ตะจาน (พม่า: သင်္ကြန်; MLCTS: Thinjan or Thajan, มอญ: သၚ်္ကြန် Saṅkranเกี่ยวกับเสียงนี้ listen [θɪ́ɰ̃dʑàɰ̃]; ยะไข่: [θɔ́ɰ̃kràɰ̃]; มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "สงกรานต์" ซึ่งหมายถึง "ดวงอาทิตย์โคจรจากราศีมีนสู่ราศีเมษ"[1])

ตะจาน
ภาพวาดเทศกาลตะจานในยุคอาณาจักรพุกาม
ชื่อทางการตะจาน
ชื่ออื่นวันปีใหม่ประเทศพม่า
จัดขึ้นโดยชาวพม่า
ความสำคัญเป็นเครื่องหมายปีใหม่ของชาวพม่า
การถือปฏิบัติสาดน้ำ, ทำบุญ, กาดอว์
เริ่ม14 เมษายน (2561)
สิ้นสุด16 เมษายน (2561)
วันที่13/14–16 เมษายน
ความถี่ทุกปี
ส่วนเกี่ยวข้องวันตรุษเขมร, วันตรุษลาว, วันปีใหม่ศรีลังกา, วันตรุษไทย
นักท่องเที่ยวชาวตะวันตกร่วมเล่นสาดน้ำ ในมัณฑะเลย์ ปัจจุบันนี้

ตะจานเป็นวัฒนธรรมของชาวพม่าแต่โบราณไม่ต่ำกว่า 3,000 ปี และถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ เพื่อกำหนดวันขึ้นปีใหม่ให้สะดวกขึ้น วันขึ้นปีใหม่ของพม่าจึงกำหนดตามปฏิทินสากล ซึ่งตรงกับเดือนเมษายน โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน ถึง 16 เมษายน ช่วงนี้จะเป็นการเล่นสาดน้ำต้อนรับปีใหม่ และในวันที่ 17 เมษายน ถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ เดิมทีทางการพม่าได้กำหนดระหว่างวันที่ 12 เมษายนจนถึงวันที่ 16 เมษายน เป็นวันหยุดราชการ แต่ปัจจุบันได้กำหนดให้เป็นวันหยุดราชการไปจนถึงวันที่ 22 เมษายน

ตะจานคล้ายกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน คือ การเล่นสาดน้ำเพื่อคลายร้อน และเปรียบเหมือนเป็นการลบล้างสิ่งไม่ดีจากปีเก่าเพื่อความเป็นสิริมงคล ในสมัยอดีตจะใช้การเล่นสาดน้ำอย่างเบา ๆ โดยใช้ยอดหว้าอ่อนชุบใส่น้ำปรุงแล้วแตะเบา ๆ บนไหล่ของผู้ที่จะเล่นสาดน้ำด้วย นอกจากการเล่นสนุกสนานแล้ว ยังมีประเพณีบุญ คือ การทำบุญเพื่อความเป็นสิริมงคล เช่น การตักบาตร, สรงน้ำพระพุทธรูป, ถือศีลปฏิบัติธรรม, ทำความสะอาดวัดหรือศาสนสถาน, ทำบุญบ้าน, สระผมหรืออาบน้ำทำความสะอาดให้แก่คนชราที่ไร้ญาติ รวมถึงการปล่อยสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก, ปลา หรือสัตว์ใหญ่อย่าง วัวหรือควาย นอกจากนี้แล้วผู้คนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ในต่างถิ่น ก็จะเดินทางกลับสู่ถิ่นเกิดเพื่อกราบไหว้ผู้ใหญ่ในครอบครัว เช่น พ่อแม่, ปู่ย่าตายาย, ลุงป้าน้าอา เป็นต้น และเชื่อว่าหากได้สระผมหรือตัดเล็บก่อนไปทำบุญที่วัด จะเป็นการตัดสิ่งไม่ดีในปีเก่าทิ้งไปและรับสิ่งดี ๆ เข้ามา[2]

ในเทศกาลตะจานนี้มีอาหารพิเศษหลายอย่าง เช่น โหมะน์โล่นเยบอ (မုန့်လုံးရေပေါ်) เป็นขนมที่ทำรับประทานกันโดยเฉพาะในช่วงนี้ โดยมีความหมายถึง ความสามัคคี เพราะเมื่อทำขนมนี้ต้องใช้ผู้คนหลายคน และแจกจ่ายแก่บุคคลอื่นที่ผ่านไปมา และ ตะจานทะมี่น (သင်္ကြန်ထမင်း) เป็นข้าวสวยที่แช่ในน้ำที่มีกลิ่นเทียนหอม รับประทานกับเครื่องเคียง คือ ปลาช่อนแห้งผัดกับหอมเจียวและยำมะม่วงดอง[3]

อ้างอิง แก้ไข

  1. Min Kyaw Min. "Thingyan". Northern Illinois University. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-03-15. สืบค้นเมื่อ 2014-04-11.
  2. "ข่าวฟ้ายามเย็น 13 04 59 เบรก1". ฟ้าวันใหม่. 14 April 2016. สืบค้นเมื่อ 13 April 2016.
  3. หน้า 22 การศึกษา, ปีใหม่พม่า หรือ เทศกาลน้ำ 'ตะ-จาน' โดย ตูซาร์ นวย. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,556: วันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2556

ดูเพิ่ม แก้ไข