ท่าอากาศยานสกลนคร

ท่าอากาศยานสกลนคร สนามบินสกลนคร หรือ สนามบินบ้านค่าย[1] (อังกฤษ: Sakon Nakhon Airport) (IATA: SNOICAO: VTUI) ตั้งอยู่ที่ อำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] โดยมีอาคารผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่รวม 5,455 ตารางเมตร สามารถรองรับอากาศยานขนาด แอร์บัส เอ320 หรือ โบอิง 737

ท่าอากาศยานสกลนคร
อาคารผู้โดยสารฝั่งลานจอดรถยนต์
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานสาธารณะ
เจ้าของกองทัพบกไทย / กรมท่าอากาศยาน
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
พื้นที่บริการจังหวัดสกลนคร
สถานที่ตั้งอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร
วันที่เปิดใช้งานพ.ศ. 2528
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล161 เมตร / 529 ฟุต
พิกัด17°11′42.5″N 104°07′07.1″E / 17.195139°N 104.118639°E / 17.195139; 104.118639
เว็บไซต์minisite.airports.go.th/sakonnakhon
แผนที่
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
SNO
ตำแหน่งของท่าอากาศยานในประเทศไทย
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
ภาพแผนที่ประเทศไทย ซึ่งบอกสถานที่ของท่าอากาศยาน
SNO
SNO (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
05/23 2,600 8,530 ยางมะตอย
สถิติ (2563)
ผู้โดยสาร257,684
เที่ยวบิน2,530
แหล่งข้อมูล: http://www.airports.go.th

ประวัติ แก้

เดิมท่าอากาศยานสกลนคร (บ้านค่าย) เป็นท่าอากาศยานของกองทัพบก เปิดใช้งานเมื่อ พ.ศ. 2515 มีภารกิจหลักเพื่อรับเสด็จเครื่องบินพระที่นั่งและภารกิจทางทหาร จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2528 นายพีระ บุญจริง ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครในขณะนั้น ได้ประสานกรมการบินพาณิชย์(กรมท่าอากาศยานในปัจจุบัน) และบริษัทเดินอากาศไทย จำกัด ให้เปิดบริการด้านการบินพาณิชย์ โดยได้สร้างอาคารผู้โดยสาร 1 หลัง ภายในค่ายกฤษณ์สีวะรา และให้บริการจนถึงปี พ.ศ. 2537

ต่อมามีผู้ใช้บริการเพิ่มมากขึ้น ทำให้อาคารผู้โดยสารหลังเดิมเกิดความคับแคบ และไม่สามารถต่อเติมอาคารออกไปได้อีก ประกอบกับการเข้า-ออกต้องผ่านทางค่ายกฤษณ์สีวะรา ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยของทางทหาร กรมการบินพาณิชย์เห็นว่าบริเวณที่ว่างทางทิศตะวันตกของทางวิ่ง ซึ่งอยู่เยื้องกับอาคารผู้โดยสารหลังเดิมปัจจุบัน มีความเหมาะสมที่จะใช้ก่อสร้างอาคารอากาศยานหลังใหม่พร้อมเครื่องอำนวยความสะดวกต่างๆ จึงได้ประสานกับกองทัพบกขอใช้ที่ดิน 158 ไร่เพื่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ และแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2539[3]

อาคารสถานที่ แก้

 
อาคารผู้โดยสาร ฝั่งลานจอดเครื่องบิน
 
ภายในอาคารผู้โดยสาร ท่าอากาศยานสกลนคร

อาคารผู้โดยสาร แก้

อาคารผู้โดยสารเป็นอาคาร 2 ชั้น มีขนาดพื้นที่รวม 5,455 ตารางเมตร สามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุด 620 คน/ชั่วโมง โดยมีโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ก่ออิฐ ฉาบปูน ทาสี เป็นส่วนใหญ่[4] โดยแต่ละชั้นมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

  • ชั้น 1 มีพื้นที่ห้องขาเข้า 375 ตารางเมตร พื้นที่ห้องขาออก 375 ตารางเมตร โดยมีการตกแต่งสถาปัตยกรรม พร้อมระบบโทรทัศน์ ระบบปรับอากาศ และระบบสายพานลำเลียงสัมภาระ
  • ชั้น 2 ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระแก้วมรกตจำลอง ที่ตั้งที่ทำการท่าอากาศยาน ห้องประชุม และที่ทำการสายการบิน โดยมีการตกแต่งทางสถาปัตยกรรม แสดงเอกลักษณ์ ท้องถิ่นศาลาทรงไทยอีสาน

ลานจอดอากาศยานมีขนาดความกว้าง 85 เมตร และมีความยาว 220 เมตร สามารถรองรับอากาศยานขนาด แอร์บัส เอ320 หรือ โบอิง 737 ได้สูงสุด 4 ลำ

ทางวิ่ง (รันเวย์) และทางขับ (แท็กซี่เวย์) แก้

ท่าอากาศยานสกลนครมีทางวิ่ง 1 เส้น กว้าง 45 เมตร พร้อมไหล่ทางวิ่งข้างละ 7.5 เมตร และมีความยาว 2,600 เมตร สามารถรองรับอากาศยานสูงสุดได้คือ โบอิง 737-400 และ แอร์บัส เอ320-200 พร้อมพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง (blastpads) ขนาดกว้างข้างละ 60 เมตร และความยาวข้างละ 150 เมตร[4]

มีทางขับจำนวน 1 เส้น ขนาดความกว้าง 23 เมตร และความยาวเส้นละ 157 เมตร[4] และกำลังก่อสร้างทางขับเพิ่มอีก 1 เส้น ขนาดความกว้าง 23 เมตรเช่นกัน

รายชื่อสายการบิน แก้

รายชื่อสายการบินที่ให้บริการ แก้

 
เครื่องบินนกแอร์กำลังเลี้ยวเข้าลานจอดเครื่องบินที่ท่าอากาศยานสกลนคร
สายการบิน จุดหมายปลายทาง[5] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

รายชื่อสายการบินที่เคยให้บริการ แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง หมายเหตุ
พีบีแอร์ กรุงเทพฯ-สุวรรณภูมิ ภายในประเทศ
นกแอร์ อู่ตะเภา ภายในประเทศ

สถิติ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศ แก้

ข้อมูลสถิติการขนส่งทางอากาศในแต่ละปีปฏิทิน[6]
ปี (พ.ศ.) ผู้โดยสาร ความเปลี่ยนแปลง จำนวนเที่ยวบิน คาร์โก้ (ตัน)
2544 43,986 734 453.13
2545 33,622   23.56% 806 135.44
2546 31,930   5.03% 790 30.66
2547 40,006   25.29% 962 39.16
2548 38,473   3.83% 1,000 38.53
2549 40,170   4.41% 1,114 33.11
2550 34,839   13.27% 868 19.42
2551 34,403   1.25% 890 14.10
2552 25,854   24.85% 748 10.10
2553 23,638   8.57% 464 0.00
2554 39,529   67.23% 994 0.00
2555 97,422   146.46% 1,290 3.78
2556 109,285   12.18% 966 9.35
2557 199,492   82.54% 1,476 29.01
2558 425,453   113.27% 3,333 108.33
2559 347,351   18.36% 2,672 278.38
2560 378,057   8.84% 2,910 270.48
2561 382,962   1.30% 2,828 84.55
2562 386,687   0.97% 2,857 39.58
2563 257,684   33.36% 2,530 21.38

การเดินทางสู่ท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานสกลนครสามารถเข้าได้ผ่านทางหลวงหมายเลข 22 โดยตั้งอยู่เข้าไป 2 กิโลเมตร ลานจอดรถยนต์หน้าอาคารผู้โดยสารสามารถจุรถได้ 150 คัน และลานจอดรถยนต์เสริมสามารถจอดรถยนต์ได้ประมาณ 40 คัน[4]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินบ้านค่าย (จังหวัดสกลนคร) ในท้องที่อำเภอกุสุมาลย์ กิ่งอำเภอโพนนาแก้ว และอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๓๗
  2. รายชื่อท่าอากาศยานของกรมท่าอากาศยาน
  3. ประวัติความเป็นมาของสนามบินสกลนคร
  4. 4.0 4.1 4.2 4.3 ข้อมูลทางกายภาพท่าอากาศยานสกลนคร
  5. ตารางเที่ยวบิน ท่าอากาศยานสกลนคร
  6. "ข้อมูลสถิติท่าอากาศยานสังกัดกรมท่าอากาศยาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-03-10. สืบค้นเมื่อ 2020-05-09.