ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา

ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา (อังกฤษ: Delta-beta thalassemia) เป็นทาลัสซีเมียประเภทหนึ่ง ซึ่งเป็นกลุ่มโรคเลือดที่มีความผิดปกติในการสังเคราะห์ห่วงลูกโซ่โปรตีนของเฮโมโกลบิน ซึ่งสืบทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)[1] โดยสัมพันธ์กับหน่วยย่อยของเฮโมโกลบินส่วนเดลตา[2]

ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา
(Delta-beta thalassemia)
ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตา
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก
ICD-10D56.2
ICD-9282.45
MeSHD055538

อาการ แก้

บุคคลที่มีทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาปกติจะไม่มีอาการอะไร แต่ก็อาจจะมีเม็ดเลือดแดง (microcytosis) ที่เล็กกว่าปกติ[1][3]

กลไก แก้

 
โครงสร้างของโปรตีนเฮโมโกลบินหน่วยแอลฟาและเบตาเป็นสีแดงและน้ำเงิน

โดยทางพันธุศาสตร์แล้ว ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาสืบทอดทางกรรมพันธุ์ผ่านลักษณะด้อยของออโตโซม (autosomal recessive)[1] ซึ่งหมายความว่าทั้งพ่อแม่ (คือ ยีนทั้ง 2 ก๊อปปี้) ต้องมียีนนี้[4] คนที่เป็นพาหะจะได้ยีนปกติที่สามารถผลิตเฮโมโกลบินเอมาจากพ่อหรือแม่ และได้ยีนที่ไม่สามารถผลิตเฮโมโกลบินเอจากอีกคนหนึ่ง[5] ทาลัสซีเมียประเภทนี้พิจารณาว่ามีน้อย[6]

ในด้านพยาธิสรีรภาพของโรค โปรตีนโกลบินแบบเดลตาและบีตาจะมีการหลุดหาย (deletion) ดังนั้นยีนที่ได้รับการถอดรหัส (คือ ทำก๊อปปี้อาร์เอ็นเอ[7]) จะเป็นยีนแกมมาที่อยู่บนโครโมโซมที่เสียหาย[8]

ถ้าบุคคลมีการกลายพันธุ์เป็นยีนเดลตา0ทั้งสอง ก็จะไม่สามารถผลิตเฮโมโกลบินแบบเอ2 (alpha2,delta2) ได้ แต่ว่า นี่ค่อนข้างมีผลน้อยเพราะว่าในเลือด เพียงแค่ 2-3% ของเฮโมโกลบินที่ผลิตในผู้ใหญ่เป็นเฮโมโกลบินแบบเอ2 ดังนั้น แม้บุคคลนี้ก็ยังมีกำหนดเลือดที่เป็นปกติ คือ จำนวนเม็ดเลือดแดง, เฮโมโกลบินรวม, และปริมาตรของเม็ดเลือดแดงโดยเฉลี่ย (MCV) ทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตามียีนกลายพันธุ์ตำแหน่งหนึ่งที่จุด +69[9]

ความสัมพันธ์กับทาลัสซีเมียแบบบีตา แก้

ความสำคัญในการรู้จักว่ามีทาลัสซีเมียแบบเดลตา-บีตาก็คือ เมื่อมันอาจจะพรางวินิจฉัยของทาลัสซีเมียแบบบีตา เพราะว่าปกติแล้วในทาลัสซีเมียบีตา ระดับเฮโมโกลบินเอ2 จะสูงขึ้น แต่ว่า การมีทาลัสซีเมียเดลตา-บีตาร่วมด้วยจะลดระดับของเฮโมโกลบินเอ2 จนถึงระดับปกติ และดังนั้นจะพรางการวินิจฉัยว่ามีทาลัสซีเมียแบบเบตา[10]

การวินิจฉัย แก้

การวินิจฉัยทาลัสซีเมียเดลตา-บีตาอาศัยค่าที่แสดงเม็ดเลือดแดงว่าสีจาง (hypochromic) และเม็ดเล็ก (microcytic)[1] โดยเป็นส่วนของการตรวจนับเม็ดเลือดอย่างสมบูรณ์ ซึ่งสามารถใช้วินิจฉัยเหตุผลที่บุคคลมีภาวะโลหิตจาง ซึ่งในกรณีนี้เป็นเพราะทาลัสซีเมีย[11]

การรักษา แก้

 
เม็ดเลือดแดงเพื่อใช้ในการถ่ายเลือด

ในการรักษาทาลัสซีเมียแบบนี้ เรื่องที่น่าเป็นห่วงก็คือภาวะโลหิตจาง และดังนั้น การถ่ายเลือดก็จะเป็นวิธีการรักษาอย่างหนึ่ง แต่การถ่ายเลือดก็อาจจะนำปัญหาอย่างอื่น ๆ มาได้[6] การปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเป็นทางเลือกอีกอย่างหนึ่ง แต่ว่าทั้งคนบริจาคและคนรับบริจาคไขกระดูกต้องเข้ากันได้ และโอกาสเสี่ยงอย่างอื่น ๆ ก็ต้องประเมินด้วย[6][12]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 "Delta-beta-thalassemia". Orphanet. Orphanet. สืบค้นเมื่อ 2016-09-16.
  2. "HBD - hemoglobin subunit delta". Orphanet. Orphanet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-09-18. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  3. Pal, G. K. & (2005). Textbook Of Practical Physiology - 2Nd Edn (ภาษาอังกฤษ). Orient Blackswan. p. 53. ISBN 9788125029045. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  4. "Autosomal recessive: MedlinePlus Medical Encyclopedia". medlineplus.gov. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  5. "Delta beta thalassemia carrier" (PDF). Public Health England. Public Health England. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-09-24. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  6. 6.0 6.1 6.2 "Thalassaemia | Health | Patient". Patient. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  7. "Transcription and Translation - National Human Genome Research Institute (NHGRI)". www.genome.gov. NIH. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  8. Proytcheva, edited by Maria (2010). Diagnostic pediatric hematopathology (ภาษาอังกฤษ). Cambridge: Cambridge University Press. p. 61. ISBN 9780521881609. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17. {{cite book}}: |first1= มีชื่อเรียกทั่วไป (help)
  9. "OMIM Entry - * 142000 - HEMOGLOBIN--DELTA LOCUS; HBD". www.omim.org. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  10. Galanello, Renzo; Origa, Raffaella (2010). "Beta-thalassemia". Orphanet Journal of Rare Diseases. 5 (1): 11. doi:10.1186/1750-1172-5-11. ISSN 1750-1172. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  11. "RBC indices: MedlinePlus Medical Encyclopedia". medlineplus.gov. สืบค้นเมื่อ 2016-09-17.
  12. Cao, Antonio; Galanello, Renzo (2010-02-01). "Beta-thalassemia". Genetics in Medicine (ภาษาอังกฤษ). 12 (2): 61–76. doi:10.1097/GIM.0b013e3181cd68ed. ISSN 1098-3600.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้