จอห์น ฟิลิป ซูซา

จอห์น ฟิลิป ซูซา (อังกฤษ: John Philip Sousa; 6 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854 - 6 มีนาคม ค.ศ. 1932) เป็นนักแต่งเพลง นักประดิษฐ์ และวาทยกรชาวอเมริกัน เป็นผู้ประพันธ์เพลงมาร์ชไว้มากมาย จนได้รับสมญานามว่า "ราชาเพลงมาร์ช"[1]

John Philip Sousa
จอห์น ฟิลิป ซูซา ค.ศ. 1900
ชื่อเล่น"The March King"
"ราชาเพลงมาร์ช"
เกิด06 พฤศจิกายน ค.ศ. 1854(1854-11-06)
วอชิงตัน ดี.ซี.
เสียชีวิตมีนาคม 6, 1932(1932-03-06) (77 ปี)
โรงแรมอับราฮัม ลินคอล์น, รีดดิง รัฐเพนซิลเวเนีย
สุสาน
สุสานรัฐสภา
วอชิงตัน ดี.ซี.
รับใช้ United States of America
แผนก/สังกัด เหล่านาวิกโยธินสหรัฐ
 กองทัพเรือสหรัฐ
ประจำการ1868–1875, 1880–1892 (นาวิกโยธิน)
1917–1918 (กองทัพเรือ)
ชั้นยศWarrant officer (USMC)
Lieutenant commander (USN)
บังคับบัญชาวงดุริยางค์นาวิกโยธินสหรัฐอเมริกา
วงดุริยางค์สถานีทหารเรือ เกรทเลค

ประวัติ

แก้

ซูซาเกิดที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. เป็นบุตรของจอห์น อันโตนิโอ ซูซา (John Antonio Sousa) กับ มาเรีย อลิซาเบ็ธ ทริงค์ฮัส (Maria Elisabeth Trinkhaus) บิดามารดาของซูซาได้อพยพมาจากโปรตุเกส และแคว้นบาวาเรีย ประเทศเยอรมนี ซูซาเริ่มเล่นไวโอลินเมื่ออายุ 6 ปี ถือเป็นเครื่องดนตรีอย่างแรกที่ซูซาเล่น เมื่อซูซาอายุ 13 ปี บิดาซึ่งเป็นสมาชิกวงดุริยางค์นาวิกโยธินได้ส่งซูซาไปเข้ากองนาวิกโยธินเป็นเวลาเจ็ดปี และระหว่างนั้นซูซาได้ศึกษาการดนตรีมาโดยตลอด

ต่อมาในวันที่ 30 ธันวาคม 1879 ซูซาได้แต่งงานกับเจน ฟาน มิทท์เลทวอธ เบลิส (Jane van Middlesworth Bellis; 1862 -1944) เมื่ออายุได้ 25 ปี มีบุตรธิดาทั้งหมด 3 คน คือ

  1. จอห์น ฟิลิป ซูซา จูเนียร์ (John Philip Sousa Jr.; 1 เมษายน 1881 – 18 พฤษภาคม 1937)
  2. เจน พริสซิลลา ซูซา (Jane Priscilla Sousa; 7 สิงหาคม 1882 – 28 ตุลาคม 1958)
  3. เฮเลน ซูซา (Helen Sousa; 21 มกราคม 1887 – 14 ตุลาคม 1975)

ซูซาถึงแก่กรรมอย่างสงบในวันที่ 6 มีนาคม 1932 เมื่อเวลาประมาณ 1:30 น. เมื่ออายุได้ 77 ปี ที่โรงแรมอับราฮัม ลินคอล์น ศพของซูซาได้รับการฝังที่สุสานรัฐสภา (Congressional Cemetery) วอชิงตัน ดี.ซี.

ผลงาน

แก้

เพลงมาร์ช

แก้

ซูซาประพันธ์เพลงมาร์ชทั้งหมด 136 เพลง เพลงมาร์ชเพลงแรกที่ซูซาประพันธ์คือ Review (ประพันธ์เสร็จในปี 1873) เพลงมาร์ชสุดท้ายคือ Library Of Congress (ประพันธ์เสร็จในปี 1932) เพลงต่อไปนี้เป็นเพลงมาร์ชที่มีชื่อเสียงที่ซูซาประพันธ์ เรียงตามปีที่ประพันธ์

  1. The Gladiator March (1886)
  2. Semper Fidelis (1888)
  3. The Washington Post (1889)
  4. The Thunderer (1889)
  5. High school Cadets (1890)
  6. The Liberty Bell (1893)
  7. Manhattan Beach March (1893)
  8. King Cotton (1895)
  9. The Stars and Stripes Forever (1896)
  10. El Capitan (1896)
  11. Hand Across the Sea (1899)
  12. Hail to the Spirit of Liberty (1900)
  13. Invincible Eagle (1901)
  14. Fairest of the Fair (1908)
  15. Glory of the Yankee Navy (1909)
  16. U.S. Field Artillery (1917)
  17. Who's Who in Navy Blue (1920)
  18. The Gallant Seventh (1922)
  19. Nobles of the Mystic Shrine (1923)
  20. The Black Horse Troop (1924)
  21. Pride of the Wolverines (1926)
  22. Minnesota March (1927)
  23. Salvation Army March (1930)

ผลงานอื่นๆ

แก้

นอกจากเพลงมาร์ชแล้ว ซูซายังคงประพันธ์เพลงประเภทอื่นๆอีกเป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เพลงประกอบละครสั้น (Operetta) เพลงวอลซ์ เพลงโวคัล เพลงเฉพาะเครื่อง เช่น ไวโอลิน (Piece of Violin) คอร์เน็ต (Piece of Cornet) ทรัมเป็ตและกลอง (Piece of trumpets and drums) เป็นต้น

นอกจากนี้ ซูซายังเป็นผู้ออกแบบเครื่องดนตรีที่ชื่อว่าซูซาโฟน (Sousaphone) ซึ่งบางแหล่งกล่าวว่า ซูซาเป็นผู้ประดิษฐ์ขึ้นเอง [2] เพื่อที่จะนำมาใช้แทนทูบาในการเดินแถว หรือแปรขบวนต่างๆในวงโยธวาทิต ปัจจุบันในประเทศสหรัฐอเมริกายังคงใช้กันอยู่มาก รวมไปถึงประเทศแถบยุโรปบางประเทศและรวมถึงประเทศแถบเอเชีย อาทิเช่น ไทย เป็นต้น

ซูซาโฟน เป็นเครื่องที่มีระดับเสียงและลักษณะเสียงคล้ายหรือเหมือนกับทูบา เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องลมทองเหลืองรูปวงแหวนขนาดใหญ่ เวลาเป่าต้องคล้องไหล่ ลำโพงจะวางอยู่บนไหล่ขวาของผู้เป่า มีหลากหลายคีย์ทั้ง Bb, F และ Eb ใช้กลไกแบบลูกสูบ มี 3 - 4 ลูกสูบ ในอดีตทำจากทองเหลือง ปัจจุบันมีทั้งแบบไม้ ทองเหลือง และแบบผสมพลาสติก ปัจจุบันสำหรับวงโยธวาทิตระดับโลก มักจะนำซูซาโฟนมาใช้แทนทูบาหรือนำทูบามาใช้แทนสลับกันไป[3]

นอกจากนี้ ซูซายังสั่งให้สร้าง ซับคอนทราเบสทูบา (Subcontrabass Tuba) ขึ้น ซึ่งถือเป็นทูบาที่มีเสียงต่ำที่สุด แต่ซูซาได้เสียชีวิตลงก่อนที่ซับคอนทราเบสทูบาจะเสร็จสมบูรณ์

อ้างอิง

แก้
  1. [ไขแสง ศุขะวัฒนะ. สังคีตนิยม ว่าด้วย:เครื่องดนตรีของวงดุริยางค์. พิมพ์ครั้งที่5. กรุงเทพ: ไทยวัฒนาพาณิช, 2535, หน้า 103.]
  2. [ไพรัช มากกาญจนกุล. วงดุริยางค์โยธวาทิต. กรุงเทพ: ร้านเจริญดี, หน้า 6.]
  3. [ไพรัช มากกาญจนกุล. วงดุริยางค์โยธวาทิต. กรุงเทพ: ร้านเจริญดี, หน้า 18.]

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:จอห์น ฟิลิป ซูซา