ทวิบถเท็จ (อังกฤษ: false dilemma, false dichotomy) เป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยซึ่งเกิดจากข้อตั้งที่จำกัดทางเลือกอย่างผิด ๆ โดยเหตุผลไม่ได้วิบัติเพราะการอนุมานที่ผิด ๆ แต่เกิดจากข้อตั้งที่ผิด อยู่ในรูปแบบเป็นการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ว่า ทางเลือกทางใดทางหนึ่งที่ระบุจะต้องเป็นจริง เป็นปัญหาเพราะกันทางเลือกอื่น ๆ ที่อาจเป็นไปได้ เช่น เมื่อกล่าวว่า "ก. พูดต่อต้านระบบทุนนิยม ดังนั้น เขาต้องเป็นคอมมิวนิสต์" ทางเลือกที่ถูกกันออกก็คือ ก. อาจไม่ใช่คอมมิวนิสต์ แต่ก็ไม่ใช่นักทุนนิยมด้วย

ดิเล็มมาอย่างหนึ่งที่ปรากฏในสหรัฐช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 คือจะเป็นผู้มีปัญญาและวีรบุรุษ หรือจะเป็นคนรวยและมีอำนาจ (โปสเตอร์ปี 1901 หรือหลังจากนั้น)

ทวิบถเท็จมักมีรูปแบบเป็นข้อความตรงข้ามกันสองอย่าง โดยทั้งสองอาจเป็นเท็จ รูปแบบการอนุมานหลายอย่างสัมพันธ์กับทวิบถเท็จ เช่น constructive dilemma, destructive dilemma และ disjunctive syllogism ปกติแล้วทวิบถเท็จจะใช้เมื่อให้เหตุผลแบบนิรนัย (deductive argument) แต่ก็พบในรูปแบบ defeasible argument ด้วย ที่เรามักสร้างทวิบถเท็จขึ้นอาจเป็นเพราะว่า ต้องการทำเหตุการณ์ให้เป็นเรื่องง่าย ๆ โดยใช้วลีที่แบ่งความจริงออกเป็นสองพวก ซึ่งอาจมีอยู่ในโครงสร้างภาษาบางอย่างแล้วด้วยซ้ำ (เช่น สำนวนอังกฤษว่า either...or) หรืออาจเป็นเพราะต้องการความชัดเจนแล้วปฏิเสธความคลุมเครือที่มีอยู่โดยธรรมชาติในคำพูดรูปแบบต่าง ๆ

นิยาม

แก้

ทวิบถเท็จเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยชนิดหนึ่งที่อาศัยข้อตั้งที่จำกัดทางเลือกอย่างผิด ๆ[1][2][3] ในรูปแบบที่ง่ายสุด จะจำกัดเหลือทางเลือกเพียงสองทางเท่านั้น เหตุผลวิบัติก็คือข้อโต้แย้ง/อาร์กิวเมนต์ เป็นข้อตั้งชุดหนึ่งบวกกับข้อสรุปที่ไม่ถูกต้องและ/หรือไม่สมเหตุผล โดยปกติจะแบ่งประเภทเป็นรูปนัย (formal) และอรูปนัย (informal) เหตุผลวิบัติรูปนัยไม่สมเหตุผลเพราะมีโครงสร้างที่ไม่ดี เทียบกับเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่ไม่สมเหตุผลเพราะเนื้อหาไม่ดี[3][4][1][5] เนื้อหาที่เป็นปัญหาของทวิบถเท็จมีรูปแบบเป็นการเลือกเชิงตรรกศาสตร์ (disjunctive claim) ซึ่งอ้างว่า ทางเลือกหนึ่งในบรรดาทางเลือกที่ยกขึ้นมาต้องเป็นจริง ซึ่งเป็นปัญหาเพราะทำเรื่องให้ง่ายเกินไปโดยกันทางเลือกที่เป็นไปได้อย่างอื่นออก[1]

รูปแบบ

แก้

เหตุและการหลีกเลี่ยง

แก้

เพื่อให้เข้าใจเหตุผลวิบัติบางชนิดได้ก็จะต้องไม่มองแค่แง่มุมทางตรรกศาสตร์ แต่ต้องเข้าใจถึงจิตวิทยาเชิงประสบการณ์ซึ่งอาจอธิบายได้ว่าทำไมมนุษย์จึงมักพลาดเกิดเหตุผลวิบัติต่าง ๆ[6][1] ในทวิบถเท็จ แนวโน้มที่มนุษย์จะจัดเหตุการณ์ให้ง่ายโดยสร้างทางเลือกเพียงแค่สองทางอาจมีบทบาทสำคัญ ภาษาต่าง ๆ มักมีคำเกี่ยวกับคู่ที่เป็นเรื่องตรงข้ามกันจำนวนมาก (เช่น ขาว ดำ เป็นต้น)[5] การทำเรื่องให้ง่ายบางครั้งจำเป็นในการตัดสินใจเมื่อมีเวลาไม่พอเพื่อให้ได้ข้อมูลหรือเพื่อพิจารณาข้อมูลให้ถี่ถ้วน

เพื่อหลีกเลี่ยงทวิบถเท็จ บุคคลต้องรู้ว่ามีทางเลือกอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุไว้ การคิดวิเคราะห์และความคิดสร้างสรรค์อาจช่วยให้เห็นว่า การมีทางเลือกแค่สองทางไม่เป็นจริงแล้วหาทางเลือกอื่น ๆ ได้[1]

ตัวอย่าง

แก้

ทางเลือกเทียม

แก้

การใช้ทางเลือกเทียมเป็นเหตุผลมักเป็นการตั้งใจกำจัดทางเลือกในระหว่าง ๆ ทางเลือกส่วนสุดทั้งสองข้าง เช่น การอ้างเหตุผลไม่ออกกฎหมายบังคับมลภาวะทางเสียงมักเป็นทางเลือกเทียม เช่น อาจกล่าวได้ว่า เสียงดังในกรุงเทพไม่ควรเข้าไปควบคุม เพราะถ้ามีกฎหมายควบคุม ก็จะทำให้ธุรกิจต่าง ๆ ต้องปิดกิจการ เหตุผลนี้สมมุติว่า ธุรกิจกลางคืนต่าง ๆ อาจจะต้องปิดตั้งแต่เช้าเพื่อไม่ให้มีเสียงดังหลังเที่ยงคืน โดยไม่ได้จำแนกว่า กฎหมายสามารถบังคับให้ธุรกิจกลางคืนติดตั้งวัสดุป้องกันเสียงเพื่อไม่ให้เสียงดังกระจายไปยังเพื่อนบ้านเรือนเคียงได้[7]

ความคิดขาวดำ

แก้

ในสาขาจิตวิทยา มีปรากฏการณ์หนึ่งคล้าย ๆ ทวิบถเท็จคือ ความคิดขาวดำ มีคนที่คิดในลักษณะนี้เป็นปกติ เช่น จัดคนอื่นให้เป็นคนดีหรือคนเลวโดยสิ้นเชิง[8]

ดูเพิ่ม

แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 Tomić, Taeda (2013). "False Dilemma: A Systematic Exposition". Argumentation. 27 (4): 347–368. doi:10.1007/s10503-013-9292-0. S2CID 144781912.
  2. Dowden, Bradley. "Fallacies: 6. Partial List of Fallacies". Internet Encyclopedia of Philosophy. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
  3. 3.0 3.1 Vleet, Van Jacob E. (2010). "Introduction". Informal Logical Fallacies: A Brief Guide. Upa.
  4. Hansen, Hans (2020). "Fallacies". The Stanford Encyclopedia of Philosophy. Metaphysics Research Lab, Stanford University. สืบค้นเมื่อ 2021-03-13.
  5. 5.0 5.1 Engel, S. Morris (1982). "4. Fallacies of presumption". With Good Reason an Introduction to Informal Fallacies.
  6. Walton, Douglas N. (1987). "3. The logic of propositions". Informal Fallacies: Towards a Theory of Argument Criticisms. John Benjamins.
  7. Desantis, Nick (2012-01-23). "Data Shows Bars With Most Noise Complaints, But Is It Just Sound and Fury?". The New York Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-08-04. สืบค้นเมื่อ 2015-10-31.
  8. AJ Giannini. "Use of fiction in therapy". Psychiatric Times. 18(7): 56-57, 2001. https://www.psychiatrictimes.com/view/use-fiction-therapy

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้