ตะยอ กีนบู้น[1][2] หรือ ตะยอ กีนมู่น[3][4] (พม่า: တရော် ကင်ပွန်း, ออกเสียง: [təjò kìɰ̃bʊ́ɰ̃] หรือ [təjò kìɰ̃mʊ́ɰ̃]) เป็นยาสระผมแบบดั้งเดิมที่ใช้ในประเทศพม่า ส่วนผสมหลักคือเปลือกของต้น มาลัย (ตะยอ) และผล ส้มป่อย (กีนบู้น) อาจเติมผลไม้ตระกูลมะนาวและมะกรูดลงในส่วนผสมด้วย การสระผมด้วย ตะยอ กีนบู้น เป็นประเพณีสำคัญในวัฒนธรรมพม่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ กษัตริย์พม่าล้วนเคยสระพระเกศาด้วย ตะยอ กีนบู้น ในพระราชพิธีสระพระเกศา (ခေါင်းဆေး မင်္ဂလာပွဲ) โดยเชื่อว่าการใช้ยาสระผมนี้จะขจัดโชคร้ายและนำโชคดีมาให้[5] ในปัจจุบันชาวพม่าจำนวนมากยังคงถือธรรมเนียมการสระผมด้วย ตะยอ กีนบู้น ในวันปีใหม่พม่าเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและโชคร้ายในอดีตไว้เบื้องหลัง[6][7]

ยาสระผม ตะยอ กีนบู้น แบบดั้งเดิม

นอกเหนือจากการใช้ในพิธีกรรมแล้ว ชาวพม่ายังใช้ ตะยอ กีนบู้น อย่างแพร่หลาย ยาสระผมชนิดนี้มีวางจำหน่ายทั่วไปในตลาดกลางแจ้ง โดยทั่วไปจะบรรจุในถุงพลาสติก[8][9]

ตำนาน

แก้
 
รูปเคารพราชินีปานทวา

ตามตำนาน พระเจ้าดุตะบอง (ဒွတ္တဘောင်) แห่งอาณาจักรศรีเกษตรมีอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติจากไฝที่อยู่โดดเด่นกลางหน้าผาก เป็นที่รู้จักในนามกษัตริย์สามตา พระเจ้าดุตะบองพิชิตเบะตะโน่และรับปานทวา (ပန်ထွာ) ผู้ปกครองดินแดนเข้ามาเป็นมเหสีของพระองค์[10][11] แม้ว่าจะปราชัย แต่ราชินีปานทวาก็สาบานว่าจะยึดอาณาจักรของพระองค์กลับคืนมา เมื่อทราบว่าไฝของพระเจ้าดุตะบองเป็นที่มาของอิทธิฤทธิ์ พระองค์จึงวางแผนที่จะลดอิทธิฤทธิ์ของไฝ โดยถวายผ้าเช็ดหน้าที่ทำจาก ทะเมน (ผ้าถุง) แด่กษัตริย์ เมื่อใช้ผ้าเช็ดหน้า พระเจ้าดุตะบองก็เสื่อมอิทธิฤทธิ์ ในไม่ช้าพระองค์ต้องเผชิญกับกบฏมากมายและต้องหลบหนีออกจากเมืองหลวง ขณะหลบหนีพระองค์พักอยู่ใต้ต้น ตะยอ ขนาดใหญ่ที่รายล้อมด้วยต้น กีนบู้น เมื่อฝนเริ่มตก เศียรของพระองค์ก็ชุ่มไปด้วยยาจากต้น ตะยอ และ กีนบู้น ซึ่งขจัดมลทินจากผ้าเช็ดหน้าของปานทวา และไฝอิทธิฤทธิ์ของพระองค์ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง นับจากนั้นกษัตริย์พม่าที่สืบทอดต่อ ๆ มา ก็ใช้ส่วนผสม ตะยอ กีนบู้น สระพระเกศาตามพิธีกรรมเพื่อขับไล่ความชั่วร้ายออกไปและเพิ่มพลังให้กับพระองค์[10]

วัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Burma Research Group (1987). Burma and Japan: Basic Studies on Their Cultural and Social Structure. Burma Research. p. 299. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  2. SEAMEO Regional Centre for History and Tradition (2005). Traditions, 2005. Yangon. p. 51. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  3. Hardiman, John Percy (1901). Sir James George Scott (บ.ก.). Gazetteer of Upper Burma and Shan States Part 2. Vol. 2. Government Press, British Burma. p. 252. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  4. United States National Herbarium, United States National Museum (2003). Contributions from the United States National Herbarium. Smithsonian Institution Press. p. 419. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  5. "Soap Nut (ကင်ပွန်းသီး)". Hello Sayarwon (ภาษาพม่า). 25 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  6. "နှစ်ဆန်းတစ်ရက်နေ့". Eleven Media Group (ภาษาพม่า). 17 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  7. "မြန်မာရိုးရာ အတာနှစ်ကူး ခေါင်းဆေးမင်္ဂလာ". DVB (ภาษาพม่า). 14 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  8. "Myanmar Shampoo". www.myanmars.net (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 13 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  9. "Yan Win (Taung Da Gar) – Myanmar Shampoo". THIT HTOO LWIN (Daily News) (ภาษาพม่า). 16 April 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  10. 10.0 10.1 "ဆေးဖက်ဝင်အပင်များနှင့် အဓိကပျောက်ကင်းနိုင်သောရောဂါများ". Myawawady News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03.
  11. "တရော်ကင်းပွန်းဖြစ်လာပုံ". Ayeyar Myay (ภาษาพม่า). 12 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 3 August 2022.
  12. "စစ်အာဏာရှင်ကို တရော်ကင်ပွန်းနှင့် တော်လှန်သည့် မန္တလေး". Mizzima (ภาษาพม่า). 14 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.