ทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 279
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 (ญี่ปุ่น: 国道279号; โรมาจิ: Kokudō Nihyaku nana-jukyūgō) เป็นทางหลวงแผ่นดินของประเทศญี่ปุ่นที่ตัดผ่านจังหวัดอาโอโมริและจังหวัดฮกไกโด โดยมีช่องแคบสึงารุคั่นกลาง มีระยะทางรวม 134.0 กิโลเมตร (83.3 ไมล์) เริ่มต้นที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 ในนครฮาโกดาเตะ จากนั้นข้ามช่องแคบสึงารุโดยใช้เส้นทางเรือข้ามฟากจากฮาโกดาเตะไปยังเมืองโอมะ จากนั้นเส้นทางจะวิ่งลงใต้ผ่านพื้นที่ทางด้านตะวันออกของจังหวัดอาโอโมริ ผ่านนครมุตสึ ก่อนที่จะสิ้นสุดที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ในเมืองโนเฮจิ
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 | ||||
---|---|---|---|---|
ทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 279 เน้นด้วยสีแดง | ||||
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ในนครมุตสึ | ||||
ข้อมูลของเส้นทาง | ||||
ความยาว | 134.0 กิโลเมตร[1] (83.3 ไมล์) | |||
มีขึ้นเมื่อ | ค.ศ. 1970–ปัจจุบัน | |||
ทางแยกที่สำคัญ | ||||
ปลายทางทิศเหนือ | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 278 ในฮาโกดาเตะ จ.ฮกไกโด | |||
| ||||
ปลายทางทิศใต้ | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 ในโนเฮจิ จ.อาโอโมริ | |||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | |||
ระบบทางหลวง | ||||
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น ทางหลวงแผ่นดินในประเทศญี่ปุ่น
|
เส้นทางของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ที่ผ่านจังหวัดอาโอโมริเป็นแนวถนนที่เก่าแก่ที่สุดสายหนึ่งทางตอนเหนือของญี่ปุ่น เส้นทางแสวงบุญที่เรียกว่าทานาบุไคโด (田名部街道) ไปยังเขาโอโซเระ ซึ่งเป็นแอ่งยุบปากปล่องภูเขาไฟที่ในตำนานเทพนิยายของญี่ปุ่นเชื่อว่าเป็นประตูสู่ยมโลก
รายละเอียดของเส้นทาง
แก้ฮาโกดาเตะ
แก้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เริ่มต้นที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 ในใจกลางนครฮาโกดาเตะ ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟฮาโกดาเตะ เส้นทางจะวิ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านตัวเมือง จากนั้นโค้งไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ และเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังที่ซึ่งเดิมเป็นท่าเรือข้ามฟากประจำเมือง แต่ปัจจุบันย้ายไปตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของสถานีฮาโกดาเตะ เส้นทางสั้น ๆ ของทางหลวงสายนี้ในฮกไกโดมีระยะทาง 1.8 กิโลเมตร (1.1 ไมล์) สิ้นสุดที่อาคารผู้โดยสารเดิม ซึ่งต่อมาได้ถูกดัดแปลงเป็นพื้นที่ค้าปลีก[2] เส้นทางในช่วงนี้ยังมีแนวรถรางสายหลักของนครฮาโกดาเตะตั้งอยู่บนเกาะกลาง ยกเว้นในช่วง 100 เมตร (330 ฟุต) สุดท้ายใกล้กับท่าเรือข้ามฟากที่ไม่มีแนวรถราง[3]
จังหวัดอาโอโมริ
แก้เส้นทางจะมุ่งหน้าไปทางใต้โดยข้ามช่องแคบสึงารุผ่านทางเรือข้ามฟากสึงารุไคเกียว ไปขึ้นฝั่งที่เมืองโอมะที่อยู่ทางเหนือสุดของคาบสมุทรชิโมกิตะของจังหวัดอาโอโมริ โดยจากปลายทางด้านทิศเหนือของเส้นทางในฮาโกดาเตะจนถึงโอมะ จะมีทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ที่ใช้เส้นทางร่วมกันกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 อย่างไรก็ตาม ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 จะแยกออกไปทางทิศใต้ที่ทางแยกในเมืองโอมะ ในขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จะมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สู่นครมุตสึ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ในจังหวัดอาโอโมริจะรู้จักกันในชื่อ สายมุตสึฮามานาซุ ซึ่งตั้งชื่อตามฮามานาซุ หรือกุหลาบญี่ปุ่น (Rosa rugosa) ซึ่งเป็นดอกกุหลาบที่มีลักษณะคล้ายไม้พุ่มที่เติบโตบนชายหาดของญี่ปุ่น[4][5]
เมื่อใกล้ถึงตัวเมืองมุตสึ จะมีทางเลี่ยงเมืองมุตสึ ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงสายนี้ แยกออกไปทางทิศตะวันออกของทางหลวงสายหลัก และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 และ 338 จะมาบรรจบกันอีกครั้งและใช้แนวเส้นทางร่วมกันในช่วงที่ผ่านย่านใจกลางเมืองเป็นระยะทางสั้น ๆ จากนั้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 จะแยกออกจากทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ตรงจุดที่ทางเลี่ยงเมืองมุตสึกลับมาบรรจบ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 จะวิ่งต่อไปบนคาบสมุทรชิโมกิตะโดยมุ่งหน้าไปทางทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในขณะที่ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จะมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ไปยังเมืองโยโกฮามะ และสิ้นสุดที่เมืองโนเฮจิในบริเวณฐานของคาบสมุทรทางทิศใต้ ที่เมืองโยโกฮามะจะมีที่พักริมทางตั้งอยู่ริมฝั่งทิศเหนือของแม่น้ำมิโฮะ[6]
ระหว่างเมืองโยโกฮามะกับเมืองโนเฮจิ ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จะมีแนวเส้นทางตีคู่ไปกับทางด่วนชิโมกิตะ ซึ่งกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ในฐานะเส้นทางเสริม ใช้เพื่อเลี่ยงเส้นทางเดิมที่ผ่านเขตชุมชนระหว่างโยโกฮามะและโนเฮจิ ปลายทางทิศเหนือของทางด่วนดังกล่าวเริ่มต้นบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ที่ทางแยกทางตอนใต้ของโยโกฮามะ ซึ่งเส้นทางเดิมจะวิ่งต่อไปทางทิศใต้เลียบไปตามอ่าวมุตสึ ในขณะที่ทางด่วนจะอยู่ถัดเข้ามาข้างในห่างจากชายฝั่งและผ่านเขตหมู่บ้านรกกาโชะ เมื่อเข้าสู่เมืองโนเฮจิ เส้นทางจะมุ่งไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านป่าชายฝั่งที่มีประชากรเบาบาง ก่อนที่จะเข้าสู่ใจกลางเมืองและโค้งไปทางทิศใต้ และหลังจากผ่านศาลาว่าการเมืองโนเฮจิ เส้นทางก็จะสิ้นสุดที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4[7]
การจราจรเฉลี่ยต่อวัน
แก้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ดูแลโดยกรมทางหลวง กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยว (MLIT) ซึ่งดำเนินการสำรวจเส้นทางของทางหลวงแผ่นดินและทางด่วนของญี่ปุ่นทุก ๆ ห้าปี เพื่อวัดปริมาณการจราจรเฉลี่ยต่อวัน ใน ค.ศ. 2015 จุดที่มีการใช้งานมากที่สุดตามเส้นทางคือทางแยกระหว่างทางหลวงสายนี้กับทางหลวงจังหวัดอาโอโมริหมายเลข 7 ในนครมุตสึ ซึ่งมียานพาหนะสัญจรเฉลี่ย 9,440 คันต่อวันบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ส่วนจุดที่มีปริมาณการจราจรน้อยที่สุดของทางหลวงสายนี้อยู่ระหว่างท่าเรือข้ามฟากที่เมืองโอมะกับทางแยกที่ทางหลวงสายนี้มาบรรจบกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 โดยมียานพาหนะสัญจรเฉลี่ยเพียง 1,337 คัน[8]
ประวัติศาสตร์
แก้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เดิมเคยเป็นทานาบุไคโด (田名部街道) ซึ่งเป็นถนนที่ตั้งโดยตระกูลนัมบุในสมัยเอโดะ โดยเป็นเส้นทางสาขาเส้นทางหนึ่งของโอชูไคโด (ปัจจุบันเป็นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4) ทานาบุไคโดมีเส้นทางจากโนเฮจิชูกูบะไปยังวัดพุทธและสถานที่แสวงบุญของศาสนาพื้นบ้านที่เขาโอโซเระ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นประตูลึกลับสู่ยมโลกทั้งในตำนานไอนุและศาสนาพุทธแบบญี่ปุ่น[9] ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับเมืองทานาบุเดิม (ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของนครมุตสึ) ถนนสายนี้ปรากฏบนแผนที่ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 1647 และใน ค.ศ. 1699 มีชื่อถนนเขียนกำกับว่าทานาบุไคโดบนแผนที่ที่ผลิตโดยนัมบุ การแสวงบุญตามเส้นทางทานาบุไคโดไปยังเขาโอโซเระมีมาตั้งแต่ ค.ศ. 862 แต่ก็ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่ามีการบำรุงทางก่อนที่ตระกูลนัมบุจะสร้างหรือไม่[10]
ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ได้รับการกำหนดโดยคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่นเมื่อ ค.ศ. 1970 โดยใช้แนวเส้นทางทานาบุไคโดระหว่างโนเฮจิกับโอมะ, เรือข้ามฟากที่เชื่อมโอมะกับฮาโกดาเตะ, และเส้นทางช่วงสั้น ๆ ในฮาโกดาเตะ[11][12] นับตั้งแต่กำหนดหมายเลขทางหลวงสายนี้ ก็ได้มีการสร้างทางเลี่ยงเส้นทางเดิม ได้แก่ ทางด่วนชิโมกิตะ ซึ่งเป็นถนนประเภทจำกัดการเข้าถึงและยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ตลอดสาย (มีเฉพาะช่วงโนเฮจิถึงโยโกฮามะ) และทางเลี่ยงนิมาอิบาชิในนครมุตสึ[13]
ภัยพิบัติและความเสียหาย
แก้เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2012 ได้เกิดพายุหิมะซึ่งคร่าชีวิตผู้คน 329 คนบนทางหลวงสายนี้ในจังหวัดอาโอโมริ[14] เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม ค.ศ. 2021 สะพานข้ามแม่น้ำโคอากะ ซึ่งตั้งอยู่ทางชายขอบด้านเหนือของนครมุตสึ ถูกพายุโซนร้อนลูปิตพัดถล่มเสียหายเป็นส่วนใหญ่[15] แต่ก็ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการพังทลายของสะพาน อย่างไรก็ตาม ความเสียหายนี้ทำให้เส้นทางสัญจรที่เชื่อมไปยังมุตสึโดยตรงของชาวเมืองโอมะและหมู่บ้านคาซามาอูระถูกตัดขาด จนกระทั่งมีการสร้างสะพานใหม่ช่องจราจรเดียวพร้อมสัญญานไฟในวันที่ 20 มิถุนายน ค.ศ. 2022 ตรงตำแหน่งทางทิศใต้ของสะพานเดิมเพื่อให้กลับมาเชื่อมต่อได้[16][17]
ทางแยกที่สำคัญ
แก้จังหวัด | ตำแหน่งที่ตั้ง | กิโลเมตร[18][19] | ไมล์ | จุดหมายปลายทาง | หมายเหตุ | ||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ฮกไกโด | ฮาโกดาเตะ | 0.0 | 0.0 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 5 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 278 เหนือ – ไป ซัปโปโระ, โอชามาเบะ, เขาเอะ | จุดสิ้นสุดด้านทิศเหนือ; จุดสิ้นสุดด้านทิศเหนือของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 | ||
1.2 | 0.75 | ทางหลวงจังหวัดฮกไกโดสาย 675 (สายทาจิมาจิ มิซากิ ฮาโกดาเตะ เทชาโจ) | |||||
1.7 | 1.1 | ทางหลวงจังหวัดฮกไกโดสาย 457 (สายฮาโกดาเตะเกียวโก) | |||||
ช่องแคบสึงารุ | 1.8– 28.8 | 1.1– 17.9 | เรือข้ามฟากสึงารุไคเกียว | ||||
อาโอโมริ | โอมะ | 30.0 | 18.6 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ใต้ – ไป โฮโตเกะงะอูระ, ซาอิ | จุดสิ้นสุดด้านทิศใต้ของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 | ||
มุตสึ | 60.3 | 37.5 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 4 – ไป เขาโอโซเระ | ||||
69.7 | 43.3 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 266 ตะวันออก – ไป แหลมชิริยะ | |||||
74.5 | 46.3 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ใต้ (ทางเลี่ยงเมืองมุตสึ) | |||||
75.3 | 46.8 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 (ทางเลี่ยงโอมินาโตะ) | |||||
76.0 | 47.2 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 6 | |||||
76.5 | 47.5 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 เหนือ | จุดสิ้นสุดด้านทิศเหนือของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 | ||||
76.9 | 47.8 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 6 เหนือ – ไป ชิริยาซากิ | |||||
77.2 | 48.0 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 เหนือ (ทางเลี่ยงเมืองมุตสึ) / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 ใต้ – ไป ฮาจิโนเฮะ, มิซาวะ | จุดสิ้นสุดด้านทิศใต้ของการใช้เส้นทางร่วมกับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 | ||||
78.6 | 48.8 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 4 เหนือ – ไป เขาโอโซเระ, กลางเมืองมุตสึ | |||||
91.1 | 56.6 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 7 ตะวันออก – ไป โอดาโนซาวะ | |||||
โยโกฮามะ | 103.5 | 64.3 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 179 – ไป ศาลาว่าการเมืองโยโกฮามะ, สถานีรถไฟมุตสึ-โยโกฮามะ, รกกาโชะ | ||||
105.8 | 65.7 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 179 เหนือ – ไป ศาลาว่าการเมืองโยโกฮามะ, สถานีรถไฟมุตสึโยโกฮามะ | |||||
111.4 | 69.2 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ใต้ (ทางด่วนชิโมกิตะ) – ไป อาโอโมริ, โทวาดะ | ทางแยกต่างระดับโยโกฮามะ-ฟุกโกชิ | ||||
โนเฮจิ | 121.9 | 75.7 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 180 ตะวันออก – ไป รกกาโชะ, ทางแยกต่างระดับโนเฮจิ-คิตะ | ||||
128.2 | 79.7 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 5 ตะวันออก – ไป รกกาโชะ, ทางแยกต่างระดับโนเฮจิ-คิเมียว | |||||
131.7 | 81.8 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 243 ตะวันตก – ไป อาโอโมริ | |||||
132.4 | 82.3 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 246 ตะวันออก – ไป มิซูฮามิ | |||||
133.0 | 82.6 | ทางหลวงจังหวัดอาโอโมริสาย 178 | |||||
134.0 | 83.3 | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 45 – ไป โทวาดะ, ชิจิโนเฮะ, อาโอโมริ, สถานีรถไฟชิจิโนเฮะ-โทวาดะ | จุดสิ้นสุดด้านทิศใต้; ไม่มีป้ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 45 | ||||
1.000 mi = 1.609 km; 1.000 km = 0.621 mi
|
เส้นทางเสริม
แก้ทางด่วนชิโมกิตะ
แก้ทางด่วนชิโมกิตะเป็นทางด่วนขนาดสองช่องจราจรที่ยังไม่สมบูรณ์ในจังหวัดอาโอโมริ ซึ่งได้รับการกำหนดให้เป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 ทางด่วนจะมีเส้นทางจากโยโกฮามะมุ่งหน้าลงทิศใต้ผ่านรกกาโชะและโนเฮจิ ซึ่งปัจจุบันส่วนที่เป็นทางหลักของทางด่วนสายนี้สิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4[20] ทางด่วนในช่วงสั้น ๆ นี้เปิดให้บริการในมุตสึเมื่อเดือนธันวาคม ค.ศ. 2019 ถ้าสร้างแล้วเสร็จ ทางด่วนสายนี้จะมีระยะทาง 68 กิโลเมตร (42 ไมล์) จากมุตสึมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ไปยังนครชิจิโนเฮะ[21]
ทางเลี่ยงเมืองมุตสึ
แก้ทางเลี่ยงเมืองมุตสึมีระยะทาง 2.2 กิโลเมตร (1.4 ไมล์) เป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 อยู่ในย่านใจกลางเมืองของมุตสึ ปลายทางด้านทิศเหนืออยู่บนเส้นทางสายหลัก จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ข้ามแม่น้ำโจตาจิ ตัดกับทางเลี่ยงโอมินาโตะ ซึ่งเป็นเส้นทางเสริมของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 338 หลังจากทางแยกนี้ ทางเลี่ยงเมืองมุตสึจะมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ ขนานกับเส้นทางหลักของทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 จนกระทั่งถึงปลายทางด้านทิศใต้ที่ทางแยกบนทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 279 และ 338[22][23]
อ้างอิง
แก้- ↑ "一般国道の路線別、都道府県別道路現況" [Road statistics by General National Highway route and prefecture] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
- ↑ Google (11 October 2019). "Route 279 in Hakodate" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
- ↑ "ICASMAP2" (PDF). City of Hakodate (Map) (ภาษาญี่ปุ่น). 21 January 2014. สืบค้นเมื่อ 6 February 2020.
- ↑ "「はまなすライン」の改良について" [Improvement of the Hamanasu Line]. Aomori Prefecture Government. 3 January 2006. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ "Flower Calendar". Imperial Household Agency. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ "michinoeki-Yokohama". Michi-no-Eki Website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ Google (10 October 2019). "Route 279" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
- ↑ 平成27年度全国道路・街路交通情勢調査 一般交通量調査 箇所別基本表 [2015 Traffic Report by intersection] (PDF) (Report). Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism. 2015. p. 7. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ Chris Bamforth (22 December 2006). "Mountain of dread". The Japan Times. สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ Aomori Prefecture Folklore Museum (29 March 1986). 青森県「歴史の道」調査報告書 [Aomori Prefecture Historic Roads Survey Report] (ภาษาญี่ปุ่น). Aomori Prefecture Board of Education. p. 1. 全国書誌番号:000001805973. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-05-12. สืบค้นเมื่อ 2024-04-21.
- ↑ 一般国道の路線を指定する政令, 1965 (in Japanese)
- ↑ "ノスタルジック航路(函館〜大間航路)" [Nostalgic Route (Hakodate-Ōma)]. Tsugaru Kaikyō Ferry (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 10 February 2020.
- ↑ "道路施設・高規格道路建設課(道路整備)" [Road Facilities and Expressway Construction Section (Road Improvement)]. Aomori Prefecture Government (ภาษาญี่ปุ่น). 1 July 2008. สืบค้นเมื่อ 18 October 2019.
- ↑ "「いつになったら動く」鳥取の大雪、立ち往生15時間超" ["When will it move?" Heavy Snow in Tottori causes 15-hour Traffic Jam]. The Asahi Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 24 January 2017. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-11. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
- ↑ "【動画】青森 むつ 国道279号線の橋の一部崩れる 大雨影響" [[Video] Mutsu, Aomori Part of the bridge on National Route 279 collapsed due to heavy rain]. NHK (ภาษาญี่ปุ่น). 10 August 2022. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 January 2022. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
- ↑ "青森で大雨、むつで橋の一部崩落 自衛隊に派遣要請" [Heavy rain in Aomori, partial collapse of bridge at Mutsu Request for dispatch to the Self-Defense Forces]. Kahoku Shimpō (ภาษาญี่ปุ่น). 10 August 2021. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 12 August 2021. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
- ↑ "国道279号「小赤川橋」の進捗状況について" [About the progress of National Route 279 "Koakagawa Bridge"] (ภาษาญี่ปุ่น). City of Mutsu. 3 June 2022. สืบค้นเมื่อ 24 September 2022.
- ↑ Google (11 October 2019). "Route 279 in Hakodate" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 11 October 2019.
- ↑ Google (10 October 2019). "Route 279" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 10 October 2019.
- ↑ "下北半島縦貫道路|青森県庁ウェブサイト Aomori Prefectural Government" [Shimokita Expressway: Aomori Prefectural Government website]. www.pref.aomori.lg.jp. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-12-04. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
- ↑ "下北道むつ南バイパスが一部開通" [Partial opening of the Shimokita Mutsu South Bypass] (ภาษาญี่ปุ่น). 23 December 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-02-11. สืบค้นเมื่อ 5 February 2020.
- ↑ "一般国道279号 下北半島縦貫道路「むつ南バイパス」 交通開放(開通)のお知らせ" [National Highway 279 Shimokita Peninsula Expressway "Mutsu-minami Bypass" (opening)] (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). 29 November 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2021-08-31. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
- ↑ Google (17 February 2020). "Mutsu Bypass" (Map). Google Maps. Google. สืบค้นเมื่อ 17 February 2020.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- ทางหลวงแผ่นดินญี่ปุ่นหมายเลข 279 (ในภาษาญี่ปุ่น)