ชาวกริซตัง
กริซตัง (มลายู: Kristang, เรียกว่า "ยูเรเชียเชื้อสายโปรตุเกส" หรือ "โปรตุเกสมะละกา") หรือ เซอรานี (Serani) เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ลูกผสมระหว่างคนโปรตุเกสกับชนพื้นเมืองในมะละกา พวกเขาตั้งถิ่นฐานในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ นอกจากโปรตุเกสแล้วพวกเขาได้รับอิทธิพลหรือมีเชื้อสายจากดัตช์ อังกฤษ ยิว มลายู จีน และอินเดีย ผ่านการแต่งงานข้ามชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นเรื่องปรกติในหมู่ชาวกริซตัง หลังเกิดการล้างบางชาวยิวในโปรตุเกส ชาวยิวเหล่านี้ได้หลอมรวมกับกับชาวกริซตังในมะละกาในเวลาต่อมา[2] วัฒนธรรมลูกผสมนี้ก่อตัวในคริสต์ศตวรรษที่ 16-17 ในช่วงที่เมืองมะละกาตกเป็นอาณานิคมของจักรวรรดิโปรตุเกส ลูกหลานกริซตังบางคนยังพูดภาษากริซตัง ซึ่งเป็นภาษาโปรตุเกสลูกผสม[3] ภาษามลายูเองก็ยืมคำจากภาษากริซตังไปใช้จำนวนมาก
ชาวกริซตังในมะละกาขณะแสดงการเต้นรำแบบดั้งเดิม | |
ประชากรทั้งหมด | |
---|---|
37,000 คน[1] | |
ภูมิภาคที่มีประชากรอย่างมีนัยสำคัญ | |
มาเลเซีย (มะละกา, กัวลาลัมเปอร์, ปีนัง) สิงคโปร์ | |
ภาษา | |
กริซตัง · อังกฤษ · มลายู | |
ศาสนา | |
ศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ส่วนน้อย: ศาสนายูดาห์ และฆราวาสนิยม | |
กลุ่มชาติพันธุ์ที่เกี่ยวข้อง | |
ยูเรเชีย · มาร์ดิจเกอร์ · คริสตังกัว · โปรตุเกสพลัดถิ่น · ภูมิบุตร · ยิว |
ชาวกริซตังเกิดจากการที่ชายชาวโปรตุเกส สมรสข้ามชาติพันธุ์กับชนพื้นเมืองในมะละกา เพราะช่วงแรกของการตั้งอาณานิคมนั้นไม่มีผู้หญิงโปรตุเกสอยู่เลย แต่ปัจจุบันชาวกริซตังมักจะสมรสกับชาวจีนและอินเดียมากกว่ามลายูเพราะกฎหมายศาสนา หากคนนอกศาสนาจะสมรสกับชาวมุสลิมก็ต้องเข้ารีตนับถือศาสนาอิสลามเสียก่อน ซึ่งชาวกริซตังนั้นค่อนข้างจะหวงแหนอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนและไม่ยอมเปลี่ยนศาสนา ซึ่งเมื่อศตวรรษก่อน คนกริซตังสามารถสมรสกับคนมลายูได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนศาสนา
ชื่อ กริซตัง (Kristang) มาจากคำว่า กริชเตา (Cristão) ที่แปลว่า "คริสต์ศาสนิกชน" ในภาษาโปรตุเกส และมีคำเรียกเชิงเหยียดหยันว่า กราโก (Grago) หรือ กราโกะก์ (Gragok) มาจากคำว่า กามาเรา (camarão) ที่แปลว่า "กุ้ง" ในภาษาโปรตุเกส ที่สื่อถึงอาชีพดั้งเดิมคือชาวประมงตกกุ้งในมะละกา[4]
อ้างอิง
แก้- ↑ "People, Culture & Politics".
- ↑ Humanistic & Secular Jews Build Communities and Congregations Worldwide: Malaysia "Archived copy". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 ตุลาคม 2010. สืบค้นเมื่อ 4 ธันวาคม 2010.
{{cite web}}
: CS1 maint: archived copy as title (ลิงก์) - ↑ Language Is the Soul of our Kristang Heritage เก็บถาวร 28 พฤษภาคม 2009 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Joan Marbeck Website, accessed 12 June 2009.
- ↑ Julian Wong, "When Exactly Can You Call an Eurasian a ‘Grago’?" [1] เก็บถาวร 2021-05-25 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน/