ทางด่วนเค็นโอ
ทางด่วนเค็งโอ (ญี่ปุ่น: 圏央道; โรมาจิ: Ken-Ō Dō) หรือ ทางด่วนระหว่างเมืองนครหลวง (ญี่ปุ่น: 首都圏中央連絡自動車道; โรมาจิ: Shuto-ken Chūō Renraku Jidōsha-dō)[1] เป็นทางด่วนที่เก็บค่าผ่านทางระบบตั๋ว เป็นเจ้าของและดำเนินการโดยบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลางและบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออก หากนับรวมกับทางด่วนอะควาไลน์อ่าวโตเกียว และทางด่วนชูโต สายเลียบอ่าว ทางด่วนสายนี้จะเป็นถนนวงแหวนรอบนอกโตเกียวเต็มวง ทางด่วนเค็งโอได้รับการกำหนดให้เป็น ทางหลวงหมายเลข 468 และ C4 ภายใต้ "ข้อเสนอการกำหนดหมายเลขทางด่วน ค.ศ. 2016"[2]
ทางด่วนเค็งโอ | ||||
---|---|---|---|---|
圏央道 | ||||
ข้อมูลของเส้นทาง | ||||
ความยาว | 300 กิโลเมตร (190 ไมล์) | |||
ประวัติ | เปิดให้บริการตั้งแต่ 1996 | |||
ทางหลวงที่เป็น ส่วนประกอบ | ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 126 / ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 468 | |||
ทางแยกที่สำคัญ | ||||
ถนนวงแหวนรอบโตเกียว | ||||
ปลายทางทิศตะวันตก | ทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน ที่ ชุมทางต่างระดับชิงาซากิ | |||
ปลายทางทิศตะวันออก | ทางด่วนทาเตยามะ ที่ ชุมทางต่างระดับคิซาราซุ | |||
ตำแหน่งที่ตั้ง | ||||
ประเทศ | ญี่ปุ่น | |||
เมืองสำคัญ | ชิงาซากิ จ.คานางาวะ อัตสึงิ จ.คานางาวะ ซางามิฮาระ จ.คานางาวะ ฮาจิโอจิ โตเกียว โอเมะ โตเกียว คาวาโงเอะ จ.ไซตามะ สึกูบะ จ.อิบารากิ นาริตะ จ.ชิบะ อิจิฮาระ จ.ชิบะ คิซาราซุ จ.ชิบะ | |||
ระบบทางหลวง | ||||
ทางด่วนในประเทศญี่ปุ่น ทางหลวงแผ่นดินในประเทศญี่ปุ่น
|
ส่วนของทางด่วนที่เป็นของบริษัททางด่วนญี่ปุ่นกลางนั้นเริ่มต้นจากปลายทิศตะวันออกของทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน วิ่งไปทางตะวันตกไปตามทางเลี่ยงเมือง และขึ้นไปทางทิศเหนือสิ้นสุดที่ทางแยกต่างระดับอากิรูโนะ ส่วนที่เหลือของทางด่วนเป็นของบริษัททางด่วนญี่ปุ่นตะวันออก
รายละเอียดของเส้นทาง
แก้ทางด่วนเริ่มต้นที่ปลายด้านตะวันตกของทางเลี่ยงเมืองฟูจิซาวะ (ส่วนหนึ่งของทางหลวงหมายเลข 1) ในฟูจิซาวะ จังหวัดคานางาวะ โดยจากจุดนี้ทางด่วนจะซ้อนทับกับทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน ซึ่งต่อมาจะแยกออกจากทางด่วนเค็งโอไปทางทิศใต้มุ่งหน้าไปยังชิงาซากิ
จากนั้นทางด่วนเค็งโอจะมุ่งหน้าไปทางเหนือตัดข้ามทางด่วนโทเมและทางด่วนชูโอ ต่อขึ้นไปทางเหนือและเลี้ยวไปทางตะวันออก ตัดกับทางด่วนคังเอ็ตสึ ทางด่วนโทโฮกุ และทางด่วนโจบัง จากนั้นเลี้ยวไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้สิ้นสุดที่ทางด่วนฮิงาชิคันโต ซึ่งอยู่ทางตะวันออกของสนามบินนาริตะ ต่อจากนี้เป็นช่วงที่ขาดหายไปซึ่งมีแผนที่จะก่อสร้างในอนาคต และเริ่มต้นอีกครั้งที่ถนนโชชุเร็นรากุในโทงาเนะ ผ่านทางแยกต่างระดับที่ปลายด้านตะวันออกของถนนชิบะ-โทงาเนะ จากนั้นทางด่วนเค็งโอวิ่งต่อไปทางทิศใต้เลี้ยวไปทางตะวันตก และไปสิ้นสุดที่ชุมทางต่างระดับของทางด่วนอะควาไลน์อ่าวโตเกียวกับทางด่วนทาเตยามะ
ประวัติ
แก้ทางด่วนเค็งโอเชื่อมต่อกับทางด่วนชินโทเมเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2018[3]
ทางแยกต่างระดับอัจฉริยะ (smart interchange) ในโออามิชิราซาโตะ เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 24 มีนาคม 2019[4]
โครงการในอนาคต
แก้บางส่วนของทางด่วนโยโกฮามะ-โยโกซุกะ, ทางเลี่ยงเมืองชินโชนัน และถนนชิบะ-โทงาเนะ และโครงการทางด่วนวงแหวนโยโกฮามะ จะถูกรวมเข้ากับทางด่วนเค็งโอในอนาคต[5] ในจังหวัดชิบะ ช่วงที่ขาดหายไประยะทาง 18 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการเวนคืนที่ดิน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2024[6]
ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
แก้นอกเหนือจากทางหลวงญี่ปุ่นหมายเลข 16 แล้ว ทางด่วนเค็งโอจะเป็นเส้นทางที่เชื่อมต่อเขตมหานครเทคโนโลยีขั้นสูง (Technology Advanced Metropolitan Area หรือ TAMA) ซึ่งเป็นภูมิภาคอุตสาหกรรมที่ครอบคลุมพื้นที่ 3,000 ตารางกิโลเมตร มีทั้งหมด 74 เทศบาล และเป็นที่อยู่อาศัยของผู้คนกว่า 10 ล้านคน ในปี 1998 สินค้าที่จัดส่งจากเขต TAMA มีมูลค่าการจัดส่งเป็นสองเท่าของซิลิคอนแวลลีย์[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-07-14. สืบค้นเมื่อ 2014-11-23.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ "Japan's Expressway Numbering System". www.mlit.go.jp.
- ↑ "Information on sections to be opened". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-01-23. สืบค้นเมื่อ 2020-02-15.
- ↑ "首都圏中央連絡自動車道『大網白里スマートインターチェンジ』 が平成31年3月24日(日)15時に開通します" (PDF) (ภาษาญี่ปุ่น). 12 February 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2019-02-12. สืบค้นเมื่อ 23 June 2019.
- ↑ http://www.e-nexco.co.jp/pressroom/press_release/kanto/h27/0424/pdfs/pdf.pdf
- ↑ https://www.nikkei.com/article/DGXMZO2412181030112017EE8000/
- ↑ Chandra, Pankaj. "Networks of Small Producers for Technological Innovations: Some Models" (PDF). IIM Ahmedabad Working Paper No. 2006-03-02, March 2006. IIM Ahmedabad. สืบค้นเมื่อ 10 March 2012.[ลิงก์เสีย]
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- http://www.ktr.mlit.go.jp/honkyoku/road/3kanjo/kenoudo/index.htm
- illustrations of new and planned segments, June 2015 (Japanese) http://www.e-nexco.co.jp/pressroom/press_release/kanto/h27/0424/pdfs/pdf.pdf