ท่าอากาศยานระนอง

ท่าอากาศยานระนอง หรือ สนามบินระนอง[1] (อังกฤษ: Ranong Airport) ตั้งอยู่ที่ อ.เมืองระนอง จังหวัดระนอง เป็นท่าอากาศยานในสังกัดกรมท่าอากาศยาน กระทรวงคมนาคม[2] มีลานจอดเครื่องบิน 4 ช่อง ทางวิ่งยาว 2,000 เมตร

ท่าอากาศยานระนอง
ข้อมูลสำคัญ
ผู้ดำเนินงานกรมท่าอากาศยาน
สถานที่ตั้งตำบลราชกรูด อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล17 เมตร / 57 ฟุต
พิกัด09°46′39″N 098°35′07″E / 9.77750°N 98.58528°E / 9.77750; 98.58528พิกัดภูมิศาสตร์: 09°46′39″N 098°35′07″E / 9.77750°N 98.58528°E / 9.77750; 98.58528
แผนที่
UNNตั้งอยู่ในจังหวัดระนอง
UNN
UNN
ตำแหน่งของสนามบินในประเทศไทย
UNNตั้งอยู่ในประเทศไทย
UNN
UNN
UNN (ประเทศไทย)
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
02/20 2,000 6,562 คอนกรีต
สถิติ (2561)
ผู้โดยสาร214,250
เที่ยวบิน2,532
แหล่งข้อมูล: www.aviation.go.th

ปัจจุบันอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานระนอง มีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง และมีโครงการซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการออกแบบ อาคารผู้โดยสารหลังใหม่ มีพื้นที่ 20,000 ตารางเมตร รองรับผู้โดยสารได้ 1,000 คนต่อชั่วโมง และเมื่ออาคารผู้โดยสารหลังใหม่สร้างเสร็จ อาคารหลังปัจจุบันจะถูกปรับเปลี่ยนเป็น อาคารประทับ และสำนักงานท่าอากาศยาน

ท่าอากาศยานระนอง รองรับเที่ยวบินจากกรุงเทพมหานคร (ดอนเมือง) ปัจจุบันมีให้บริการ 2 สายการบิน คือสายการบินนกแอร์ และไทยแอร์เอเชีย

ข้อมูลท่าอากาศยาน แก้

ท่าอากาศยานระนอง มีอาคารผู้โดยสารขนาดพื้นที่ใช้สอยรวม 4,000 ตารางเมตร รองรับจำนวนผู้โดยสารได้ 300 คนต่อชั่วโมง และมีลานจอดรถยนต์รองรับได้ 250 คัน ท่าอากาศยานสามารถรองรับผู้โดยสารได้ 2,400 คนต่อวัน

ท่าอากาศยานระนอง มีทางวิ่งขนาดกว้าง 45 เมตร ยาว 2,100 เมตร ลานจอดเครื่องบินขนาดกว้าง 120 เมตร ยาว 180 เมตร รองรับเครื่องบินได้ 24 เที่ยวบินต่อวัน [3]

รายชื่อสายการบิน แก้

สายการบิน จุดหมายปลายทาง[4] หมายเหตุ
นกแอร์ กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ
ไทยแอร์เอเชีย กรุงเทพฯ-ดอนเมือง ภายในประเทศ

แผนพัฒนา แก้

สำหรับโครงการก่อสร้างขยายท่าอากาศยานระนอง วงเงินลงทุน 3,530 ล้านบาท จะดำเนินการระหว่างปี 2566-2571 แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 เฟส สำหรับเฟสที่ 1 ปี 2566-2568 วงเงินลงทุน 2,280 ล้านบาท ประกอบด้วยโครงการขยายอาคารที่พักผู้โดยสาร วงเงินลงทุน 1,230 ล้านบาท เพิ่มการรองรับผู้โดยสารให้ได้ 2.8 ล้านคน จากปัจจุบันรองรับได้ 8 แสนคน ,โครงการขยายทาววิ่งรันเวย์ ขนาด 45 x2,000 เมตร เป็น 45 x2,400 เมตร วงเงินลงทุน 750 ล้านบาท เพื่อรองรับอากาศยานขนาด 230 ที่นั่งบินตรงจากเอเชีย

โครงการขยายทางขับขนาน เพื่อเพิ่มความสามารถในการรองรับเที่ยวบินเพิ่มขึ้นเป็น10 เที่ยว/ชั่วโมง จากเดิม 6 เที่ยว/ชั่วโมง ,โครงการขยายลานจอด ให้สามารถรองรับเครื่องบินลำตัวแคบ เช่น B737 หรือ A320 เพิ่มขึ้นเป็น10 ลำ จากเดิม 3 ลำ หรือเครื่องบินลำตัวกว้างได้พร้อมกัน 5 ลำ,โครงการ ขยายลานจอดรถจาก 250 คัน เป็น 500 คันซึ่งจะต้องมีการจัดหาที่ดินเพิ่มเติม 262ไร่ เพื่อนำมาพัฒนา วงเงิน 300 ล้านบาท

ส่วนแผนพัฒนาเฟสที่ 2 จะใช้วงเงินลงทุนอีก 1,250 ล้านบาท ดำเนินการระหว่างปี 2568-2571ได้แก่การขยายความยาวทางวิ่งจาก 2,400 เป็น 2,990 เมตร และก่อสร้างทางขับขนานเส้นใหม่ และก่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยปลายทางวิ่ง หัวทางวิ่ง

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง กำหนดเขตบริเวณใกล้เคียงสนามบินระนอง ในท้องที่อำเภอเมืองระนอง จังหวัดระนอง และอำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร เป็นเขตปลอดภัยในการเดินอากาศ พ.ศ. ๒๕๔๖
  2. "รายชื่อท่าอากาศยานของกรมการบินพลเรือน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-02-16. สืบค้นเมื่อ 2014-07-20.
  3. ข้อมูลแสดงลักษณะกายภาพของท่าอากาศยานที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมท่าอากาศยานจากเว็บไซต์ กรมท่าอากาศยาน
  4. "Flight Tracker". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-31. สืบค้นเมื่อ 2013-10-02.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้