จ่าจ๊านแท้ง (จีน: 茶餐廳; เยลกวางตุ้ง: chàhchāantēng; "ภัตตาคารชา") หรือ คาเฟ่ฮ่องกง (อังกฤษ: Hong Kong-style cafe) หรือ ไดนเนอร์ฮ่องกง (อังกฤษ: Hong Kong-style diner) เป็นร้านอาหารรูปแบบหนึ่งที่มีที่มาจากฮ่องกง[1][2][3] จ่าจ๊านแท้งสามารถพบได้ทั่วไปในฮ่องกง มาเก๊า และ มณฑลกวางตุ้ง เนื่องมาจากคลื่นผู้อพยพจากฮ่องกงในทศวรรษ 1980s ทำให้ยังมีจ่าจ๊านแท้งเปิดอยู่ในชุมชนชาวจีนโพ้นทะเลในประเทศตะวันตก เช่น ออสเตรเลีย, แคนาดา, สหราชอาณาจักร, สหรัฐ ร้านอาหารรูปแบบนี้ถูกนำไปเปรียบเปรยกับคาเฟ่กรีสซีสปูน หรือไดนเนอร์แบบอเมริกัน[3][4] เนื่องด้วยมีรายการอาหารที่ดีและราคาย่อมเยาว์ โดยมีอาหารจากอาหารฮ่องกง และ อาหารตะวันตกแบบฮ่องกง[5]

จ่าจ๊านแท้ง
อักษรจีนตัวเต็ม茶餐廳
อักษรจีนตัวย่อ茶餐厅
ยฺหวิดเพ็งcaa4 caan1 teng1
ความหมายตามตัวอักษร"ภัตตาคารชา"

ประวัติศาสตร์ แก้

นับตั้งแต่ทศวรรษ 1850s อาหารตะวันตกในฮ่องกงมีให้บริการเพียงในภัตตาคารเต็มระดับ ซึ่งเป็นสิ่งที่เข้าถึงได้เฉพาะเพียงชนชั้นสูงและผู้มีเงิน คนท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่เป็นชนชั้นแรงงานไม่สามารถเข้าถึงอาหารเช่นนี้ได้ ในทศวรรษ 1920s มื้ออาหารในภัตตาคารแบบตะวันตกอาจมีราคาถึง 10 ดอลล่าร์ ในขณะที่คนพื้นถิ่นมีรายรับ 10-15 ดอลล่าร์ ต่อเดือน[6]

หลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง ฮ่องกงมีอิทธิพลจากวัฒนธรรมอังกฤษสูงมาก[3] ดังที่พบได้จากคนท้องถิ่นเริ่มใส่นมในชาและทานเค้ก ชาวฮ่องกงบางส่วนจึงเริ่มตั้ง จ่าจ๊างแท้ง ขึ้นเพื่อพุ่งเป้าไปที่กลุ่มลูกค้าที่เป็นคนท้องถิ่น[7] โดยให้บริการอาหารกวางตุ้ง-ตะวันตก และเครื่องดื่ม ซึ่งมีราคาถูกมากจนทำให้เป็นที่เรียกกันว่า "อาหารตะวันตกราคาถูก" หรือ "อาหารตะวันตกราดซีอิ๊ว" (豉油西餐)[3]

ในทศวรรษ 1950s - 60s ร้านอาหารประเภทนี้ได้เปิดตัวขึ้นมากมายควบคู่กับรายรับของชนชั้นแรงงานที่มากขึ้นตาม ซึ่งทำให้ "อาหารตะวันตก" แบบนี้มีราคาเข้าถึงได้ง่ายขึ้น[3][8] ร้านอาหารพวก "อาหารฝรั่งราดซีอิ๊ว" และ bing sutt ("ห้องน้ำแข็ง") ต้องแปรสภาพมาเป็น จ่าจ๊างแท้ง[9] เพื่อตอบรับกับความต้องการสูงสำหรับอาหารฮ่องกง-ตะวันตกที่ให้บริการรวดเร็วและราคาเข้าถึงได้[8][9]

ต่อมาการบริหารงานของร้านประเภทนี้ได้ปรับตัวให้เข้ากับสภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกงและสังคมฮ่องกง ในระหว่างวิกฤตการณ์การเงินเอเชีย ปี 1997 ร้านอาหารประเภทนี้ยิ่งได้รับความนิยมสูงขึ้นอีกเนื่องจากยังคงให้บริการอาฟารที่ราคาถูกที่สุดแก่สาธารณชน[10]

กระทั่งปี 2007 ได้มีการออกกฎหมายในฮ่องกงที่ห้ามสูบบุหรี่ในที่ปิดเช่นร้านอาหาร ก่อนหน้านี้ ตาม จ่าจ๊านแท้ง อนุญาตให้สามารถสูบบุหรี่ได้ และเด็กเสิร์ฟบางคนยังสูบบุหรี่ขณะทำงานด้วยซ้ำ ในปีเดียวกัน ได้มีนักการเมืองฮ่องกงเสนอให้ขึ้นทะเบียน จ่าจ๊านแท้ง ในรายชื่อมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโกเนื่องด้วยความสำคัญต่อสังคมฮ่องกง[11] และในสิ้นปีนั้นได้มีการเสนอข้อเสนอนี้เข้าในรัฐสภาฮ่องกง ไม่นานหลังมีการทำแบบสำรวจในฮ่องกงพบว่าเจ็ดในสิบคนเชื่อว่าร้านอาหารประเภทนี้ควรได้รับการขึ้นทะเบียนทางวัฒนธรรมของยูเนสโกใด ๆ ก็ตาม[12] กระนั้น จ่าจ๊านแท้ง ยังไม่ได้รับการขึ้นทะเบียนใด ๆ จากยูเนสโก[3]

ในปี 2014 อาหารยอดนิยมใน จ่าจ๊านแท้ง จำนวนหนึ่ง ได้แก่ ชานม, ชานมผสมกาแฟ, พายสัปปะรด และ ทาร์ตไข่ ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของฮ่องกงเป็นชุดแรก[13]

อ้างอิง แก้

  1. "Hong Kong-style Diner | Hong Kong Tourism Board". www.discoverhongkong.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 11 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2020-04-22.
  2. Liu, Karon (15 September 2022). "How the Queen's death left me reconciling complicated feelings about the history of my favourite foods". Toronto Star. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
  3. 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Jones, Gary (11 March 2022). "Hong Kong's 'greasy spoon' cafes". BBC. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
  4. Wordie, Jason (22 April 2007). "Cafe society". South China Morning News Post. สืบค้นเมื่อ 10 October 2022.
  5. Beerman, Jason "Cha chaan teng cheat sheet: What to order at the most popular eateries in Hong Kong" เก็บถาวร 24 กุมภาพันธ์ 2012 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน CNN Go. 20 February 2012. Retrieved 4 March 2012
  6. .(December 2018). Titbits Through Time. Chinese Culinary Institute & International Culinary Institute.PDF
  7. . (28 December 2007). Cha Chaan Teng is not UNESCO Intangible Culture Heritage. Wenwipo. Weblink[ลิงก์เสีย].htm
  8. 8.0 8.1 . (2006). 茶餐廳與香港人的身分認同. Hong Kong University Press.
  9. 9.0 9.1 . (6 March 2016). 飲食男女《人物專訪》中環老牌熱狗王 六旬夥計不捨離開:對呢個招牌有感情. Eat and Travel Weekly.
  10. .(30 January 2008). Eating in Hong Kong: the Ch Chaan Teng. The New York Times.
  11. . Changing Chinese Foodways in Asia. Hong Kong: Chinese University Press, 2001. GoogleBooks
  12. Chong, Vince (23 December 2007). "Keeping alive a tea café culture". The Straits Times. p. 28.
  13. . (2006). Intangible Cultural Heritage Inventory of Hong Kong. Leisure and Cultural Services Department.