มัชฌิมนิกาย
มัชฌิมนิกาย ("หมวดคำสอนรวบรวมมีขนาดปานกลาง") เป็นชุมนุมพระสูตร[ก]ลำดับสองจากห้าหมวดในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก (แปลว่า "ตะกร้าสามใบ") อันเป็นคัมภีร์รวบรวมพระธรรมนิกายเถรวาท คาดการณ์ว่าสังคยนาคัมภีร์ในระหว่างศตวรรษที่ 3 ก่อนคริสตศักราช ถึงคริสตศตวรรษที่ 2[1] นิกายนี้ประกอบด้วยพระสูตร 152 บท เป็นสูตรของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระสาวกของพระองค์[2]
มัชฌิมนิกายสอดคล้องกับมัทยามะอกามา พบในพระสูตรของวิทยาลัยพระพุทธศาสนาสันสกฤตในช่วงต้นหลายแห่ง ซึ่งสามารถรวบรวมบางส่วนในทางภาษาสันสกฤต และแปลภาษาเป็นภาษาทิเบต พระสูตรแปลภาษาจีนฉบับสมบูรณ์โดยนิกายสรวาสติวาทปรากฏในหลักธรรมพระพุทธศาสนาจีน, รู้จักกันในนามว่า จ่งอาหันจิง (中阿含經) มัทยามะอกามาประกอบด้วยพระสูตร 222 สูตร, ต่างกับพระสูตร 152 สูตรของพระสูตรบาลีมัชฌิมนิกาย[3]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ในพระสูตรของพระสุตตันตปิฎกเรียกว่า นิกาย ซึ่งหมายความว่าหมู่ของพระสูตรหรือชุมนุมพระสูตร
อ้างอิง
แก้- ↑ Singh, Upinder. A History of Ancient and Early Medieval India: From the Stone Age to the 12th Century. Pearson. p. 25.
- ↑ A version of the Pali original is available in Gotama, Buddha (2012). Majjhima Nikaya: The Middle Length Discourses of the Buddha. CreateSpace Independent Publishing Platform. ISBN 978-1478369622.
- ↑ A Dictionary of Buddhism, by Damien Keown, Oxford University Press: 2004