ฌุสตีน เอแน็ง หรือชื่อเต็มว่า ฌุสตีน เอแน็ง-อาร์แดน[2] (ฝรั่งเศส: Justine Henin-Hardenne) เกิดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2525 เป็นนักเทนนิสอาชีพหญิงชาวเบลเยียม และเป็นอดีตมืออันดับ 1 ของโลก ในวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 เธอได้ประกาศเลิกเล่นเทนนิสอาชีพอย่างกะทันหัน ซึ่งขณะนั้นเธอมีอายุได้ 25 ปี และเป็นมืออันดับ 1 ของโลก[3][4] บิลลี จีน คิง ได้กล่าวยกย่องเธอว่า "เมื่อได้เปรียบเทียบแล้ว เอแน็งถือเป็นนักเทนนิสอาชีพที่ยอดเยี่ยมที่สุดในรุ่นของเธอ"[5] ต่อมาในวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2552 เอแน็งได้ประกาศว่าเธอจะกลับมาลงแข่งขันเทนนิสอาชีพอีกครั้งหนึ่ง

ฌุสตีน เอแน็ง
สถิติอาชีพ525–115
สถิติอาชีพ47–35
อัปเดตล่าสุดเมื่อ: 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2551
สถิติเหรียญโอลิมปิก
ตัวแทนของ ธงของประเทศเบลเยียม เบลเยียม
เทนนิสประเภทหญิง
เหรียญทอง - ชนะเลิศ 2547 กรุงเอเธนส์ ประเภทเดี่ยว
ฌุสตีน เอแน็ง
ฌุสตีน เอแน็ง

เอแน็งคว้าตำแหน่งชนะเลิศเทนนิสดับเบิลยูทีเอ ทัวร์ในประเภทเดี่ยวทั้งสิ้น 41 รายการ และได้รับเงินรางวัลรวมจากการเล่นเทนนิสอาชีพไปกว่า 19 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยเป็นรายการระดับแกรนด์สแลม 7 รายการ (ประกอบด้วย 1 ออสเตรเลียนโอเพน, 4 เฟรนช์โอเพน และ 2 ยูเอสโอเพน) นอกจากนี้เธอยังสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศรายการชิงแชมป์ปลายปี หรือที่เรียกว่าดับเบิลยูทีเอ แชมป์เปียนชิพ ได้ 2 ครั้งด้วยกัน รวมไปถึงการคว้าเหรียญทองจากการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน พ.ศ. 2547 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ

ผู้เชี่ยวชาญในวงการเทนนิสได้กล่าวถึงเหตุผลที่ทำให้เอแน็งประสบความสำเร็จในการเล่นเทนนิสอาชีพ[6][7] ว่ามาจากจิตใจที่แข็งแกร่ง ความสมบูรณ์และความหลากหลายในเกมการเล่น ความเร็วและฟุตเวิร์ต รวมไปถึงการตีแบ็กแฮนด์มือเดียวของเธอ (ซึ่ง จอห์น แมคเอนโร ได้กล่าวชื่นชมว่า เป็นแบ็กแฮนด์มือเดียวที่สวยที่สุดของนักเทนนิสทั้งชายและหญิง[8])

รูปแบบการเล่นเทนนิส

แก้

เอแน็ง เป็นผู้ที่มีแบ็กแฮนด์มือเดียวที่โดดเด่น และถือเป็นเรื่องที่หาได้ยากยิ่งสำหรับนักเทนนิสหญิงที่จะตีแบ็กแฮนด์มือเดียวในสมัยนี้ แบ็กแฮนด์ของเอแน็งเป็นหนึ่งในอาวุธประจำตัวของเธอที่ทรงประสิทธิภาพ แข็งแกร่ง และแม่นยำ เธอสามารถตีแบ็กแฮนด์วินเนอร์ได้จากทุกที่ของคอร์ต แบ็กแฮนด์สไลด์ของเธอก็ถือเป็นหนึ่งในแบ็กแฮนด์สไลด์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดของโลกเช่นกัน อย่างไรก็ตามโฟร์แฮนด์ของเอแน็งก็ถือเป็นอาวุธหนึ่งที่คู่ต่อสู้จะประมาทไม่ได้ ซึ่งเมื่อเธอท็อปฟอร์มเมื่อไร เธอก็จะเป็นหนึ่งในผู้เล่นที่ตีลูกวินเนอร์ได้มากมาย โดยเป็นวินเนอร์ที่มาจากโฟร์แฮนด์กราวด์สโตรกเป็นส่วนใหญ่

แม้ว่าเอแน็งจะตัวเล็ก แต่เธอก็มีการเสิร์ฟที่ทรงพลัง ซึ่งมีความเร็วสูงสุดคือ 196 กิโลเมตร/ชั่วโมง (122 ไมล์/ชั่วโมง) ณ การแข่งขันเทนนิสรายการ แฟมิลี เซอเคิล คัพ[9] พ.ศ. 2548 ฟุตเวิร์ก การทรงตัว และการควบคุมคอร์ตก็ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่เอแน็งทำได้ดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในคอร์ตดิน ซึ่งเธอสามารถปรับเปลี่ยนเกมการเล่นจากการตั้งรับมาเป็นการรุกได้อย่างรวดเร็ว เอแน็งมีทักษะการวอลเลย์ที่ดีและสามารถเล่นสไตล์การเสิร์ฟและวอลเลย์ได้บ่อยครั้ง

รางวัล

แก้

พ.ศ. 2545

แก้
  • UEPS European Sportswoman of the Year.[10]

พ.ศ. 2546

แก้

พ.ศ. 2547

แก้

พ.ศ. 2548

แก้
  • Family Circle/State Farm "Player Who Makes A Difference".
  • Whirlpool 6th Sense Player of the Year.

พ.ศ. 2549

แก้
  • Appointed UNESCO Champion for Sport.[11]
  • ITF World Champion.
  • Belgian Sportswoman of the Year
  • Member of the Belgian Sporting Team of the Year (Fed Cup - Team)
  • UEPS European Sportswoman of the Year.[10]

พ.ศ. 2550

แก้
  • Whirlpool 6th Sense Player of the Year.
  • Belgian Sportswoman of the Year.
  • Belgian Sports Personality of the Year (career award).
  • ITF World Champion.
  • USSA Female Athlete of the Year.[12]
  • EFE Sportsperson of the Year.[13]
  • UEPS European Sportswoman of the Year.[10]

พ.ศ. 2551

แก้

สถิติการแข่งขันอาชีพ

แก้

แกรนด์สแลม หญิงเดี่ยว รอบชิงชนะเลิศ (12)

แก้

(7 ชนะเลิศ - 5 รองชนะเลิศ)

แก้
ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นผิว คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
รองชนะเลิศ 2544   วิมเบิลดัน หญ้า   วีนัส วิลเลียมส์ 6–1, 3–6, 6–0
ชนะเลิศ 2546   เฟรนช์โอเพน ดิน   คิม ไคลจ์สเตอร์ส 6–0, 6–4
ชนะเลิศ 2546   ยูเอสโอเพน คอนกรีต   คิม ไคลจ์สเตอร์ส 7–5, 6–1
ชนะเลิศ 2547   ออสเตรเลียนโอเพน คอนกรีต   คิม ไคลจ์สเตอร์ส 6–3, 4–6, 6–3
ชนะเลิศ 2548   เฟรนช์โอเพน (2) ดิน   แมรี เพียร์ซ 6–1, 6–1
รองชนะเลิศ 2549   ออสเตรเลียนโอเพน คอนกรีต   อเมลี มัวเรสโม 6–1, 2–0 รีไทร์
ชนะเลิศ 2549   เฟรนช์โอเพน (3) ดิน   สเวตลานา คุซเนตโซวา 6–4, 6–4
รองชนะเลิศ 2549   วิมเบิลดัน หญ้า   อเมลี มัวเรสโม 2–6, 6–3, 6–4
รองชนะเลิศ 2549   ยูเอสโอเพน คอนกรีต   มาเรีย ชาราโปวา 6–4, 6–4
ชนะเลิศ 2550   เฟรนช์โอเพน (4) ดิน   อนา อิวาโนวิช 6–1, 6–2
ชนะเลิศ 2550   ยูเอสโอเพน (2) คอนกรีต   สเวตลานา คุซเนตโซวา 6–1, 6–3
รองชนะเลิศ 2553   ออสเตรเลียนโอเพน (2) คอนกรีต   เซเรนา วิลเลียมส์ 6–4, 3–6, 6–2[15]

โอลิมปิก หญิงเดี่ยว รอบชิงชนะเลิศ (1)

แก้

(1 เหรียญทอง)

แก้
ผลลัพธ์ ปี รายการ พื้นผิว คู่แข่งในรอบชิง ผลการแข่งขัน
เหรียญทอง 2547   กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ กรุงเอเธนส์ คอนกรีต   อาเมลี โมแร็สโม 6–3, 6–3

อ้างอิง

แก้
  1. "Justine Henin WTA profile". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-08-05. สืบค้นเมื่อ 2009-09-22.
  2. Justine Henin Pronunciation
  3. "Justine Henin: Match Over". Time. 2008-05-14. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-16. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
  4. "Henin announces shock retirement". BBC Sport. 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-14.
  5. "Henin Retires From Sony Ericsson WTA Tour". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-21. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  6. "Resilient Henin takes U.S. Open title". The Hindu. 2003-09-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-12-06. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  7. McClure, Geoff (2004-01-29). "Sporting Life". The Age. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  8. "Henin bows out at the top". BBC Sport. 2008-05-14. สืบค้นเมื่อ 2008-05-27.
  9. "'Harder, Better, Faster...' Article discussing record serve speeds of women - Nov 28". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-02-14. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  10. 10.0 10.1 10.2 10.3 "European Sports Journalists honor Henin and Federer", De Standaard, 2008-01-08. Retrieved on 2008-01-08.
  11. "Justine Henin-Hardenne appointed UNESCO Champion for Sport" (Press release). UNESCO. 2006-06-27. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  12. "The Results of the USSA athlete of the Year" (Press release). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-09. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  13. "Justine Reigns in Spain" (Press release). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-01-11. สืบค้นเมื่อ 2008-06-01.
  14. "2008 Laureus World Sports Awards Winners". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-26. สืบค้นเมื่อ 2009-09-23.
  15. "Williams goes back-to-back". Australian Open Official website. 2010-01-30. สืบค้นเมื่อ 2010-01-31.