ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน

คอห์ลีล จิบราน

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน (อาหรับ: جبران خليل جبران) หรือ คาห์ลีล จิบราน (อังกฤษ: Kahlil Gibran, ออกเสียง: /ˈkɑːliːl dʒɪˈbrɑːn/; 6 มกราคม พ.ศ. 2426 – 10 เมษายน พ.ศ. 2474) เป็นกวี, นักเขียน และศิลปินชาวเลบานอน มีผลงานที่เป็นที่รู้จักกันดีคือ ปรัชญาชีวิต[1] (The Prophet) ซึ่งเป็นตัวอย่างของงานเขียนแนวสร้างแรงบันดาลใจ (inspirational fiction) เขาเป็นกวีที่มีผลงานขายดีตลอดกาลเป็นอันดับ 3 รองจากเชกสเปียร์และเล่าจื๊อ[2]

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน
ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2456
ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2456
เกิดญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน
6 มกราคม ค.ศ. 1883(1883-01-06)
บชัรรี, จักรวรรดิออตโตมัน
เสียชีวิตเมษายน 10, 1931(1931-04-10) (48 ปี)
นครนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
อาชีพกวี, จิตรกร, นักเขียน, นักปรัชญา, นักเทววิทยา
สัญชาติเลบานอน
ช่วงเวลาพ.ศ. 2448-2474
แนวกวีนิพนธ์, เรื่องสั้น, นิทานคติสอนใจ
ผลงานที่สำคัญThe Prophet (พ.ศ. 2466)

ประวัติ แก้

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เกิดเมื่อ พ.ศ. 2426 ที่เมืองบชัรรี (Bsharri) ทางตอนเหนือของเลบานอน (ขณะนั้นเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน) ในครอบครัวคริสเตียนนิกายมาโรไนต์ เขาไม่ได้เข้าศึกษาในโรงเรียน แต่มีนักบวชช่วยสอนภาษาอาหรับและภาษาซีรีแอกให้ ก่อนจะย้ายไปพำนักที่สหรัฐอเมริกา ที่นั่นเขาได้ตีพิมพ์ The Madman หนังสือเล่มแรกของเขาที่เป็นภาษาอังกฤษ และได้เข้าร่วม The Pen League ซึ่งเป็นสมาคมนักเขียนชาวอาหรับ-อเมริกัน นอกจากงานเขียนแล้ว เขายังมีผลงานวาดภาพเหมือนบุคคลต่าง ๆ เช่น คาร์ล ยุง, โอกุสต์ รอแด็ง และวิลเลียม บัตเลอร์ เยตส์ อีกด้วย ในปี พ.ศ. 2466 เขาได้ตีพิมพ์ ปรัชญาชีวิต ซึ่งเป็นบทกวีรวมเล่มที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ได้รับการแปลไปแล้วกว่า 40 ภาษาทั่วโลก[3]

ญิบรอน เคาะลีล ญิบรอน เสียชีวิตที่สหรัฐอเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2474 ด้วยโรคตับแข็งและวัณโรค รวมอายุได้ 48 ปี ร่างของเขาถูกฝังที่บ้านเกิดตามความประสงค์สุดท้ายของเขา

ผลงานที่ติพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ แก้

  • The Madman (พ.ศ. 2461)
  • Twenty Drawings (พ.ศ. 2462)
  • The Forerunner (พ.ศ. 2463)
  • The Prophet (พ.ศ. 2466)
  • Sand and Foam (พ.ศ. 2469)
  • Kingdom of the Imagination (พ.ศ. 2470)
  • Jesus, The Son of Man (พ.ศ. 2471)
  • The Earth Gods (พ.ศ. 2474)

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้