ทองมี มาลัย
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
บทความนี้อาจต้องเขียนใหม่ทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพของวิกิพีเดีย หรือกำลังดำเนินการอยู่ คุณช่วยเราได้ หน้าอภิปรายอาจมีข้อเสนอแนะ |
ทองมี มาลัย (6 พฤษภาคม พ.ศ. 2487-พ.ศ. 2545) หรือรู้จักในฉายา ตำนานราชาหมอลำเพลิน เป็นหมอลำที่มีความสามารถยิ่งใหญ่ในวงการหมอลำอีสาน เป็นชาวบ้านหนองเลิง ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอลุมพุก จังหวัดอุบลราชธานี (ปัจจุบันคือตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร)
ประวัติ
แก้วัยเยาว์
แก้ทองมี มาลัย สำเร็จการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนวัดบ้านหนองเลิง ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี เมื่อปี พ.ศ. 2497 เมื่อสำเร็จการศึกษาภาคบังคับในสมัยนั้น ทองมีได้ออกมาช่วยพ่อกับแม่ทำเกษตรกรรมที่บ้าน ต่อมาจึงได้ออกจากบ้านไปทำงานหาเงิน เช่น ขับสามล้อรับจ้าง และทำงานโรงงานน้ำตาล จังหวัดชลบุรี
ต่อมาในปี พ.ศ. 2501 เมื่อเกิดความเบื่อหน่ายในการทำงานต่างถิ่นจึงเดินทางกลับมาบ้านหนองเลิง และทำให้เกิดความสนใจในการร้องลำอย่างมาก โดยได้เข้าฝึกหัดร้องลำกับหมอลำผัน ศิลารักษ์ แห่งวงหมอลำเพลินคณะอีสานลำเพลิน (ผ.รุ่งศิลป์) ปรมาจารย์ด้านหมอลำเพลินที่มีชื่อเสียงของบ้านดงแคนใหญ่ ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดอุบลราชธานี จนทำให้เป็นที่รู้จักในระแวกนั้น
การทำงานหมอลำ
แก้ต่อมาเขาได้หันมาประกอบอาชีพหมอลำอย่างเป็นทางการโดยได้รับตำแหน่งในการแสดงเป็นพระเอกของคณะอัศวินสองดาว มีคุณพ่อมี กิจเกียรติ์ เป็นหัวหน้าคณะ ได้รวมตัวสมาชิก จำนวน 15 คน ซึ่งทองมี มาลัย ได้รับบท ขุนแผน ในนิทานพื้นบ้านเรื่องขุนช้างขุนแผน จนทำให้มีชื่อเสียงโด่งดังจนประชาชนทั่วไปขนานนามว่า ราชาหมอลำเพลิน และ พ.ศ. 2510 ได้แยกตัวออกมาตั้งคณะเป็นของตนชื่อ คณะทองมีพัฒนาลำเพลิน
ในช่วงปี พ.ศ. 2513-2514 ได้หันเหสู่วงการขับร้องเพลงลูกทุ่งหมอลำ โดยการชักชวนของเทพบุตร สติรอดชมภู แห่งสำนักงานหมอลำชื่อดังของจังหวัดมหาสารคาม โดยยังคงใช้ลีลาการขับร้องลำเพลินอันเป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของตนเข้ามาสร้างผลงานออกมาโด่งดังเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกับกลอนลำเพลิน ซึ่งประพันธ์โดยครูกลอนลำแห่งอีสานคือครูสุพรรณ ชื่นชม เช่น ชุดลำเพลินบักสองซาว ทำให้มีชุดลำเพลินบักสี่ไหตามมา ชุดลำเพลินชมรมแท็กซี่ ก็โด่งดังเป็นพลุแตกไม่ว่าบ้านนอกในกรุง แม้แต่สถานีวิทยุในกรุงเทพฯ หรือเขตภาคกลางก็ยังนำมาเปิดกัน เรียกว่าตามตู้เพลง ห้องอาหาร ปั๊มน้ำมันที่รวมพลของเหล่าบรรดาคนขับแท็กซี่ทั่วกรุง ต้องได้ยินเพลงนี้กันไม่ขาดระยะ จนมีชุดชมรมแม่ค้าออกมาติดๆ ให้เหล่าแม่ค้าลาบ ส้มตำ และซุปหน่อไม้ ได้ร้องกันครื้นเครง
พ.ศ. 2516 คณะอัศวินสองดาวได้เปลี่ยนชื่อเป็น คณะอัศวินดาวรุ่ง และ พ.ศ. 2518 คณะอัศวินดาวรุ่งได้ก่อกำเนิดคณะหมอลำเพลินอีกคณะ คือ คณะอีสานลำเพลิน
ทองมี มาลัย ได้โลดแล่นด้วยชื่อเสียงหมอลำเพลินในวงการหลายสิบปี กับการสังกัดค่ายเพลงหลายค่ายในสมัยนั้น ประกบกับหมอลำดังในยุคนั้นมากมายหลายคนออกอัลบั้มยอดฮิตมาหลายชุดร่วมกับหมอลำดัง เช่น บานเย็น รากแก่น , ประสาน เวียงสีมา , ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม เป็นต้น
ปัจจุบันมีหมอลำที่เลียนแบบลีลาท่าทางรวมทั้งมีกลอนลำสไตล์เดียวกัน เช่น คำบน กิจเกียรติ , ทองมัย มาลี , รุ่งฟ้า กุลาชัย เป็นต้น
เสียชีวิต
แก้ทองมี มาลัย ได้เสียชีวิตเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2545 จากโรคก้านสมองอักเสบ สิริรวมอายุได้ 57 ปี
ผลงาน
แก้- ชุดลำเพลินขุนช้างขุนแผน
- ชุดลำเพลินบอกข่าวบ้าน
- ชุดลำเพลินไอเลิฟยู
- ชุดลำเพลินเชิญทอดกฐิน
- ชุดลำเพลินบักสองซาว
- ชุดลำเพลินชมรมแท็กซี่ (กลอนลำอมตะ)
- ชุดลำเพลินสาวติ๋มยิ้มใส่
- ชุดลำเพลินออนซอนสาวอำนาจ
- พ.ศ. 2529 ชุดลำเดินทองมี29
- พ.ศ. 2535-2542 ชุดสามหมอลำผู้ยิ่งใหญ่ (ทองมี มาลัย ป.ฉลาดน้อย ส่งเสริม และประสาน เวียงสีมา)
- พ.ศ. 2544 ชุดลำเพลินอาจารย์โกย99 และชุดเต้ยสาวซิ่งยีนส์ขาด
รางวัลและเกียรติคุณ
แก้- พ.ศ. 2540 ได้รับรางวัลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรมจากสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ (สวช.) กระทรวงศึกษาธิการ
- เป็นอาจารย์หมอลำ ต้นแบบให้กับคณะหมอลำเพลินหลายคณะ เข่น คณะอัศวินดาวรุ่ง เป็นต้น
- เป็นผู้สืบสานวัฒนธรรมไทย ด้านศิลปะการแสดง (หมอลำ)