ทางรถไฟสายดอนเดด–ดอนคอน

ทางรถไฟสายดอนเดด-ดอนคอน (อังกฤษ: Don Det–Don Khon Railway) เป็นทางรถไฟรางแคบระยะสั้น และเป็นทางรถไฟขนถ่ายสินค้าข้ามฝั่งน้ำ (Portage railway) เพื่อเชื่อมการเดินทางข้ามแม่น้ำโขงจากเกาะดอนเดด (ลาว: ດອນເດດ) กับเกาะดอนคอน (ลาว: ດອນຄອນ) ซึ่งสองเกาะนี้เป็นส่วนหนึ่งของสี่พันดอน (ลาว: ສີ່ພັນດອນ) หรือศรีทันดร ที่มีความหมายว่าสี่พันเกาะ ตั้งทางตอนใต้ของประเทศลาว ซึ่งปัจจุบันเกาะดอนเดดและดอนคอนนั้นขึ้นกับเมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว[1] ก่อสร้างตั้งแต่ปี พ.ศ. 2436 ซึ่งขณะนั้นลาวยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนของฝรั่งเศส ถือเป็นการขนส่งระบบรางแห่งแรกของประเทศลาว

ทางรถไฟสายดอนเดด-ดอนคอน
Don Det–Don Khon Railway
การเดินรถในอดีต
ข้อมูลทั่วไป
สถานะยกเลิก
ที่ตั้งแขวงจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
ปลายทาง
  • คอนใต้
  • บ้านเดด
จำนวนสถานี3
ประวัติ
เปิดเมื่อพ.ศ. 2436
ปิดเมื่อพ.ศ. 2484
ข้อมูลทางเทคนิค
ระยะทางกม. (4.35 ไมล์)
รางกว้าง600 mm (1 ft 11 58 in)
1,000 mm (3 ft 3 38 in) มีเตอร์เกจ
แผนที่เส้นทาง

คอนใต้
เชื่อมในปี พ.ศ. 2436
คอนเหนือ
ร่องน้ำระหว่างดอนเดด-ดอนคอน
บ้านเดด
ซากหัวรถจักรไอน้ำที่จัดแสดงบนเกาะดอนคอน
สะพานข้ามร่องน้ำระหว่างดอนเดด-ดอนคอน

การเดินทางข้ามแม่น้ำโขงในบริเวณสี่พันดอนนั้นเป็นสิ่งที่ยากลำบาก เนื่องจากมีเกาะแก่งใหญ่น้อยกับกระแสน้ำที่ไหลแรง ครั้งช่วงที่ลาวตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส มีเรือกลไฟจำนวนไม่น้อยอัปปางหรือเสียหายจากการเดินทางผ่านบริเวณดังกล่าว คณะกรรมาธิการสำรวจแม่น้ำโขง (Mekong Exploration Commission) ชาวฝรั่งเศสจึงได้สร้างเส้นทางรถไฟขึ้นบริเวณเกาะดอนคอนขึ้นเพื่อบรรทุกผู้โดยสารและสินค้าข้ามไปอีกฝั่งสำหรับต่อเรือเมื่อปี พ.ศ. 2436 หลังมีผู้โดยสารจำนวนมากขึ้น จึงขยายเส้นทางออกไปอีก 3 กิโลเมตร โดยสร้างสะพานข้ามร่องน้ำเพื่อเชื่อมกับเกาะดอนเดด[2][3] ใช้หัวรถจักรไอน้ำในการเดินรถ เดิมใช้รางขนาด 600 มิลลิเมตร ก่อนเพิ่มขนาดเป็น 1,000 มิลลิเมตร[4] แต่เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สองขึ้น การเดินรถก็หยุดชะงัก รถไฟเที่ยวสุดท้ายเดินรถในปี พ.ศ. 2483 หลังจากนั้นเป็นต้นมาทางรถไฟสายนี้ก็ถูกทิ้งร้างมิได้ใช้ประโยชน์อันใดอีก[5] เหลือเพียงซากสะพาน หัวรถจักร และคันทางเป็นอนุสรณ์[2][3]

ในปี พ.ศ. 2549 รัฐบาลลาวมีแผนที่จะฟื้นฟูเส้นทางรถไฟสายดังกล่าวเพื่อพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว[6] โดยร่วมทุนกับบริษัทเอกชนจากสาธารณรัฐเกาหลี และจะเริ่มภายในปี พ.ศ. 2550[7]

ทางรถไฟสายดอนเดด-ดอนคอนถือเป็นทางรถไฟสายแรกและสายเดียวที่ดำเนินการภายในประเทศลาว จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 ได้มีการเปิดเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย-ท่านาแล้ง บ้านดงโพสี นครหลวงเวียงจันทน์ ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร[8][9]

อ้างอิง แก้

  1. "ດອນຄອນ-ດອນເດດ ເມືອງ ໂຂງ ແຂວງ ຈຳປາສັກ ສະຫວັນເທິງດິນຂອງຄົນມັກການເດີນທາງ [ดอนเดด-ดอนคอน เมืองโขง แขวงจำปาศักดิ์ สวรรค์บนดินของคนชอบการเดินทาง]". Lao Post (ภาษาลาว). 1 พฤศจิกายน 2559. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 ไพรัตน์ สูงกิจบูลย์. แลลาว. กรุงเทพฯ : อทิตตา. 2545, หน้า 209-210
  3. 3.0 3.1 พวงนิล คำปังสุ์ (แปล). ลาวและกัมพูชา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : หน้าต่างสู่โลกกว้าง. 2549, หน้า 65
  4. Whyte, Brendan (2010). The Railway Atlas of Thailand, Laos and Cambodia. White Lotus, Bangkok. p. 143.
  5. The only railway (ever) in Laos The International Steam Pages
  6. "ลาวฟื้นทางรถไฟประวัติศาสตร์เป็นแหล่งท่องเที่ยว". MGR Online. 16 พฤศจิกายน 2548. สืบค้นเมื่อ 9 มิถุนายน 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  7. "90 ปีผ่านไปลาวฟื้นทางรถไฟฝรั่งเศสในจำปาสัก". MGR Online. 7 ธันวาคม 2549. สืบค้นเมื่อ 14 พฤษภาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)[ลิงก์เสีย]
  8. "Laos link launched". Railway Gazette International. 2007-03-01. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-22. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.
  9. "Testing takes train into Laos". Railway Gazette International. 2008-07-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-07-21. สืบค้นเมื่อ 2017-05-14.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้