ตำบลหนองราชวัตร

ตำบลในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี ประเทศไทย

หนองราชวัตร เป็นตำบลในอำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ตั้งของแหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร[2] ค้นพบในปี พ.ศ. 2546 ถือเป็นแหล่งโบราณคดียุคหินใหม่ที่เก่าแก่และสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ซึ่งพบหลักฐานหลุมฝังมนุษย์ยุคหินใหม่ (กำหนดอายุราว 3,500–4,000 ปีมาเเล้ว) จำนวนมากถึง 250 หลุม

ตำบลหนองราชวัตร
การถอดเสียงอักษรโรมัน
 • อักษรโรมันTambon Nong Ratchawat
ประเทศไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอหนองหญ้าไซ
พื้นที่
 • ทั้งหมด69.00 ตร.กม. (26.64 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)[1]
 • ทั้งหมด5,365 คน
 • ความหนาแน่น77.75 คน/ตร.กม. (201.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัสไปรษณีย์ 72240
รหัสภูมิศาสตร์721002
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
องค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตร
อบต.หนองราชวัตรตั้งอยู่ในจังหวัดสุพรรณบุรี
อบต.หนองราชวัตร
อบต.หนองราชวัตร
ที่ตั้งที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตร
พิกัด: 14°44′01.8″N 99°55′44.8″E / 14.733833°N 99.929111°E / 14.733833; 99.929111
ประเทศ ไทย
จังหวัดสุพรรณบุรี
อำเภอหนองหญ้าไซ
พื้นที่
 • ทั้งหมด69.00 ตร.กม. (26.64 ตร.ไมล์)
ประชากร
 (2566)
 • ทั้งหมด5,365 คน
 • ความหนาแน่น77.75 คน/ตร.กม. (201.4 คน/ตร.ไมล์)
รหัส อปท.06721007
ที่อยู่ที่ทำการเลขที่ 200 หมู่ 8 ตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี 72240
เว็บไซต์nongratchawat.go.th
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

ที่ตั้งและอาณาเขต

แก้

ตำบลหนองราชวัตร มีอาณาเขตติดต่อกับเขตการปกครองข้างเคียงดังต่อไปนี้[3]

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลหนองหญ้าไซ
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลหนองผักนาก และตำบลบ้านสระ (อำเภอสามชุก)
  • ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลหนองสาหร่าย และตำบลทะเลบก (อำเภอดอนเจดีย์)
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลทัพหลวง

ประวัติ

แก้

หนองราชวัตร เดิมเป็นพื้นที่หมู่ 6 ของตำบลหนองหญ้าไซ อำเภอสามชุก ปี พ.ศ. 2519 ด้านใต้ของตำบลหนองหญ้าไซมีพื้นที่กว้างขวาง และมีพื้นที่กว่า 5 หมู่บ้าน ดังนั้นนายสอน สุทธิสาร ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี จึงได้ประกาศแยกหมู่บ้าน คือ หมู่ 3 บ้านหนองทราย, หมู่ 6 บ้านหนองราชวัตร, หมู่ 10 บ้านหนองคาง, หมู่ 12 บ้านมาบพะยอม และหมู่ 13 บ้านหนองเต่าทอง ออกมาตั้งเป็นตำบลหนองราชวัตร[4] โดยอนุมัติจากนายคนึง ฦาไชย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย

ปี พ.ศ. 2526 นายจรินทร์ กาญจโนมัย ผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี ประกาศแยกพื้นที่ทิศตะวันตกของอำเภอสามชุก 4 ตำบล ได้แก่ ตำบลหนองหญ้าไซ ตำบลหนองราชวัตร ตำบลหนองโพธิ์ และตำบลแจงงาม เป็น กิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ[5] และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2533[6] ตำบลหนองราชวัตรจึงมีฐานะเป็นตำบลของอำเภอหนองหญ้าไซจนถึงปัจจุบัน

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

การปกครองส่วนภูมิภาค

แก้

ตำบลหนองราชวัตรแบ่งพื้นที่การปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ที่ 1 บ้านหนองเต่าทอง
  • หมู่ที่ 2 บ้านหนองคาง
  • หมู่ที่ 3 บ้านหนองทราย
  • หมู่ที่ 4 บ้านหนองราชวัตร
  • หมู่ที่ 5 บ้านมาบพะยอม
  • หมู่ที่ 6 บ้านทับมะเขือ
  • หมู่ที่ 7 บ้านหนองกระทุ่ม
  • หมู่ที่ 8 บ้านหนองเสือทับหมี

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แก้

ตำบลหนองราชวัตรเดิมมีฐานะเป็นสภาตำบลหนองราชวัตรหลังจากจัดตั้งตำบลขึ้น[4] ต่อมาปี พ.ศ. 2538 สภาตำบลหนองราชวัตรมี 8 หมู่บ้าน พื้นที่ 69.00 ตารางกิโลเมตร ประชากร 4,482 คน และ 1,169 ครัวเรือน[7] ปี พ.ศ. 2539 กระทรวงมหาดไทยจึงพิจารณาให้สภาตำบลหนองราชวัตรอยู่ในเงื่อนไขที่จะจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลได้ จึงได้รับการจัดตั้งเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองราชวัตร[8]

อ้างอิง

แก้
  1. ประชากรในเขตตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี เดือนธันวาคม พ.ศ. 2566 โดยกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย.
  2. "หนองราชวัตร : ชุมชนร่วมรัฐในการอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งโบราณคดี". หอสมุดแห่งชาติจังหวัดสุพรรณบุรี เฉลิมพระเกียรติ (Suphanburi National Library) กรมศิลปากร. สืบค้นเมื่อวันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2567
  3. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การกำหนดเขตตำบลในท้องที่อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 116 (50 ง): 31–53. วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2542
  4. 4.0 4.1 "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ตั้งและเปลี่ยนแปลงเขตตำบลในท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 93 (110 ง): 2418–2422. วันที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2519
  5. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง แบ่งท้องที่อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี ตั้งเป็นกิ่งอำเภอหนองหญ้าไซ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 100 (92 ง): 1836. วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2526
  6. "พระราชกฤษฎีกาตั้งอำเภอห้วยผึ้ง อำเภอวังวิเศษ อำเภอคลองหาด อำเภอป่าบอน อำเภอหนองหญ้าปล้อง อำเภอวังโป่ง อำเภอควนเนียง อำเภอหนองหญ้าไซ อำเภอบ้านนาเดิม อำเภอทุ่งฝน อำเภอสร้างคอม และอำเภอทองแสนขัน พ.ศ. ๒๕๓๓" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 107 (83 ก): (ฉบับพิเศษ) 1-4. วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2533
  7. ประชากรรายตำบลในประเทศไทย ณ วันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2538 (เขตตำบลหนองราชวัตร อำเภอหนองหญ้าไซ จังหวัดสุพรรณบุรี) สืบค้นเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2567
  8. "ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (9 ง): 5–219. วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2539