ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี

ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี (อินโดนีเซีย: Bandar Udara Internasional Sam Ratulangi) (IATA: MDCICAO: WAMM) หรือ ท่าอากาศยานนานาชาติมานาโด เป็นสนามบินนานาชาติในจังหวัดซูลาเวซีเหนือ ประเทศอินโดนีเซีย อยู่ห่างจากเมืองมานาโดไปประมาณ 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์) ชื่อสนามบินมาจากบุคคลสำคัญชื่อว่า ซัม ราตูลางี สนามบินแห่งนี้เป็น 1 ใน 11 ประตูสู่อินโดนีเซียที่สำคัญ ปัจจุบันเป็นฐานการบินหลักของสายการบินไลอ้อนแอร์และวิงส์แอร์ และยังเป็นฐานการบินรองของสายการบินการูดาอินโดนีเซียและซิตีลิงก์ โดยในปัจจุบัน สนามบินแห่งนี้รองรับสายการบินระหว่างประเทศอยู่ 4 สายการบิน

ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี
ข้อมูลสำคัญ
การใช้งานการทหาร / พาณิชย์
เจ้าของรัฐบาลอินโดนีเซีย
ผู้ดำเนินงานอังกาซาปูราที่ 1
พื้นที่บริการมานาโด, จังหวัดซูลาเวซีเหนือ, ประเทศอินโดนีเซีย
ความสูงเหนือระดับน้ำทะเล81 เมตร / ฟุต
เว็บไซต์www.samratulangi-airport.com
ที่ตั้งเกาะซูลาเวซีในอินโดนีเซีย
ที่ตั้งเกาะซูลาเวซีในอินโดนีเซีย
MDCตั้งอยู่ในเกาะซูลาเวซี
MDC
MDC
ที่ตั้งของท่าอากาศยานบนเกาะซูลาเวซี
ทางวิ่ง
ทิศทาง ความยาว พื้นผิว
เมตร ฟุต
18/36 2,650 8,934 ยางมะตอย
สถิติ (พ.ศ. 2554)
จำนวนผู้โดยสาร1,820,629 คน
จำนวนเที่ยวบิน16,450 เที่ยว
สินค้า11,613,976 ตัน
แหล่งที่มา[1] STV[2]

อาคารผู้โดยสาร มีสิ่งอำนวยความสะดวกที่สำคัญ อาทิ ธนาคาร, เครื่องรับจ่ายเงินอัตโนมัติ, ร้านอาหารและร้านกาแฟ (อาทิ เคเอฟซี, สตาร์บัคส์, ดังกิ้นโดนัท, อินโดมาเร็ต, เดอะคอฟฟีบีนแอนด์เทียลีฟ, เอ็กซ์เซลโซ), บาร์, ห้องรับรองผู้โดยสาร, ร้านค้าปลอดภาษี, ร้านหนังสือ, ร้านของใช้, ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว, จุดเช่ารถ, จุดจอดรถแท็กซี่, บริการความช่วยเหลือ, ห้องรับเลี้ยงเด็ก, ที่จอดรถขนาด 8,074 ตารางเมตร, บันไดเลื่อนและลิฟต์

สถิติ แก้

ท่าอากาศยานนานาชาติซัม ราตูลางี ในปี ค.ศ. 2004
 
การประทับตราหนังสือเดินทางที่สนามบินแห่งนี้
ปี ภายในประเทศ[3] ระหว่างประเทศ[3]
จำนวนผู้โดยสาร (คน) สินค้า (คัน) จำนวนเที่ยวบิน (เที่ยว) จำนวนผู้โดยสาร (คน) สินค้า (คัน) จำนวนเที่ยวบิน (เที่ยว)
ค.ศ. 2005 1,037,961 7,923,948 15,288 39,678 331,394 545
ค.ศ. 2006 1,065,691 9,150,055 14,112 44,043 403,650 599
ค.ศ. 2007 1,070,471 9,529,574 13,126 46,833 326,921 652
ค.ศ. 2008 1,110,634 9,776,389 13,393 52,483 245,688 678
ค.ศ. 2009 1,233,513 9,905,420 14,002 75,985 459,530 841

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้