จูฬวรรค
คัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค) แปลว่า หมวดเล็ก คือหมวดหมู่ที่สองในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ จูฬวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 6-7 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักโดยเบ็ดเตล็ดในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ รวมไปถึงส่วนสังฆกรรมประเภทนิคหกรรมของพระสงฆ์ด้วย โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์
คัมภีร์จูฬวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย [1]
เนื้อหาในคัมภีร์จูฬวรรค แสดงถึงกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบของคณะสงฆ์ (ญัตติกรรม) บางตอนมีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างหลักเสียงข้างมาก (Majority rule) กับหลักการในพระธรรมวินัย เช่นใน เยภุยยสิกา เป็นต้น
จูฬวรรค มาคู่กับ มหาวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน
การแบ่งเล่มพระไตรปิฎกในคัมภีร์มหาวรรค
แก้ปัจจุบัน คัมภีร์พระไตรปิฎก 45 เล่ม ตามการแบ่งของประเทศไทย จะจัดแบ่งคัมภีร์จูฬวรรคออกเป็นสองตอนหรือ 2 ภาค ทั้งหมด 12 ขันธกะ โดยจัดให้ตอนแรก (4 ขันธกะแรก) อยู่ในเล่มที่ 6 และตอนที่สอง (8 ขันธกะหลัง) อยู่ในเล่มที่ 7
หัวข้อในคัมภีร์จูฬวรรค
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |