หุ่นฟาง
หุ่นฟาง (อังกฤษ: straw man) เป็นการให้เหตุผลแบบที่พบได้ทั่วไปและเป็นเหตุผลวิบัติอรูปนัยที่ยึดการให้ความประทับใจว่าได้โต้แย้งเหตุผลของอีกฝ่าย แต่ที่จริงโต้แย้งการให้เหตุผลที่อีกฝ่ายมิได้เสนอ[1] ผู้ที่ใช้เหตุผลวิบัตินี้กล่าวได้ว่า "โจมตีหุ่นฟาง" (attacking a straw man)
การให้เหตุผลหุ่นฟางตรงแบบสร้างภาพลวงว่าได้โต้แย้งหรือเอาชนะญัตติของอีกฝ่ายอย่างเบ็ดเสร็จผ่านการลอบสับเปลี่ยนญัตตินั้นด้วยญัตติอื่น เรียก "ตั้งหุ่นฟาง" (stand up a straw man) แล้วก็โต้แย้งการให้เหตุผลเท็จนั้น เรียก "ล้มหุ่นฟาง" (knock down a straw man) แทนญัตติแท้จริงของอีกฝ่าย[2][3]
มีการใช้เทคนิคนี้มาตลอดประวัติศาสตร์ในการโต้วาที โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับประเด็นที่มีอารมณ์รุนแรงสูง ซึ่งมีการให้คุณค่า "การสัประยุทธ์" ที่ดุเดือดน่าสนุกสนานและการพิชิต "ศัตรู" มากกว่าการคิดวิเคราะห์หรือทำความเข้าใจประเด็นทั้งสองฝ่าย
ตัวอย่าง
แก้มักหยิบยกการให้เหตุผลหุ่นฟางในการโต้วาทีสาธารณะอย่างการโต้วาทีห้ามเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ที่สมมติขึ้น) ดังนี้
- ก: เราควรผ่อนปรนกฎหมายห้ามเบียร์
- ข: ไม่ สังคมไหนที่เข้าถึงสิ่งมึนเมาโดยไม่หวงห้ามล้วนเสียจริยธรรมการทำงานและมีไว้เฉพาะเพื่อความพึงพอใจเฉพาะหน้าทั้งนั้น
ข้อเสนอเดิมคือให้ผ่อนปรนกฎหมายห้ามเบียร์ แต่ ข ตีความผิด/นำเสนอผิดข้อเสนอนี้โดยสนองตอบข้อเสนอดังกล่าวราวกับประโยค "เราควรมีการเข้าถึงสิ่งมึนเมาโดยไม่หวงห้าม" ดังนี้เป็นเหตุผลวิบัติเพราะ ก มิได้สนับสนุนการอนุญาตการเข้าถึงสารมึนเมาโดยไม่หวงห้ามดังกล่าว
หรืออีกตัวอย่างหนึ่ง
- ก: ควรยกเลิกระเบียบการแต่งกายของโรงเรียนและมหาวิทยาลัย
- ข: ไม่ ประเดี๋ยวก็มีคนแก้ผ้ามาเรียน
จากตัวอย่างนี้ ข ตีความผิด/นำเสนอผิดเช่นเดียวกัน
อ้างอิง
แก้- ↑ Downes, Stephen. "The Logical Fallacies". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 2016-02-25.
- ↑ Pirie, Madsen (2007). How to Win Every Argument: The Use and Abuse of Logic. UK: Continuum International Publishing Group. pp. 155–157. ISBN 978-0-8264-9894-6.
- ↑ "The Straw Man Fallacy". fallacyfiles.org. สืบค้นเมื่อ 12 October 2007.