จอห์นนี โซมาลี
แรมซีย์ คาลิด อิสมาเอล (อังกฤษ: Ramsey Khalid Ismael; เกิด 26 กันยายน พ.ศ. 2543) เป็นที่รู้จักในชื่อ จอห์นนี โซมาลี (อังกฤษ: Johnny Somali) เป็นสตรีมเมอร์ออนไลน์ชาวอเมริกันที่รู้จักจากพฤติกรรมปลุกปั่นระหว่างการเดินทางในต่างประเทศ[2] หลังจากโดนระงับบนทวิตช์ อิสมาเอลเริ่มถ่ายทอดสดการท่องเที่ยวของตนเองในเอเชียบนคิก และรุมเบิล
จอห์นนี โซมาลี | |
---|---|
ข้อมูลส่วนตัว | |
เกิด | แรมซีย์ คาลิด อิสมาเอล 26 กันยายน พ.ศ. 2543 ฟีนิกซ์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา |
ข้อมูลยูทูบ | |
ช่อง | |
จำนวนผู้ติดตาม | 1.84 หมื่น[1] (9 ตุลาคม พ.ศ. 2567 (ก่อนถูกระงับ)) |
จำนวนผู้เข้าชม | 4.3 ล้าน[1] (9 ตุลาคม พ.ศ. 2567) |
เว็บไซต์ | youtube |
ชีวิตช่วงต้น
แก้อิสมาเอลอ้างว่ามีบิดาเป็นชาวโซมาเลียและมารดาชาวเอธิโอเปีย แต่ยังไม่มีการยืนยันในเรื่องดังกล่าว[3] และยังอ้างว่าเคยเป็นทหารเด็กในสงครามกลางเมืองโซมาเลียและโจรสลัดในโซมาเลีย[4]ถึงกระนั้นกลับมีแหล่งข้อมูลที่แสดงข้อสงสัยและความไม่แน่นอนของข้อกล่าวอ้างนี้[5]
อิสมาเอลกล่าวอ้างอีกว่าเขาเติบโตในสก็อตส์เดล รัฐแอริโซนา และสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแอริโซนาสเตต ทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ทางการเงินหรืออสังหาริมทรัพย์[5] ส่วนแหล่งข้อมูลอื่นระบุว่าเขาเป็นชาวแอริโซนาโดยกำเนิด[6]
การทำงาน
แก้ส่วนมากอิสมาเอลถ่ายทอดสดการท่องเที่ยวประเทศต่าง ๆ บนยูทูบและคิก โดยเฉพาะญี่ปุ่น ไทย และอิสราเอล[7] โดยเขาเริ่มสตรีมในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2566 หลังจากถูกทวิตช์ระงับการใช้งาน เขาย้ายไปยังคิกก่อนที่จะถูกระงับบนคิกเป็นการชั่วคราวเช่นกัน[8] เขาถูกระงับบนคิกในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2567 และถูกทวิตช์ยกคำขออุทธรณ์การระงับ ปัจจุบันเขาสตรีมบนรุมเบิล[9]
ญี่ปุ่น
แก้ระหว่างที่เดินทางในญี่ปุ่น อิสมาเอลเยาะเย้ยคนท้องถิ่นในลักษณะต่อต้านชาวญี่ปุ่น[10][11] รวมทั้งการแสดงความเห็นต่อการทิ้งระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิมะและนางาซากิ[12][13] และข่มขู่ที่จะระเบิดญี่ปุ่นด้วยอาวุธนิวเคลียร์บนรถไฟ อิสมาเอลถูกคนท้องถิ่นที่จำเขาได้ทำร้ายและถูกเรีกยด้วยถ้อยคำเหยียดหยามในที่สาธารณะ[14][15] ครั้งหนึ่งมีชาวอเมริกันตำหนิพฤติกรรมของเขา เขาจึงออกมากล่าวว่า "ผมมันเกรียน"[16] ทำให้มีผู้คนบนอินเทอร์เน็ตชื่นชมชายชาวอเมริกันคนดังกล่าว ส่วนอิสมาเอลอ้างว่าขณะนั้นตนเมาและขออภัยชายคนนั้น[17] นอกจากนี้ อิสมาเอลยังคุกคามเมียวโกะ สตรีมเมอร์ทวิตช์ชาวญี่ปุ่น ทำให้อิสมาเอลถูกทวิตช์แบน[18]
ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2566 อิสมาเอลเดินทางไปโตเกียวดิสนีย์รีสอร์ตและเล่นเพลงที่เนื้อเพลงมีวลี "ระเบิดอะตอม" แล้วบันทึกปฏิกิริยาของผู้คนโดยรอบโดยไม่ได้รับอนุญาต[19]
ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 อิสมาเอลที่สวมหน้ากาก พร้อมกับเจเรเมียห์ ดเวน แบรนช์ ที่บันทึกวิดีโอให้อิสมาเอล เดินทางเข้าพื้นที่ก่อสร้างโรงแรมในโอซากะแล้วตะโกนว่า "ฟูกูชิมะ" ใส่พนักงานในนั้น ทำให้พวกเขาถูกพนักงานไล่เตะออกมาและถูกจับกุมในข้อหาบุกรุก[20][21][22] ในเดือนกันยายน เขาถูกจับกุมในข้อหาเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงบสุขของประชาชนจากการที่พวกเขาก่อกวนร้านอาหารแห่งหนึ่งด้วยการเล่นเพลงและเสียงในระดับดังมากในระหว่างเปิดให้บริการ[23][24] เขากล่าวว่าหัวเว่ย ผู้ผลิตโทรศัพท์เครื่องดังกล่าวใส่ไวรัสจีนในโทรศัพท์เครื่องนั้นเพื่อสั่งให้เปิดเพลง ในชั้นศาล ผู้พิพากษาตัดสินว่าเขามีความผิดจริงและกล่าวว่า "เขาควรจะลดเสียงโทรศัพท์ลง"[25]
ในวันที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2566 อิสมาเอลซึ่งถูกคุมขังหลังจากการจับกุมครั้งที่สองปรากฏตัวในศาลจังหวัดโอซากะในการพิจารณาคดีเป็นปฏิปักษ์ต่อความสงสขุของประชาชน[26] ส่วนคดีบุกรุกมีคำสั่งให้ปรับเงิน 200,000 เยน[27] อิสมาเอลยอมรับในภายหลังว่าให้การเท็จในชั้นศาลที่กล่าวว่าไม่ได้รับรายได้จากวิดีโอ[28] ศาลพิพากษาเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2567 ให้ปรับเป็นเงิน 200,000 เยนและถูกส่งตัวกลับสหรัฐอเมริกาโดยสมัครใจ[29]
ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2567 อิสมาเอลยุติการสตรีมและทำการ "ซูมโทรลลิง" (อังกฤษ: Zoom trolling; แปลว่า การก่อกวนบนซูม) โดยพุ่งเป้าไปที่การประชุมบนซูมที่มีคนญี่ปุ่นอยู่[30]
อิสราเอล
แก้ในวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2567 อิสมาเอลเดินทางไปเทลอาวีฟ เขาเข้าไปพัวพันในการทะเลาะของชาวอาหรับและชาวยิวท้องถิ่น ทำให้เขาถูกเข้าปะทะและทำร้ายร่างกาย[31][32] จากการสตรีมครั้งนั้น ทำให้เขาถูกคิกระงับบัญชีหนึ่งสัปดาห์เนื่องจากการยุยงและส่งเสริมความรุนแรง[33]
ในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2567 เขาเดินทางไปกำแพงประจิมในเยรูซาเลมและเริ่มสตรีมสด เขาถ่ายตัวเขาที่กำลังติดภาพฮาร์วีย์ เวนสทีน , เอดิน รอสส์ และเจฟฟรีย์ เอปสทีน บนกำแพง ประกาศว่าว่าเวนสทีนเป็นหนึ่งใน "ท็อปยิว" ของเขาและดูหมิ่นรอสส์ เขาถูกจับกุมและสั่งห้ามเข้าเยรูซาเลม 50 วัน[34][35]
ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2567 อิสมาเอลถูกควบคุมตัวในที่ชุมนุมในเทลอาวีฟในข้อหาล่วงละเมิดทางเพศตำรวจหญิง หลังจากถูกปล่อยตัวได้ 16 นาที เขากลับมาถ่ายทอดสดอีกครั้งในวันเดียวกัน และกล่าวอ้างว่าเห็นเหตุการณ์กราดยิงที่ร้านอาหารแห่งหนึ่ง[36] นอกจากนี้เขาแก้ตัวต่อการกระทำของเขาว่าเขาเป็นพลเมืองอเมริกัน[37] ในวันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 อิสมาเอลถูกทำร้ายร่างกายในอิสราเอลหลังจากถูกกล่าวหาว่า "สนิช" (อังกฤษ: snitch)[38] โดยหนึ่งในชายกลุ่มกลุ่มนั้นถือสิ่งหนึ่งคล้ายอาวุธไว้ในมือ แต่อิสมาเอลไม่ได้โดนสิ่งนั้นทำร้าย[39]
เกาหลีใต้
แก้ระหว่างวางแผนการเดินทางไปเกาหลีใต้ ในวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2567 อิสมาเอลขู่ที่จะตบหน้าสมาชิกวงบีทีเอสบนทวิตเตอร์[40]หลังจากที่แจ้งว่าจะเดินทางไปโซลในสัปดาห์เดียวกัน[41]
ในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2567 เขาจูบและเต้นแลปแดนซ์ ใส่อนุสาวรีย์สันติภาพ อนุสรณ์แสดงเด็กหญิงที่เป็นนางบำเรอของทหารญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง นอกจากนี้เขายังเปิดเสียงดังรบกวนที่น่ารำคาญในรถไฟใต้ดิน เช่น สุนทรพจน์ของคิม จ็อง-อึนและถูกไล่ลงจากรถหลังจากเปิดเพลงเกาหลีเหนือด้วยเสียงดัง[42][43] ในวันที่ 17 ตุลาคม เขาตอบโต้พนักงานร้านสะดวกซื้ออย่างรุนแรงหลังจากที่เขาถูกห้ามไม่ให้ดื่มแอลกอฮอล์[44] ขณะถ่ายทอดสดหลายครั้ง อิสมาเอลถูกผู้อื่นทำร้ายในที่สาธารณะ[45]
ในวันที่ 26 ตุลาคม เขาถูกควบคุมตัวเนื่องจากขัดขืนคำสั่งตำรวจ[46] สมาชิกสมัชชาแห่งชาติเกาหลีอภิปรายถึงการมีอยู่ของเขาในประเทศที่ประชุมสภาเมื่อวันที่ 30 ตุลาคม โดยมีมติว่าจะต้องมีการติดตามเขาอย่างใกล้ชิด[47] ในวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 เขาถูกสั่งห้ามออกนอกประเทศระหว่างการพิจารณาคดีก่อนหน้านี้[44][48] หลังจากตำรวจปล่อยตัว อิสมาเอลถูก Yoo Dal-geun ยูทูบเบอร์อดีตทหารมนุษย์กบเกาหลีใต้ทำร้ายร่างกายในที่สาธารณะ Yoo ถูกจับกุมในการกระทำดังกล่าว[45]
ในวันที่ 6 พฤศจิกายน อิสมาเอลเผยแพร่วิดีโอขอโทษที่เขาถ่ายใกล้กับอนุสาวรีย์สันติภาพ ซึ่งมีผู้ชมสงสัยในความจริงใจในการขอโทษ[49] โดยมีรายงานว่ามีการเสนอเงินรางวัลแก่ผู้ที่เปิดเผยตำแหน่งที่อยู่ของเขา[49]
ในวันที่ 11 พฤศจิกายน อิสมาเอลถูกอัยการโซลตอนใต้สั่งฟ้องในพฤติกรรมที่ก่อไว้ที่ร้านสะดวกซื้อเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม และมีคำสั่งห้ามเดินทาง ทำให้เขาไม่สามารถออกจากเกาหลีใต้ได้[50]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 "About @JohnnySomali". YouTube.
- ↑ Bhattacharya, Richik (2023-10-05). "After Johnny Somali's arrest, Japanese government official warned streamers and YouTubers who create "nuisance" for content". Sportskeeda (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
- ↑ "Waa kuma Johnny Somali, ninka ay ka qeyliyeen madaxda Japan?". BBC News Somali (ภาษาโซมาลี). 2023-06-21. สืบค้นเมื่อ 2023-12-27.
- ↑ "Maxaa loo xiray Johnny Somali maxaadse ka taqaanaa ninkan?". BBC News Somali (ภาษาโซมาลี). 2023-09-23. สืบค้นเมื่อ 2024-04-10.
- ↑ 5.0 5.1 "「クソ日本人」と連呼…迷惑系動画で逮捕された"ソマリア海賊"の男が日本に目を付けた特別な事情(デイリー新潮)". デイリー新潮. 2023-09-29. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-29. สืบค้นเมื่อ 2024-11-15 – โดยทาง Yahoo News.
- ↑ Johnny Somali's most controversial moments as live streamer may face 10 years in jail
- ↑ Braw, Elisabeth (2023-09-28). "Attention-Seekers and Autocrats Are a Combustible Mix". Foreign Policy (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
- ↑ Bhattacharya, Richik (2023-09-11). "Johnny Somali gets knocked out on stream, and Kick account gets banned a day after pestering Twitch streamer Meowko". Sportskeeda (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
- ↑ "Johnny Somali wants to work with Twitch to "destroy" Kick for banning him". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-15. สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
- ↑ Mukherjee, Shreyan (2023-06-13). "Who is Johnny Somali? Controversial Kick streamer assaulted on livestream after allegedly harassing people in Japan". Sportskeeda (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
- ↑ Nishimura, Karyn (2023-09-27). "Le Japon, terrain de jeu des " streamers nuisibles "". Le Point (ภาษาฝรั่งเศส). ISSN 0242-6005. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
- ↑ Glaze, Virginia (2023-10-13). "Johnny Somali arrested again for unauthorized Kick stream in restaurant". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
- ↑ Hernon, Matthew (2023-09-29). "'Johnny Somali' Arrested for Trespassing". Tokyo Weekender (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
- ↑ "Inflammatory Kick streamer attacked again by fed-up Japanese local". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). 12 June 2023. สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
- ↑ "美直播主日本狂喊「再炸廣島」!事後遭路人巴頭襲擊 網譏:他應得的" [American live broadcaster in Japan yelled "Bomb Hiroshima again"! Afterwards, he was attacked by a passerby named Badou. Netizens ridiculed him: "He deserved it"]. FTV News (ภาษาจีน). 2023-06-02. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
- ↑ Ke, Bryan (2023-07-14). "Man confronts controversial livestreamer who harrassed people in Tokyo about WWII". Yahoo! News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-05-29.
- ↑ Shuttleworth, Catherine (2023-07-15). "Streamer who harassed Japanese people confronted by American over comments". Indy100 (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-05-29.
- ↑ Pinto, Marita (2023-09-12). "What happened to Meowku? Twitch star calls for ban on Johnny Somali over harassment in Japan". Pinkvilla (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-09-16. สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
- ↑ Dammann, Luke (2023-06-30). "Streamer Goes on Racist Tirade at Disney, Ignores Park Rules". Inside the Magic (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2023-12-13.
- ↑ "Controversial U.S. livestreamer arrested over trespassing in Osaka". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2023-09-22. สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
- ↑ "U.S. livestreamer 'Johnny Somali' accused of trespassing". The Asahi Shimbun (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2023-10-18.
- ↑ McCurry, Justin (2023-10-25). "Japan investigates foreign YouTubers accused of dodging train fares and stealing food". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 2023-10-27.
- ↑ "迷惑系「ジョニー・ソマリ」容疑者を再逮捕、牛丼店で大音量の音楽 本人は黙秘" [Johnny Somali suspect arrested again, loud music played at beef bowl restaurant, suspect kept silent]. Sankei Shimbun (ภาษาญี่ปุ่น). 2023-10-12. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "US livestreamer served new arrest warrant for hindering business at Osaka eatery". Mainichi Daily News (ภาษาอังกฤษ). 2023-10-13. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-10-18. สืบค้นเมื่อ 2023-10-19.
- ↑ Segura, Lidia Fernandez (2024-01-11). "El 'streamer' Johnny Somali, expulsado de Japón tras ser condenado por "obstrucción criminal de una empresa"" [Streamer Johnny Somali, expelled from Japan after being convicted of "criminal obstruction of a company"]. 20 minutos (ภาษาสเปน). สืบค้นเมื่อ 2024-04-23.
Este altercado tuvo lugar en octubre. En ese momento, ante el enfado del dueño del local por las molestias que estaba causando, comentó que toda la culpa era de su móvil. "Es un Huawei, fabricado en China y con un virus chino", se le puede escuchar diciendo en el polémico vídeo, que llevó a muchos internautas japoneses a pedir su detención.
[This altercation took place in October. At that moment, faced with the anger of the owner of the premises for the inconvenience he was causing, he commented that his cell phone was all to blame. "It's a Huawei, made in China and with a Chinese virus," he can be heard saying in the controversial video, which led many Japanese Internet users to call for his arrest.] - ↑ "Japanese prosecutors demand fine for controversial American YouTuber". The Japan Times (ภาษาอังกฤษ). 2023-12-21. ISSN 0447-5763. OCLC 21225620. สืบค้นเมื่อ 2023-12-21.
- ↑ Dodgson, Lindsay (2023-12-21). "Japanese prosecutors have demanded a controversial streamer pays a fine after he played music in a restaurant". Business Insider (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). OCLC 1076392313. สืบค้นเมื่อ 2024-03-08.
- ↑ "Johnny Somali breaks silence on arrest & admits he lied in Japanese court". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). 2024-02-27. สืบค้นเมื่อ 2024-04-09.
- ↑ "Kick streamer Johnny Somali vows to stop streaming as Japan court seeks ¥200K fine". Dexerto (ภาษาอังกฤษ).
- ↑ Mukherjee, Shreyan (2024-03-07). ""Hiroshima, Nagasaki!" - Controversial streamer Johnny Somali disrupts ongoing Zoom call to seemingly harass Japanese people". Sportskeeda. สืบค้นเมื่อ 2024-03-08.
- ↑ Shrivastava, Aarnesh (2024-03-26). ""You are nobody" - Destiny goes off at Johnny Somali after controversial streamer calls him "unprofessional"". Sportskeeda. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
- ↑ "American live streamer Johnny Somali, previously jailed in Japan and deported, tries to culturally enrich Israel by harassing Arabs and Jews. He finds out quickly what happens". Portal Kombat. 2024-03-27. สืบค้นเมื่อ 2024-03-27.
- ↑ "Kick bans Johnny Somali for "promoting violent behavior"". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). 2024-03-20. สืบค้นเมื่อ 2024-04-02.
- ↑ Gan, Jeremy (2024-04-12). "Kick streamer Johnny Somali banned from Jerusalem after second arrest in Israel". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-12.
- ↑ Mukherjee, Shreyan (2024-05-24). "What happened to Johnny Somali in Israel? Streamer's controversies explored". Sportskeeda.com. สืบค้นเมื่อ 2024-10-08.
The streamer was heard saying: 'Adin Ross, give Somali a deal. Epstein, you've always been one of us. We love you. You're our king Jew. You're one of us. It doesn't matter what you did, n***a, you're still Jewish and you're still one of us. The final one is - Harvey Weinstein. I love you so much. You're one of my top Jews. I love you.'
- ↑ "Controversial Kick streamer Johnny Somali reportedly arrested after making contentious remarks towards Israeli female police officer". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). 2024-04-07. สืบค้นเมื่อ 2024-04-07.
- ↑ Fink, Rachel (2024-04-09). "'I'm from America, bitch': U.S. livestreamer Johnny Somali arrested in Israel on suspicion of harassing polic". Haaretz (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-04-12.
- ↑ Shrivastava, Aarnesh (2024-05-19). ""Don't touch me" - Controversial streamer Johnny Somali assaulted in Israel after getting accused of "snitching"". Sportskeeda. สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
- ↑ "Kick streamer Johnny Somali assaulted in Israel on livestream". The Express Tribune (ภาษาอังกฤษ). 2024-05-20. สืบค้นเมื่อ 2024-05-22.
- ↑ Wedner, Sacha (2024-10-31). "South Korean police arrest American YouTuber for his safety". AsAmNews (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2024-11-11.
- ↑ Gwilliam, Michael (2024-03-13). "Kick streamer Johnny Somali says he'll "slap" a BTS member on South Korea trip". Dexerto (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-07-20.
- ↑ "Controversial YouTuber Johnny Somali kisses comfort women statue, sparks outrage in South Korea". The Korea Daily (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-10-09. สืบค้นเมื่อ 2024-10-13.
- ↑ "난 한국 편"…소녀상에 뽀뽀한 미국인, 지하철 안에서 한짓 '경악' ["I'm on Korea's side"... American who kissed a statue of a girl was shocked by what he did in the subway]. Maeil Business Newspaper (ภาษาเกาหลี). 2024-10-08. สืบค้นเมื่อ 2024-10-13.
- ↑ 44.0 44.1 "American nuisance livestreamer Johnny Somali barred from leaving S. Korea, probe begins after online personality assaulted for third time (VIDEO)" (ภาษาอังกฤษ). Malay Mail. 2024-11-02. สืบค้นเมื่อ 2024-11-04 – โดยทาง Yahoo News.
- ↑ 45.0 45.1 Kim, Min-young (2024-10-31). "Korean YouTuber arrested for latest assault on U.S. streamer Johnny Somali". Korea JoongAng Daily (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-12.
- ↑ Kapoor, Atharv (26 October 2024). "Korean police take Johnny Somali into custody". Sportskeeda.
Even within the police vehicle, the video showed the content creator disobeying rules
- ↑ "American nuisance livestreamer Johnny Somali barred from leaving S. Korea, probe begins after online personality assaulted for third time (VIDEO)". www.malaymail.com. November 2, 2024. สืบค้นเมื่อ 2024-11-14.
- ↑ "YouTuber Johnny Somali faces police probe in Korea over assault and drug use allegations". Korea JoongAng Daily (ภาษาอังกฤษ). 2024-10-31. สืบค้นเมื่อ 2024-11-04.
- ↑ 49.0 49.1 Kim, Min-young (2024-11-11). "U.S. streamer Johnny Somali handed to Korean prosecutors for convenience store outburst". Korea JoongAng Daily (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2024-11-12.
- ↑ "South Korea prosecutors indict controversial American streamer". Yahoo News (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2024-11-12. สืบค้นเมื่อ 2024-11-12 – โดยทาง Agence France-Presse.