ธนาคารประชาชนจีน
ธนาคารประชาชนจีน (จีน: 中国人民银行 จงกั๋วเหรินหมินหยินหาง) เป็นธนาคารกลางของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีอำนาจในการดูแลนโยบายการเงินและกำกับสถาบันการเงินในจีนแผ่นดินใหญ่ ในปี ค.ศ. 2017 ธนาคารประชาชนจีนถือเป็นธนาคารกลางที่ถือครองทรัพย์สินมากที่สุดในโลก[1]
中国人民银行 | |
ที่ทำการในกรุงปักกิ่ง | |
ภาพรวมหน่วยงาน | |
---|---|
ก่อตั้ง | 1 ธันวาคม ค.ศ. 1948 |
เขตอำนาจ | จีนแผ่นดินใหญ่ |
สำนักงานใหญ่ | ปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ |
เว็บไซต์ | www.pbc.gov.cn |
ธนาคารประชาชนจีน | |||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวย่อ | 中国人民银行 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 中國人民銀行 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ธนาคารประชาชนจีน | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ | |||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 人民银行 | ||||||
อักษรจีนตัวเต็ม | 人民銀行 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | ธนาคารประชาชน | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาจีนอื่น ๆ (2) | |||||||
ภาษาจีน | 人行 | ||||||
ความหมายตามตัวอักษร | People's Bank | ||||||
| |||||||
ชื่อภาษาจ้วง | |||||||
ภาษาจ้วง | Cunghgoz Yinzminz Yinzhangz |
ธนาคารแห่งนี้ก่อตั้งเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1948 ในสมัยนายกรัฐมนตรีโจว เอินไหล จากการรวมกันระหว่างสามธนาคารคือ ธนาคารเหอเป่ย์, ธนาคารเปย์ไห่ ธนาคารกสิกรซีเป่ย์ เมื่อแรกก่อตั้งมีที่ทำการตั้งอยู่ที่เมืองฉือเจียจวงในมณฑลเหอเป่ย์ และได้ย้ายที่ทำการไปยังกรุงปักกิ่งในค.ศ. 1949 โดยทำหน้าที่เป็นทั้งธนาคารพาณิชย์และธนาคารกลางควบคู่กันไปจนกระทั่งมีการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ในค.ศ. 1978 จึงมีการแยกธนาคารพาณิชย์ออกจากธนาคารกลาง และจัดตั้งเป็นธนาคารพาณิชย์ของรัฐสี่แห่ง[2]
ผู้ว่าการธนาคารประชาชนจีนจะถูกแต่งตั้งโดยการเสนอชื่อของนายกรัฐมนตรีจีนโดยผ่านความเห็นชอบจากสมัชชาประชาชนแห่งชาติ หากอยู่ในช่วงนอกสมัยการประชุม คณะกรรมการประจำสมัชชาฯจะทำหน้าที่เห็นชอบแทน การปลดผู้ว่าการธนาคารออกจากตำแหน่งก็ใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน เมื่อได้ผู้ว่าการธนาคารแล้ว ผู้ว่าการธนาคารจะเป็นผู้เสนอชื่อรองผู้ว่าการให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง
อ้างอิง
แก้- ↑ [1]
- ↑ "History of Bank of China", boc.cn, Retrieved 2015-11-23.