ขุททกนิกาย
ขุททกนิกาย ("หมวดคำสอนรวบรวมจำนวนน้อย") เป็นชุมนุมพระสูตร[ก]ลำดับที่ท้ายสุดจากห้าหมวดของพระสุตตันตปิฎก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก (แปลว่า "ตะกร้าสามใบ") อันเป็นคัมภีร์ซึ่งรวบรวมพระธรรมของพุทธศาสนาเถรวาท นิกายนี้ประกอบด้วยคัมภีร์สิบห้าเล่ม (ฉบับประเทศไทย) สิบห้าเล่ม (ฉบับประเทศศรีลังกาตามพระพุทธโฆสสะเรียงไว้) หรือคัมภีร์สิบแปดเล่ม (ฉบับประเทศพม่า) เป็นธรรมะของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอัครสาวกของพระองค์
คำว่า ขุทกะ ในที่นี้หมายถึง "เล็ก" ในภาษาบาลี และสำหรับชุมนุมพระสูตรนี้หมายความว่า "รวบรวมสะสม" พระสูตรเทียบเท่าพุทธศาสนาจีนและทิเบตมีนามว่า ขุทกะอกามา แต่มีความแตกต่างอย่างชัดเจนในพระสูตรต่าง ๆ[1]
หมายเหตุ
แก้- ↑ ในพระสูตรของพระสุตตันตปิฎกเรียกว่า นิกาย ซึ่งหมายความว่าหมู่ของพระสูตรหรือชุมนุมพระสูตร
อ้างอิง
แก้- ↑ Andrew Skilton (2004). A Concise History of Buddhism. Windhorse Publications. p. 82. ISBN 0-904766-92-6.