ชเว กยู-ฮา

อดีตประธานาธิบดีเกาหลีใต้

ชเว กยู-ฮา (อักษรโรมัน: Choi Kyu-hah; 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2462 — 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549) เป็นประธานาธิบดีของสาธารณรัฐเกาหลีระหว่างปี พ.ศ. 2522 - พ.ศ. 2523 ชเวเกิดที่ ว็อนจู จังหวัดคังวอน เขาเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศระหว่างปี พ.ศ. 2510 ถึง พ.ศ. 2514 และเป็นนายกรัฐมนตรีระหว่างปี พ.ศ. 2518 ถึง พ.ศ. 2522

ชเว กยู-ฮา
최규하
ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ คนที่ 4
ดำรงตำแหน่ง
26 ตุลาคม พ.ศ. 2522 – 16 สิงหาคม พ.ศ. 2523
ก่อนหน้าพัก จองฮี
ถัดไปชอน ดูฮวาน
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด16 กรกฎาคม พ.ศ. 2462
ว็อนจู, จังหวัดคังวอน, เกาหลีภายใต้การปกครองของญี่ปุ่น
เสียชีวิต22 ตุลาคม พ.ศ. 2549 (87 ปี)
โซล,  เกาหลีใต้
ศาสนาลัทธิขงจื่อใหม่
พรรคการเมืองเสรีนิยม
คู่สมรสฮง กี
ลายมือชื่อ
ชื่อเกาหลี
ฮันกึล
ฮันจา
อาร์อาร์Choe Gyu-ha
เอ็มอาร์Ch'oe Kyuha
นามปากกา
ฮันกึล
현석
ฮันจา
อาร์อาร์Hyeonseok
เอ็มอาร์Hyŏnsŏk

ภายหลังจากการสังหารประธานาธิบดีพัก จองฮี ในปี พ.ศ. 2522 ชเวได้เข้ามามีอำนาจ เพราะว่าสถานการณ์ความไม่สงบที่เป็นผลมาตั้งแต่สมัยประธานาธิบดีพักครองอำนาจ โดยชเวสัญญาว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งตามวิถีทางประชาธิปไตย เช่นเดียวกับรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ที่เข้ามาแทนที่รัฐธรรมนูญฉบับเผด็จการอย่างรัฐธรรมนูญยูซิน ชเวชนะการเลือกตั้งในเดือธันวาคมในปีเดียวกันนั้นและขึ้นเป็นประธานาธิบดีคนที่สี่ของสาธารณรัฐเกาหลี

ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2522 พลเอกชอน ดูฮวาน และพันธมิตรผู้ใกล้ชิดพร้อมด้วยกำลังทหารเข้าทำการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของชเว พวกเขารีบเข้าถอดถอนผู้บัญชาการทหารบกและเข้าควบคุมรัฐบาลอย่างแท้จริงในต้นปี 2523

ในเดือนเมษายน 2523 ด้วยความกดดันที่เพิ่มขึ้นจากทั้งชอนและนักการเมืองคนอื่น ๆ ชเวได้แต่งตั้งชอนเป็นผู้บัญชาการหน่วยข่าวกรองกลาง ในเดือนพฤษภาคมชอนได้ประกาศกฎอัยการศึกและทำการล้มเลิกสิ่งที่เป็นของรัฐบาลพลเรือนทั้งหมด กลายเป็นผู้มีอำนาจโดยพฤตินัยของประเทศ ต่อมามีนักศึกษาได้ทำการประท้วงทั่วทั้งโซลและกวางจู การประท้วงที่กวางจูยังคงดำเนินต่อไปเป็นผลให้เกิดการฆาตกรรมหมู่ที่กวางจู ซึ่งประชาชนประมาณ 937 คนเสียชีวิตภายในห้าวันหลังจากการใช้กำลังทหารของชอนเข้าปราบปราม[1]

ชเวลาออกจากตำแหน่งหลังจากนั้นไม่นาน ชอนขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีเมื่อวันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2523 ชเวใช้ชีวิตเงียบ ๆไม่ให้เป็นที่สนใจของประชาชน และชเวได้ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2549 ร่างของเขาได้ถูกฝังไว้ที่สุสานแห่งชาติแทจ็อน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2549[2]

อ้างอิง

แก้
  1. Flashback: The Kwangju massacre. BBC News. May 17, 2000.
  2. "Daejeon National Cemetery Timeline". Daejeon National Cemetery. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-03. สืบค้นเมื่อ 28 September 2014.

ข้อมูลเพิ่มเติม

แก้