ทรอปิกออฟแคนเซอร์

23°26′14″N 0°0′0″W / 23.43722°N -0.00000°E / 23.43722; -0.00000 (Prime Meridian)

แผนที่โลกแสดงทรอปิกออฟแคนเซอร์

ทรอปิกออฟแคนเซอร์ (อังกฤษ: Tropic of Cancer) หรือเรียก ทรอปิกเหนือ เป็นวงกลมละติจูดเหนือสุดบนโลกที่ดวงอาทิตย์ปรากฏหัวศีรษะโดยตรงเมื่อถึงจุดสูงสุด เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นปีละครั้ง คือ เวลาอายันเหนือ (Northern solstice) เมื่อซีกโลกเหนือเอียงเข้าหาดวงอาทิตย์ถึงขนาดมากที่สุด วันที่ 6 ตุลาคม 2024 เส้นนี้อยู่ที่ 23°26′09.9″ (หรือ 23.43607°) เหนือเส้นศูนย์สูตร[1]

ส่วนในซีกโลกใต้ เส้นที่กำหนดตำแหน่งใต้สุดที่ดวงอาทิตย์อาจปรากฏเหนือศีรษะโดยตรง คือ ทรอปิกออฟแคปริคอร์น สองทรอปิกนี้เป็นการวัดองศาใหญ่หรือวงกลมละติจูดใหญ่สองจากห้าอย่างซึ่งทำเครื่องหมายแผนที่โลก นอกเหนือจากวงกลมอาร์กติกและแอนตาร์กติกและเส้นศูนย์สูตร ตำแหน่งของวงกลมละติจูดเหล่านี้ (สัมพันธ์กับเส้นศูนย์สูตร) กำหนดโดยความเอียงของแกนหมุนโลกเทียบกับระนาบวงโคจรของโลก

ชื่อ

แก้

เส้นสมมตินี้เรียก ทรอปิกออฟแคนเซอร์ เพราะเมื่อดวงอาทิตย์ถึงจุดยอด (zenith) ที่ละติจูดนี้ ดวงอาทิตย์กำลังเข้าสู่ราศีกรกฎ (แคนเซอร์) หรือครีษมายันในซีกโลกเหนือ เมื่อมีการตั้งชื่อ ดวงอาทิตย์ยังอยู่ในทิศทางของกลุ่มดาวปู (cancer เป็นภาษาละตินหมายถึงปู) ในโหราศาสตร์เขตร้อน ซึ่งแบ่งสุริยวิถีเป็นสิบสองส่วน ส่วนละ 30° เริ่มจากวสันตวิษุวัต ดวงอาทิตย์จะเข้าราศีกรกฎในเวลานี้เสมอ

อ้างอิง

แก้
  1. "PHP Science Labs". สืบค้นเมื่อ 2014-01-01.