การคลอดก่อนกำหนด
การคลอดก่อนกำหนด (อังกฤษ: preterm birth) นั้นสำหรับมนุษย์มักหมายถึงการคลอดทารกก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์ มักมีน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อย” ถ้าคลอดก่อน 30-32 สัปดาห์ น้ำหนักเฉลี่ยน้อยกว่า 1,500 กรัม เรียกว่า “ทารกน้ำหนักน้อยมาก” สาเหตุของการคลอดก่อนกำหนดนั้นในหลายครั้งมักไม่ปรากฏสาเหตุชัดเจน ปัจจัยที่มีผลหรือสัมพันธ์กับการเกิดการคลอดก่อนกำหนดนั้นมีหลายอย่างมาก ทำให้ความพยายามในการลดการคลอดก่อนกำหนดนั้นเป็นการยากอย่างยิ่ง
การคลอดก่อนกำหนด (Preterm birth) | |
---|---|
ทารกคลอดก่อนกำหนดกำลังได้รับการดูแลพิเศษด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจและอยู่ในตู้ให้ความอบอุ่น | |
บัญชีจำแนกและลิงก์ไปภายนอก | |
ICD-10 | O60.1, P07.3 |
ICD-9 | 644, 765 |
DiseasesDB | 10589 |
MedlinePlus | 001562 |
eMedicine | ped/1889 |
MeSH | D047928 |
premature birth มักใช้ในความหมายเดียวกันกับ preterm birth หมายถึงการที่ทารกคลอดก่อนที่อวัยวะต่างๆ จะเจริญเต็มที่พอที่จะมีชีวิตรอดและเจริญเติบโตได้ ทารกที่ premature จะมีความเสี่ยงสูงทั้งในระยะสั้นและระยะยาว รวมถึงอาจมีความผิดปกติในการเจริญเติบโตและพัฒนาการทางสติปัญญาได้ด้วย ในปัจจุบันการดูแลทารก premature มีความก้าวหน้ามาก แต่ยังไม่สามารถลดความชุก (prevalence) ของการคลอดก่อนกำหนดได้ ปัจจุบันการคลอด preterm เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการมีทารก premature และเป็นสาเหตุสำคัญของอัตราตายแรกเกิด (neonatal mortality) ในประเทศที่กำลังพัฒนา
สาเหตุ
แก้ปัจจัยระหว่างการตั้งครรภ์
แก้การติดเชื้อ
แก้ความถี่ของการติดเชื้อในการคลอดก่อนกำหนดจะแปรผกผันกับอายุครรภ์ การติดเชื้อ Mycoplasma genitalium มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของการคลอดก่อนกำหนดและการแท้งเอง[1]
อ้างอิง
แก้- ↑ Lis R, Rowhani-Rahbar A, Manhart LE (August 2015). "Mycoplasma genitalium infection and female reproductive tract disease: a meta-analysis". Clinical Infectious Diseases. 61 (3): 418–26. doi:10.1093/cid/civ312. PMID 25900174.