ตะยอ กินปู้น (พม่า: တရော် ကင်ပွန်း, ออกเสียง: [təjò kìɰ̃mʊ́ɰ̃] หรือ ออกเสียง: [təjò kìɰ̃bʊ́ɰ̃]; ทับศัพท์ ตะยอ กินมู้น[1][2] หรือ ตะยอ กินบู้น[3][4]) เป็นแชมพูแบบดั้งเดิมที่ใช้ในประเทศพม่า ส่วนผสมหลักคือเปลือกของต้น มาลัย (ตะยอ) และผล ส้มป่อย (กินปู้น) อาจเติมผลไม้ตระกูลมะนาวและมะกรูดลงในส่วนผสมด้วย การสระผมด้วย ตะยอ กินปู้น เป็นประเพณีสำคัญในวัฒนธรรมพม่ามาตั้งแต่สมัยโบราณ กษัตริย์พม่าล้วนเคยสระผมด้วย ตะยอ กินปู้น ในพระราชพิธีสระผม (ခေါင်းဆေး မင်္ဂလာပွဲ) โดยเชื่อว่าการใช้แชมพูนี้จะขจัดโชคร้ายและนำโชคดีมาให้[5] ปัจจุบันยังคงเป็นธรรมเนียมที่ชาวพม่าจำนวนมากจะสระผมด้วย ตะยอ กินปู้น ใน วันปีใหม่ของชาวพม่า เพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกและโชคร้ายในอดีตไว้เบื้องหลัง[6][7]

แชมพู ตะยอ กินปู้น แบบดั้งเดิม

นอกเหนือจากการใช้ในพิธีกรรม ตะยอ กินปู้น ยังคงใช้อย่างแพร่หลายโดยชาวพม่า และมีจำหน่ายทั่วไปในตลาดกลางแจ้ง โดยทั่วไปจะใส่ในถุงพลาสติก[8][9]

ตำนาน

แก้
 
รูปเคารพราชินีพานตะวา

ตามตำนาน พระเจ้าดุตะบอง (ဒွတ္တဘောင်) แห่ง อาณาจักรศรีเกษตร ทรงมีอิทธิฤทธิ์เหนือธรรมชาติจากไฝที่อยู่โดดเด่นกลางหน้าผาก เป็นที่รู้จักในนามกษัตริย์สามตา พระเจ้าดุตะบองได้พิชิต เบะตะโน่ และรับ พานตะวา (ပန်ထွာ) ผู้ปกครองรัฐเข้ามาเป็นมเหสีของพระองค์[10][11] แม้ว่าจะปราชัย แต่ราชินีพานตะวาก็สาบานว่าจะยึดอาณาจักรของพระองค์กลับคืนมา เมื่อพบว่าไฝของกษัตริย์เป็นที่มาของอิทธิฤทธิ์ พระองค์จึงวางแผนที่จะลดอิทธิฤทธิ์ของไฝ โดยมอบผ้าเช็ดหน้าซึ่งทำจาก ทะเมียน (โสร่ง) ของพระองค์ให้แก่กษัตริย์ เมื่อใช้ผ้าเช็ดหน้าพระองค์สูญเสียอิทธิฤทธิ์ ในไม่ช้าพระองค์ก็เผชิญกับการกบฏมากมาย และต้องหลบหนีออกจากเมืองหลวง ขณะหลบหนีพระองค์พักอยู่ใต้ต้น ตะยอ ขนาดใหญ่ ที่รายล้อมด้วยต้น กินปู้น เมื่อฝนเริ่มตก เศียรของพระองค์ชุ่มไปด้วยยาจากต้น ตะยอ และ กินปู้น ซึ่งขจัดมนต์จากผ้าเช็ดหน้าของพานตะวา และอิทธิฤทธิ์ของพระองค์ก็ปรากฏขึ้นอีกครั้ง นับจากนั้นกษัตริย์พม่าที่สืบทอดต่อ ๆ มา ก็ใช้ส่วนผสม ตะยอ กินปู้น สระผมตามพิธีกรรมเพื่อขับไล่ความชั่วร้ายออกไป และเพิ่มพลังให้กับพวกเขา[10]

วัฒนธรรมสมัยนิยม

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. Hardiman, John Percy (1901). Sir James George Scott (บ.ก.). Gazetteer of Upper Burma and Shan States Part 2. Vol. 2. Government Press, British Burma. p. 252. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  2. United States National Herbarium, United States National Museum (2003). Contributions from the United States National Herbarium. Smithsonian Institution Press. p. 419. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  3. Burma Research Group (1987). Burma and Japan: Basic Studies on Their Cultural and Social Structure. Burma Research. p. 299. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  4. SEAMEO Regional Centre for History and Tradition (2005). Traditions, 2005. Yangon. p. 51. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-07.
  5. "Soap Nut (ကင်ပွန်းသီး)". Hello Sayarwon (ภาษาพม่า). 25 September 2017. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2021. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  6. "နှစ်ဆန်းတစ်ရက်နေ့". Eleven Media Group (ภาษาพม่า). 17 April 2019. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  7. "မြန်မာရိုးရာ အတာနှစ်ကူး ခေါင်းဆေးမင်္ဂလာ". DVB (ภาษาพม่า). 14 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  8. "Myanmar Shampoo". www.myanmars.net (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 13 November 2018. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  9. "Yan Win (Taung Da Gar) – Myanmar Shampoo". THIT HTOO LWIN (Daily News) (ภาษาพม่า). 16 April 2011. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 September 2019. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.
  10. 10.0 10.1 "ဆေးဖက်ဝင်အပင်များနှင့် အဓိကပျောက်ကင်းနိုင်သောရောဂါများ". Myawawady News. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2022-08-17. สืบค้นเมื่อ 2022-08-03.
  11. "တရော်ကင်းပွန်းဖြစ်လာပုံ". Ayeyar Myay (ภาษาพม่า). 12 July 2020. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 3 August 2022.
  12. "စစ်အာဏာရှင်ကို တရော်ကင်ပွန်းနှင့် တော်လှန်သည့် မန္တလေး". Mizzima (ภาษาพม่า). 14 April 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 17 August 2022. สืบค้นเมื่อ 2 August 2022.