จังหวัดคาลิงกา (อีโลกาโน: Probinsia ti Kalinga; ฟิลิปปินส์: Lalawigan ng Kalinga) เป็นจังหวัดที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในเขตบริหารคอร์ดิลเยรา เกาะลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ มีเมืองหลักคือตาบุก โดยจังหวัดคาลิงกาแยกตัวออกจากจังหวัดคาลิงกา-อาปาเยาในปี ค.ศ. 1995

จังหวัดคาลิงกา
จังหวัด
ภูเขาในจังหวัดคาลิงกา
ภูเขาในจังหวัดคาลิงกา
ตราอย่างเป็นทางการของจังหวัดคาลิงกา
ตรา
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ที่ตั้งในประเทศฟิลิปปินส์
ประเทศ ฟิลิปปินส์
เขตเขตบริหารคอร์ดิลเยรา
ก่อตั้ง14 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1995
เมืองหลักตาบุก
การปกครอง
 • ประเภทสภาจังหวัด
 • ผู้ว่าราชการจังหวัดJocel Baac (Liberal Party) (Sr. Felisa Pedro)
 • CongressmanAllen Jesse Mangaoang (Liberal Party)
 • รองผู้ว่าราชการจังหวัดJames Eduba(Nacionalista Party)
พื้นที่[1]
 • ทั้งหมด3,231.25 ตร.กม. (1,247.59 ตร.ไมล์)
อันดับพื้นที่41 จาก 81
ความสูงจุดสูงสุด (ภูเขาบินูลูอัน)2,329 เมตร (7,641 ฟุต)
ประชากร
 (ค.ศ. 2015)[2]
 • ทั้งหมด212,680 คน
 • อันดับ71 จาก 81
 • ความหนาแน่น66 คน/ตร.กม. (170 คน/ตร.ไมล์)
 • อันดับความหนาแน่น78 จาก 81
เขตการปกครอง
 • นครอิสระ0
 • นคร1 (ตาบุก)
 • เทศบาล
 • บารังไกย์152
 • DistrictsLone district of Kalinga
เขตเวลาUTC+8 (PHT)
รหัสไปรษณีย์3800–3808
ไอดีดี:รหัสโทรศัพท์+63 (0)74
รหัส ISO 3166PH
ภาษา
เว็บไซต์www.kalinga.gov.ph

อาณาเขตติดต่อกับจังหวัดบูลูบุนดูคินทางทิศใต้, จังหวัดอาบราทางทิศตะวันตก, จังหวัดอีซาเบลาทางทิศตะวันออก, จังหวัดคากายันทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และจังหวัดอาปาเยาทางทิศเหนือ

ภูมิศาสตร์

แก้

จังหวัดคาลิงกามีพื้นที่ 3,231.25 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ตอนกลางของเขตบริหารคอร์ดิลเยราบนเกาะลูซอน ภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูงตั้งแต่ 1,500-2,500 เมตร พื้นที่ทางตะวันตกของเป็นที่สูงชันและที่ราบในหุบเขา ส่วนทางตะวันออกเป็นตีนเขาแบบไล่ระดับ ป่าพบได้ตามพื้นที่สูง ส่วนพื้นที่ต่ำจะเป็นทุ่งหญ้า

ภูมิอากาศ

แก้

อุณหภูมิโดยเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 17-22 องศาเซลเซียส และมีสภาพภูมิอากาศแบบที่ 3 ของประเทศ ฤดูแล้งเริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิิกายน-เมษายน ส่วนฤดูฝนอยู่ในช่วงที่เหลือ ปริมาณน้ำฝนจะมากในเดือนกรกฎาคม-ตุลาคม

อุทกวิทยา

แก้
 
แม่น้ำชิโก

แม่น้ำสายหลักคือแม่น้ำชิโก ซึ่งมีต้นน้ำอยู่ที่จังหวัดบูลูบุนดูคิน และไหลไปรวมกับแม่น้ำคากายัน แม่น้ำชิโกมีลำน้ำสาขาหลายสาย ได้แก่ แม่น้ำบูน็อก, แม่น้ำตานูดัน, แม่น้ำบีกา, แม่น้ำปาซิล, แม่น้ำปอสวอย, แม่น้ำเดาอังกัน, แม่น้ำมาบากา และแม่น้ำซัลตัน นอกจากนี้ยังสามารถพบทะเลสาบขนาดเล็กภายในจังหวัดได้อีกด้วย

อ้างอิง

แก้
  1. "List of Provinces". PSGC Interactive. Makati, Philippines: National Statistical Coordination Board. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ January 17, 2013. สืบค้นเมื่อ January 2, 2014.
  2. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-10. สืบค้นเมื่อ 2018-03-28.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้
แผนที่พิกัดทั้งหมดใน "Kalinga (province)" กำลังใช้ OpenStreetMap 
ดาวน์โหลดพิกัดเป็น KML