นิทานคติสอนใจ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
นิทานคติสอนใจ[1] (อังกฤษ: Parable) หมายถึงวรรณกรรมหรือโคลงกลอนสั้น ๆ ที่แฝงคำสอนหรือบทเรียนทางจริยธรรม หรือทางศาสนา “นิทานคติสอนใจ” ต่างจาก “นิทานอุทาหรณ์” (Fable) ตรงที่นิทานเฟเบิลจะใช้สัตว์ ต้นไม้ สิ่งของ หรือธรรมชาติเป็นองค์ประกอบของเรื่อง ขณะที่องค์ประกอบของ “ตำนานแฝงคำสอน” จะเป็นมนุษย์

นักวิชาการทางพันธสัญญาใหม่จะใช้คำว่า “นิทานคติสอนใจ” เฉพาะนิทานคติสอนใจที่เกี่ยวกับพระเยซูเท่านั้น[2] ซึ่งตามความหมายจริง ๆ ของคำนี้จะกว้างกว่านั้น
คำว่า “นิทานคติสอนใจ” มาจากภาษากรีก “παραβολή'” หรือ “parabolē” ที่เป็นคำที่นักวาทศาสตร์ชาวกรึกใช้ในการบรรยายการใช้เรื่องที่แต่งขึ้นมาสั้น ๆ เพี่อเป็นตัวอย่าง ต่อมาความหมายก็เปลี่ยนไปเป็นการเล่าเรื่องที่แฝงคำสอนทางจริยธรรม[3]
ตัวอย่าง “นิทานคติสอนใจ” ที่เป็นที่รู้จักกันก็ได้แก่ตำนานของพระเยซูเรื่อง “นิทานคติสอนใจเรื่องลูกคนโปรด” (Parable of the Prodigal Son) หรือตำนานที่เขียนโดยอิกเนซิ คราซิคิ (Ignacy Krasicki) ผู้เป็นบาทหลวงชาวโปแลนด์ เรื่อง “ตำนานคนตาบอดกับคนขาหัก” (The Blind Man and the Lame)
อ้างอิง แก้
- ↑ "ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-07-15. สืบค้นเมื่อ 2012-02-22.
- ↑ John P. Meier, “A Marginal Jew”, volume II, Doubleday, 1994.
- ↑ Henry Watson Fowler|H.W. Fowler, Fowler's Modern English Usage|Modern English Usage, Oxford, Clarendon Press, 1958.