ตามคตินิยมทางศาสนาพุทธ ฉกามาพจร คือสวรรค์ 6 ชั้น[1] ที่ยังเกี่ยวข้องกับกาม[2][3] หรือ สวรรค์ที่อยู่ในกามภูมิ เมื่อนับรวมกับมนุสสภูมิจะเรียกว่ากามสุคติภูมิ 7 สวรรค์ทั้ง 6 ชั้น มีดังนี้

  1. จาตุมหาราชิกา
    เป็นชั้นที่อยู่บริเวณรอบ ๆ เขาพระสุเมรุ แบ่งออกเป็น 4 อาณาบริเวณ คือ เขตการปกครองคนธรรพ์ ยักษ์ นาค และกุมภัณฑ์ เทวดาชั้นนี้จะมีอายุ 500 ปีทิพย์ หรือ 9 ล้านปีมนุษย์ มีท้าวโลกบาลทั้ง 4 คือ ท้าวธตรฐ ท้าววิรุฬหก ท้าววิรูปักษ์ และท้าวกุเวร เป็นจอมเทพในทิศของตน
  2. ดาวดึงส์
    เป็นสวรรค์ชั้นที่อยู่ของพระอินทร์หรือท้าวสักกะเป็นจอมเทพ และมีบริวารอีก 32 องค์รวมดูแล ซึ่งในอดีตชาติเป็นมฆมาณพและสหายอีก 32 คนที่ร่วมกันทำความดีด้วยการสร้างถนนสาธารณะ
  3. ยามา
    เป็นสวรรค์ชั้นที่อยู่สูงกว่าวงโคจรของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ทำให้ไม่มีแสงสว่าง เทวดาเห็นกันด้วยรัศมีของตนเอง ผู้ปกครองยามาภูมิคือท้าวสุยามะ
  4. ดุสิต
    เป็นสวรรค์ที่ประทับพระโพธิสัตว์และว่าที่พระพุทธบิดาและพระพุทธมารดา มีท้าวสันดุสิตเป็นจอมเทพ
  5. นิมมานรดี
    เป็นชั้นที่เทวดาสามารถเนรมิตสิ่งของตามประสงค์ได้ มีท้าวสุนิมมิตเป็นจอมเทพ
  6. ปรนิมมิตวสวัตดี
    เป็นสววรค์ชั้นที่ประเสริฐที่สุด มีท้าววสวัตตีซึ่งเป็นเทวปุตตมารเป็นจอมเทพ

อ้างอิง

แก้
  1. ราชบัณฑิตยสถานพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ ๒, กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2556. 1,544 หน้า. หน้า 343. ISBN 978-616-7073-80-4
  2. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). ฉกามาพจรสวรรค์. พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์
  3. พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต). สวรรค์ 6. พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม