ทากาอากิ คาจิตะ

นักฟิสิกส์และนักดาราศาสตร์ชาวญี่ปุ่น
(เปลี่ยนทางจาก ทะกะอะกิ คะจิตะ)

ทากาอากิ คาจิตะ (ญี่ปุ่น: 梶田隆章โรมาจิKajita Takaaki) เกิดเมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2502[1] ณ เมืองฮิงาชิมัตสึยามะ จังหวัดไซตามะ เป็นนักฟิสิกส์ชาวญี่ปุ่น มีชื่อเสียงจากผลงานการทดลองเกี่ยวกับอนุภาคนิวตริโน KamiokaNDE และ Super Kamiokande ในศูนย์สังเกตการณ์คามิโอกะแห่งสถาบันวิจัยรังสีคอสมิก มหาวิทยาลัยโตเกียว คาจิตะเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ประจำปี พ.ศ. 2558 ร่วมกับอาร์เธอร์ แมคโดนัลด์ นักฟิสิกส์ชาวแคนาดา ในฐานะ "การค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน ซึ่งชี้ให้เห็นว่านิวตริโนนั้นมีมวล"[2]

ทากาอากิ คาจิตะ (梶田隆章)
เกิด9 มีนาคม พ.ศ. 2502 (65 ปี)
ฮิงาชิมัตสึยามะ จังหวัดไซตามะ
ประเทศญี่ปุ่น
สัญชาติ ญี่ปุ่น
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยไซตามะ
มหาวิทยาลัยโตเกียว
องค์การสถาบันวิจัยรังสีคอสมิก มหาวิทยาลัยโตเกียว
ทากาอากิ คาจิตะ
คันจิ梶田隆章
ฮิระงะนะかじた たかあき
โรมะจิKajita Takaaki

ประวัติ แก้

คาจิตะเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาที่มหาวิทยาลัยไซตามะ จังหวัดไซตามะ สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีเมื่อ พ.ศ. 2523 จากนั้นได้เข้าเรียนต่อที่มหาวิทยาลัยโตเกียว จนสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทและเอกเมื่อ พ.ศ. 2529 คาจิตะเริ่มทำงานวิจัยที่สถาบันวิจัยรังสีคอสมิก (ICRR) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวในอีกสองปีต่อมา โดยมีฐานะเป็นผู้ช่วยศาสตราจารย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 และเลื่อนเป็นศาสตราจารย์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในปีเดียวกันนั้นคาจิตะยังดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหน่วยวิจัยคอสมิกนิวตริโน แห่งสถาบันวิจัยรังสีคอสมิก ปัจจุบันคาจิตะดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถาบันวิจัยรังสีคอสมิกและสถาบันฟิสิกส์และคณิตศาสตร์จักรวาลคาฟลีในกรุงโตเกียว[3]

ในปี พ.ศ. 2531 คาจิตะและคณะในการทดลอง KamiokaNDE ค้นพบว่านิวตริโนชนิดมิวออนนิวตริโน ซึ่งวิ่งเข้ามาในชั้นบรรยากาศโลกนั้น ได้หายไปในระหว่างทาง และได้เรียกว่าเป็น "ปรากฏการณ์ผิดธรรมดาของนิวตริโนในชั้นบรรยากาศ" (อังกฤษ: atmospheric neutrino anomaly) ที่ต่อมามีคำอธิบายและสรุปว่าเป็น "ปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโน" (อังกฤษ: neutrino oscillation) โดยนิวตริโนชนิดหนึ่งสามารถเปลี่ยนตัวเองไปเป็นนิวตริโนชนิดอื่นได้ ทำให้ทราบว่านิวตริโนจำเป็นต้องมีมวล ซึ่งช่วยพัฒนาองค์ความรู้เรื่องแบบจำลองมาตรฐานในศาสตร์ฟิสิกส์อนุภาคได้อย่างมาก

เกียรติยศ แก้

  • (พ.ศ. 2532) รางวัลบรูโนรอสซี (มอบโดยหน่วยฟิสิกส์ดาราศาสตร์พลังงานสูงแห่งสมาคมดาราศาสตร์อเมริกา) ร่วมกับคณะจาก IMB และ Kamioka[4]
  • (พ.ศ. 2542) รางวัลนิชินะ สำหรับการอุทิศตนอย่างยิ่งต่อวงการฟิสิกส์ญี่ปุ่น[5]
  • (พ.ศ. 2545) รางวัลพานอฟสกีในด้านฟิสิกส์อนุภาคเชิงทดลอง ร่วมกับมาซาโตชิ โคชิบะและโยจิ ทตสึกะ[6]
  • (พ.ศ. 2555) รางวัลสถาบันวิชาการแห่งญี่ปุ่น สำหรับผลงานการค้นพบปรากฏการณ์การแกว่งของนิวตริโนในชั้นบรรยากาศ[7]
  • (พ.ศ. 2558) รางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ร่วมกับอาร์เธอร์ แมคโดนัลด์[2]

อ้างอิง แก้

  1. 梶田隆章 สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558 (ญี่ปุ่น)
  2. 2.0 2.1 "The Nobel Prize in Physics 2015" (ภาษาอังกฤษ). Nobel Foundation. สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. From the Director เก็บถาวร 2015-10-09 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, สถาบันวิจัยรังสีคอสมิกแห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว (ICRR), สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558
  4. HEAD AAS Rossi Prize Winners High Energy Astrophysics Division (HEAD), สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558
  5. Nishina Memorial Prize, สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558
  6. 2002 W.K.H. Panofsky Prize in Experimental Particle Physics Recipient, สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558
  7. The Imperial Prize,Japan Academy Prize,Duke of Edinburgh Prize Recipients, The Japan Academy, สืบค้นเมื่อ 6 ตุลาคม 2558

แหล่งข้อมูลอื่น แก้