ทะเลสาบสุริยันจันทรา

ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไต้หวัน

ทะเลสาบสุริยันจันทรา (จีน: 日月潭; พินอิน: Rìyuè tán; เป่อ่วยยี: Ji̍t-goa̍t-thâm; เซา: Zintun) ในวรรณคดีอังกฤษมักเรียกกันว่า ทะเลสาบแคนดิเดียส (อังกฤษ: Lake Candidius) เป็นแหล่งน้ำที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในไต้หวัน เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยว และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากในไต้หวัน ทะเลสาบสุริยันจันทราตั้งอยู่ที่จังหวัดหนานโถว เมืองหยวีฉือ บริเวณโดยรอบของทะเลสาบเป็นบ้านเรือนของชาวเซ่า (邵) หนึ่งในชนเผ่าพื้นเมืองในไต้หวัน ทะเลสาบสุริยันจันทราล้อมรอบไปด้วยเกาะเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ลาหลู่ (拉魯) ทางด้านฝั่งตะวันออกของทะเลสาบคล้ายกับมีพระอาทิตย์ ในขณะเดียวกันทางด้านตะวันตกคล้ายกับมีพระจันทร์ จึงเป็นที่มาของชื่อทะเลสาบสุริยันจันทรา ทัศนียภาพของพระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตกเป็นที่ดึงดูดทุกคนที่ได้มาเยือนสถานที่แห่งนี้

ทะเลสาบสุริยันจันทรา
ทะเลสาบแคนดิเดียส
Zintun
ทะเลสาบสุริยันจันทราตั้งอยู่ในเทศมณฑลหนานโถว
ทะเลสาบสุริยันจันทรา
ทะเลสาบสุริยันจันทรา
ที่ตั้งตำบลยฺหวีฉือ เทศมณฑลหนานโถว ประเทศไต้หวัน
พิกัด23°52′N 120°55′E / 23.867°N 120.917°E / 23.867; 120.917
ชนิดทะเลสาบ
ชื่อในภาษาแม่日月潭  (จีน)
แหล่งน้ำไหลออกแม่น้ำฉุยหลี่
พื้นที่พื้นน้ำ7.93 ตารางกิโลเมตร (3.06 ตารางไมล์)
ความลึกสูงสุด27 เมตร (89 ฟุต)
ความสูงของพื้นที่748 เมตร (2,454 ฟุต)
ทะเลสาบสุริยันจันทรา
"ทะเลสาบสุริยันจันทรา" เมื่อเขียนด้วยอักษรจีน
ภาษาจีน日月潭
ความหมายตามตัวอักษร"สระดวงอาทิตย์ดวงจันทร์"

ในอดีตกาล มีมังกรที่ดุร้ายอาศัยอยู่ที่ทะเลสาบ พวกมันได้เอาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์มากลืนเข้าไปในท้องแล้วคายออกมาดั่งเป็นของเล่น มนุษย์ทั้งหลายจึงแยกแยะกลางวันอันสว่างสดใสและกลางคืนอันมืดมิดไม่ออก มนุษย์นับพันนับล้านคนจึงทำงานอะไรไม่ได้เลย หลังจากนั้นจึงมีชายหญิงหนุ่มที่กล้าหาญคู่หนึ่งได้ต่อต้านและต่อสู้กับมังกร แล้วมังกรเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ หลังจากนั้นทั้งสองคนนั้นก็ได้นำเอาดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ไปไว้ที่เดิม แล้วทั้งสองคนนั้นก็ได้กลายเป็นภูผาเฝ้าดูทะเลสาบสุริยันจันทราตราบเท่าปัจจุบัน

ภาพรวม แก้

ทะเลสาบสุริยันจันทรา ตั้งอยู่ในระดับ 748 เมตร (2,450 ฟุต) เหนือระดับน้ำทะเล 27 เมตร (89 ฟุต) จากพื้นผิวบริเวณโดยรอบ และพื้นที่รอบบริเวณทะเลสาบ ประมาณ 7.93 ตารางกิโลเมตร (3.06 ตารางไมล์) บริเวณทะเลสาบห้อมล้อมไปด้วยทางเดินสำหรับการปีนเขาหลายเส้นทาง[1]

โดยทั่วไป ทะเลสาบสุริยันจันทราไม่อนุญาตให้ว่ายน้ำเล่น แต่จะมีการแข่งขันว่ายน้ำประจำปีระยะทาง 3 กิโลเมตร ชื่องานว่า "กิจกรรมว่ายน้ำข้ามหมื่นคนที่ทะเลสาบสุริยันจันทรา" (日月潭萬人泳渡活動) งานถูกจัดขึ้นในช่วงเทศกาลกลางฤดูใบไม้ผลิ ของทุกปี ในหลายปีช่วงหลัง ผู้เข้าแข่งขันมีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่น ส่วนเทศกาลอื่นที่จัดงานในช่วงเวลาเดียวกันจะมีทั้งดอกไม้ไฟ การแสดงแสงสี และคอนเสิร์ตร่วมด้วย

ทะเลสาบและเมืองโดยรอบ เป็น 1 ใน 13 แห่งที่มีพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่สวยงามในไต้หวัน สถานที่บริเวณรอบทะเลสาบ ได้แก่ วัดเหวินอู่ (文武廟) ถูกสร้างหลังจากการเพิ่มระดับน้ำจากการสร้างเขื่อน จึงทำให้วัดเล็ก ๆ บริเวณนั้นถูกย้ายออกไป เจดีย์ฉืออาน (慈恩塔) ถูกสร้างโดยอดีตประธาธิบดีเจียงไคเช็คในปี 1971 เพื่อระลึกถึงมารดาของท่าน ส่วนวัดอื่น ๆ ที่ได้มีการบันทึกไว้เพิ่มเติม เช่น วัดเจียนจิง (Jianjing) วัดเฉียนจาง (玄奘寺)[2] และวัดเสวียนกวาง (玄光寺)[3]

ประวัติ แก้

 
ชาวพื้นเมืองไต้หวันที่ทะเลสาบสุริยันจันทรา ภาพถ่ายจากโบรชัวร์ปี 1926 ของรัฐบาลฟอร์โมซา

บันทึกวรรณคดีอังกฤษของ มิชชันนารี จอร์เจียส แคนดิเดียส ในสมัยศตวรรษที่ 17 เรียกทะเลสาบนี้ว่า ทะเลสาบแคนดิเดียส ช่วงตอนกลางของทะเลสาบ คือ เกาะลาหลู่ เป็นดินแดนศักดิ์สิทธิ์ของชนเผ่าเซา ในตำนานชาวเซาเป็นนักล่าสัตว์ที่ค้นพบทะเลสาบสุริยันจันทราขณะที่กำลังไล่ล่ากวางขาวผ่านบริเวณหุบเขา และนั่นเอง กวางได้นำพวกเขาไปยังทะเลสาบ นอกจากจะค้นพบทะเลสาบที่สวยงามแล้วพวกเขายังค้นพบแหล่งอาหารที่อุดมสมบูรณ์ด้วยปลา ทุกวันนี้กวางขาวตัวนั้นยังเป็นตำนานที่ไม่มีวันลืมโดยมีรูปปั้นหินอ่อนเป็นสัญลักษณ์บนเกาะลาหลู่

ช่วงที่ไต้หวันอยู่ภายใต้ยุคอาณานิคมของญี่ปุ่น ญีปุ่นได้ตั้งชื่อเกาะนี้ว่า "เกาะหยก" หลังจากรัฐบาลแห่งชาติของเจียง ไคเชก ย้ายมาที่ไต้หวัน เกาะดังกล่าวก็ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น กวางหัว (光華, "จีนรุ่งโรจน์") และในปี 1978 รัฐบาลท้องถิ่นได้สร้างศาลาใช้สำหรับจัดงานแต่งประจำปี ในปี 1999 เกิดแผ่นดินไหว ชื่อ แผ่นดินไหว921 ได้ทำลายศาลาและจมหายไปในเกาะนั้น ในปีต่อมา การรับรู้ทางด้านสังคมและการเมืองเพิ่มขึ้นทำให้เกิดความระลึกและเคารพถึงชนพื้นเมืองไต้หวันมากขึ้น ดังนั้น หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหว921 จึงได้เปลี่ยนชื่อเกาะตามภาษาดั้งเดิมของชาวเซา ซึ่งก็คือ "เกาะลาหลู่"

โรงไฟฟ้าพลังน้ำ หลายแห่งได้ถูกสร้างขึ้นที่ทะเลสาบสุริยันจันทราตั้งแต่ปี 1919 รวมถึงเขื่อนหมิงถาน (明潭) และหมิงหู (明湖) เมื่อครั้งที่โรงไฟฟ้าพลังน้ำแห่งแรกสร้างเสร็จในปี 1934 โรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้ถูกนำมาพิจารณาถึงเรื่องโครงสร้างพื้นฐานในครั้งหน้า ต่อมา เขื่อนอู่เจีย ได้ถูกสร้างและสร้างเสร็จในปี 1934 มีการผันน้ำจากแม่น้ำซูโจว ทำให้เพิ่มพลังน้ำในทะเลสาบได้มากขึ้นจากเขื่อนแรก ทางรถไฟสายจี๋จี๋ จึงถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้อำนวยความสะดวกในการก่อสร้าง

หนังสือเดินทางสาธารณรัฐประชาชนจีน แก้

ภาพของทะเลสาบสุริยันจันทราได้ปรากฏอยู่ในหนังสือเดินทางของสาธารณรัฐประชาชนจีนที่ออกใหม่ในปี 2012 เหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดการประท้วงจากกรุงไทเป ไปยังกรุงปักกิ่ง[4]

ภาพประกอบ แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Sun Moon Lake has it all for tourists". The China Post. 2007-12-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-01-22. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
  2. "Syuentzang Temple". Sun Moon Lake National Scenic Area Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-26. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
  3. "Syuanguang Temple". Sun Moon Lake National Scenic Area Administration. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-08-26. สืบค้นเมื่อ 2010-07-27.
  4. "Taipei protests China's new passports". Taipei Times. 2012-11-24. สืบค้นเมื่อ 2012-11-24.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้