วงกลมอาร์กติก (อังกฤษ: Arctic Circle) คือวงกลมละติจูดที่อยู่เหนือที่สุด ในบรรดา 5 วงกลมละติจูดหลักบนแผนที่โลก พื้นในในบริเวณนี้เรียกว่าอาร์กติก ด้านเหนือสุดของวงกลม มีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์จะอยู่เหนือของฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง ทำให้สามารถมองเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางคืนในช่วงอายันเหนือ[1][2] และมีปรากฏการณ์ที่ดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าตลอดเวลาต่อเนื่องกัน 24 ชั่วโมง อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทำให้ไม่สามารถเห็นดวงอาทิตย์ได้แม้ในเวลากลางวัน ปรากฏการณ์เกิดขึ้นที่ขั้วโลกใต้เช่นกัน

แผนที่ของอาร์กติก แสดงให้เห็นวงกลมอาร์กติก (เส้นประสีน้ำเงิน) เส้นสีแดงคือเส้นที่แสดงให้เห็นว่าบริเวณภายในเส้นนั้นมีอุณหภูมิมีค่าเท่ากัน

ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติก ไม่ใช่ตำแหน่งที่คงที่ จนถึงวันที่ 26 พฤศจิกายน 2024 ตำแหน่งอยู่ที่ 66°33′50.2″ เหนือเส้นศูนย์สูตร[3] ตำแหน่งนี้ขึ้นอยู่กับการเอียงของแกนโลก ซึ่งมีค่าไม่คงที่ ผันแปรประมาณ 2 องศา ตลอด 40,000 ปีที่ผ่านมานี้ เป็นผลมาจากแรงกระทำจากการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์ ทำให้ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกไม่คงที่ ผลที่ตามมาคือ ตำแหน่งของวงกลมอาร์กติกขณะนี้ขยับขึ้นไปทางเหนือ ปีละ 15 เมตร

ศัพทมูลวิทยา

แก้

คำว่า arctic มีที่มาจากศัพท์ภาษากรีกว่า ἀρκτικός (arktikos: "ใกล้หมี, ทางเหนือ")[4] และมาจากคำว่า ἄρκτος (arktos: "หมี") อีกที[5]

อ้างอิง

แก้
  1. Burn, Chris. The Polar Night (PDF). The Aurora Research Institute. สืบค้นเมื่อ 28 September 2015.
  2. NB: This refers to the true geometric center which actually appears higher in the sky because of refraction by the atmosphere.
  3. "Obliquity of the Ecliptic (Eps Mean)". Neoprogrammics.com. สืบค้นเมื่อ 13 May 2014.
  4. Liddell, Henry; Scott, Robert. "Arktikos". A Greek–English Lexicon. Perseus Digital Library.
  5. Liddell, Henry; Scott, Robert. "Arktos". A Greek–English Lexicon. Perseus Digital Library.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้