทางเศรษฐกิจหลักของนครกาซาคืออุตสาหกรรมขนาดเล็กและเกษตรกรรม อย่างไรก็ตาม การปิดล้อมและความขัดแย้งที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ ทำให้ตกอยู่ภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรง[8] ประชากรส่วนใหญ่ในนครกาซาเป็นมุสลิม และมีส่วนน้อยที่นับถือศาสนาคริสต์ นครกาซามีประชากรอายุน้อยจำนวนมาก โดยประมาณร้อยละ 75 มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ปัจจุบันนครกาซาบริหารโดยสภาเทศบาล 14 คน

อ้างอิง แก้

  1. Palestine Facts Timeline เก็บถาวร กรกฎาคม 29, 2013 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน Palestinian Academic Society for the Study of International Affairs (PASSIA).
  2. "Gaza City". Gaza Municipality. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ June 20, 2008. สืบค้นเมื่อ 2009-02-16.
  3. "Main Indicators by Type of Locality - Population, Housing and Establishments Census 2017" (PDF). Palestinian Central Bureau of Statistics (PCBS). สืบค้นเมื่อ 2021-01-19.
  4. The New Oxford Dictionary of English (1998), ISBN 0-19-861263-X, p. 761 "Gaza Strip /'gɑːzə/ a strip of territory in Palestine, on the SE Mediterranean coast including the town of Gaza...".
  5. "Gaza (Gaza Strip)". International Dictionary of Historic Places. Vol. 4. Fitzroy Dearborn Publishers. 1996. pp. 87–290.
  6. 6.0 6.1 Gaza Benefiting From Israel Easing Economic Blockade
  7. Gaza Border Opening Brings Little Relief
  8. "The Gaza Strip: A Humanitarian Implosion" (PDF). Oxfam. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2013-12-24. สืบค้นเมื่อ 2009-01-19.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้