ดารุณี กฤตบุญญาลัย

ดารุณี กฤตบุญญาลัย (8 มีนาคม พ.ศ. 2492 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566) ชื่อเล่น ดา เป็นนักธุรกิจหญิงและนักแสดงหญิงชาวไทย โดยรับบทในซีรีส์เรียลลิตี้โชว์ ไฮโซบ้านนอก นอกจากนี้ ยังมีผลงานจัดรายการวิทยุ พิธีกร นักเขียน นักพูด คอลัมน์นีสต์ รับเชิญแสดงละครโทรทัศน์ โฆษณา และภาพยนตร์ และยังเป็นแกนนำแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.)

ดารุณี กฤตบุญญาลัย
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด8 มีนาคม พ.ศ. 2492
อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย ประเทศไทย
เสียชีวิต24 ธันวาคม พ.ศ. 2566 (74 ปี)
สหรัฐอเมริกา
คู่สมรสประกิจ กฤตบุญญาลัย
บุตร3 คน
อาชีพนักแสดง, นักธุรกิจ, นักเคลื่อนไหว
ปีที่แสดงพ.ศ. 2542 - 2564
ฐานข้อมูล
IMDb
ThaiFilmDb

ประวัติ

แก้

ดารุณี กฤตบุญญาลัย เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2492 ที่อำเภอท่าบ่อ จังหวัดหนองคาย[1] จบการศึกษาชั้นมัธยมจากโรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ และระดับปริญญาตรี ที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จบปริญญาโท เศรษฐศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชา เศรษฐศาสตร์การเมืองรุ่นที่ 4 จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และเธอยังเคยเข้าร่วมการแข่งขันในรายการแฟนพันธุ์แท้ ตอน เพชร เมื่อปี พ.ศ. 2546 และเป็นผู้ชนะในเทปดังกล่าว

ต่อมา เป็นหนึ่งในผู้ปราศรัยบนเวทีชุมนุมของคนเสื้อแดงช่วงปี พ.ศ. 2551 - พ.ศ.2553 เป็นแกนนำ นปช. คนหนึ่งแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ เคยต้องหนีตายจากการสลายการชุมนุมที่ราชประสงค์ วันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ลี้ภัยครั้งแรก ไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน 1 ปี กับอีก 5 เดือน กลับสู่ประเทศไทย เมื่อเดือน ตุลาคม 2554 ในปี พ.ศ. 2556 ถูกศาลแพ่ง ดำเนินคดี ข้อกล่าวหาหมิ่นศาล พามวลชนไปวางพวงหรีดที่บันไดในศาล ในฐานะจำเลยที่ 1 เพราะเรียกร้องให้ศาลออกมาตอบ กรณี ศาลวินิจฉัย 2 มาตรฐาน ในการออก พรก.ฉุกเฉิน สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชสชีวะ กับ การออก พรก.ฉุกเฉิน ของรัฐบาลนายกรัฐมนตรี ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

ต่อมาเมื่อมีการทำรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทหารก่อรัฐประหาร เมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ทางคณะรักษาความสงบแห่งชาติออกคำสั่งเรียกให้ดารุณีไปรายงานตัว แต่เธอมิได้ไปตามคำสั่งดังกล่าว จึงถูกศาลทหารออกหมายจับ

ชีวิตครอบครัว สมรสกับ นายประกิจ กฤตบุญญาลัย มีบุตร-ธิดา 3 คน คือ ร้อยโทหญิงวิรุฬกานต์ กฤตบุญญาลัย ทหารอากาศ นักร้อง นักธุรกิจ (ชื่อเล่น: น้ำฝน) มีผลงานเขียนหนังสือสองเล่มคือ "หมื่นพันวันลูก" และ "รักแท้ แม่ไม่ว่าหรอก", ธารนที กฤตบุญญาลัย นักธุรกิจ สำเร็จการศึกษาเป็นเชฟ จากสถาบันกอร์ดองเบลอ (ชื่อเล่น: น้ำพุ) และ ไอยคุปต์ กฤตบุญญาลัย นักธุรกิจ (ชื่อเล่น: น้ำนิ่ง) ซึ่งร่วมจัดตั้ง บริษัท ฮาวคัม เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จำกัด ร่วมกับ พานทองแท้ ชินวัตร เพื่อทำธุรกิจ

เมื่อวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2562 ดารุณี กฤตบุญญาลัย ถูกส่งตัวเข้ารับการรักษา ผ่าตัดฉุกเฉิน ที่โรงพยาบาล ณ สหรัฐ จากสาเหตุ ลำไส้ใหญ่อุดตัน ต่อมาอาการดีขึ้นเป็นปกติ[2] ก่อนจะเสียชีวิตลงเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566[3]

การทำงาน

แก้
  • รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท สยาม เออาร์ไอ จำกัด[ต้องการอ้างอิง][โรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศ ยี่ห้อ..ซีเนเตอร์..เป็นของคนไทย 100%]
  • หุ้นส่วนผู้จัดการ ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล พีแอนด์พี เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด[ต้องการอ้างอิง]
  • รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีเนเตอร์ (ประเทศไทย) จำกัด

บทบาททางสังคม

แก้
  • คณะกรรมการฝ่ายหารายได้ สภาสตรีแห่งชาติ[ต้องการอ้างอิง]
  • ประธานฝ่ายหารายได้ โครงการหัวใจไร้สาร ของ ปปส.

(องค์การปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ)[ต้องการอ้างอิง]

  • แกนนำ นปช.
  • เลขาธิการสมัชชาประชาชนเพื่อประชาธิปไตย กลุ่มเคลื่อนไหวทางการเมืองไทย ที่ สหรัฐ
  • กรรมการ องค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนคนไทย(ตั้งอยู่ที่สหรัฐ)ตั้งแต่ พ.ศ. 2557
  • หัวหน้าทีมจังหวัดหนองคาย ในรายการยกสยาม ของเวิร์คพอยท์

ผลงานวงการบันเทิง

แก้
  • 2542 ละครเรื่อง วิมานเมขลา
  • 2543 ละครเรื่อง อาญารัก (รับเชิญ)
  • 2544 ละครเรื่อง มายา (รับเชิญ)
  • 2544 ละครเรื่อง ดาวหลงฟ้า ภูผาสีเงิน (รับเชิญ)
  • 2545 ละครเรื่อง เจ้าชายหัวใจเกินร้อย
  • 2545 ละครเรื่อง หาดหรรษา
  • 2545 ละครเรื่อง ยอดรักร้อยล้าน
  • 2545 ละครเรื่อง มณีเมขลา
  • 2545 ละครเรื่อง ต้นรักดอกงิ้ว (รับเชิญ)
  • 2546 ละครเรื่อง คุณย่าดอตคอม
  • 2546 ละครเรื่อง เกล็ดมรกต
  • 2546 ละครเรื่อง เมืองมายา The Series ตอน สุภาพบุรุษมายา
  • 2546 ละครเรื่อง บุษบาสามช่า
  • 2546 ละครเรื่อง เพลงรักเพลงปืน
  • 2547 ละครเรื่อง เสน่ห์จันทร์
  • 2547 ละครเรื่อง เจ้าสาวสาละวัน
  • 2547 ละครเรื่อง รัตตมณี ร.ศ.220 (รับเชิญ)
  • 2548 ละครเรื่อง คุณชายทรานซิสเตอร์
  • 2548 ละครเรื่อง นางฟ้าไซเบอร์ (รับเชิญ)
  • 2548 ละครเรื่อง อยู่กับก๋ง
  • 2549 ละครเรื่อง คนทะเล
  • 2549 ละครเรื่อง อนันตาลัย
  • 2549 ละครเรื่อง สัญญาแค้นแสนรัก (รับเชิญ)
  • 2555 ละครเรื่อง วุ่นวายสบายดี
  • 2564 ละครเรื่อง พระจันทร์ซ่อนดาว (รับเชิญ)
  • พรีเซนเตอร์ โฆษณาประหยัดพลังงานของกระทรวงพลังงาน
  • ดีเจวิทยุ ลูกทุ่งเอฟเอ็ม 95 อสมท.
  • หนังสือพ็อกเก๊ตบุ๊ค “นู้ด-เดิร์น ดารุณี”
  • หนังสือพ๊อกเก๊ตบุ๊ค “คิดเหมือน คิดต่าง คิดอย่าง ดารุณี”

ภาพยนตร์

แก้

รายการโทรทัศน์

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. ปีฉลู ก้าวย่างบนเส้นทางสายบันเทิงของ...ดารุณี กฤตบุญญาลัย เก็บถาวร 2005-09-07 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน สกุลไทย สิงหาคม 2545
  2. “ดารุณี” อดีตไฮโซ ถูกหามเข้า รพ.ที่สหรัฐหลังปวดท้องรุนแรง มติชนออนไลน์ สืบค้นเมื่อ 8 พฤษภาคม 2562
  3. "อาลัย "ดารุณี กฤตบุญญาลัย" ไฮโซชื่อดัง คนใกล้ชิดแจ้งข่าว เสียชีวิตแล้ว". สนุก.คอม. 24 ธันวาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 24 ธันวาคม 2023.{{cite news}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้